Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35922
Title: มิติในอนาคตของการป้องกันตัวเองล่วงหน้า
Other Titles: Future perspective of anticipatory self-defense
Authors: ปกรณ์ อุ่นหิรัญสกุล
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Chumphorn.P@chula.ac.th
Subjects: การป้องกันตัว (กฎหมาย)
ความมั่นคงแห่งชาติ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การรักษาความปลอดภัยภายใน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ความมั่นคงระดับประเทศ
Self-defense (Law)
National security -- Law and legislation
Internal security -- Law and legislation
Security, International
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เป็นที่รับรู้กันอยู่ทั่วไปในทางกฎหมายระหว่างประเทศว่า การใช้กำลังเป็นสิ่งต้องห้ามในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตั้งแต่มีกฎบัตรสหประชาชาติเป็นต้นมา แต่ทั้งนี้ ในกฎบัตรสหประชาชาติมีข้อยกเว้นที่สำคัญของหลักการห้ามใช้กำลังดังกล่าวอยู่ คือ กรณีการใช้กำลังป้องกันตัวเอง ตามมาตรา 51 แต่อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะกฎบัตรสหประชาชาติมาตรา 51 จะพบว่า รัฐมีสิทธิใช้กำลังป้องกันตนเองเฉพาะในกรณีที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธเท่านั้น ซึ่งหากพิจารณาสิทธิดังกล่าวเฉพาะลายลักษณ์อักษรอาจพบว่า ไม่สอดคล้องกับสภาพความรวดเร็ว และรุนแรงของภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งเปลี่ยนไปมากจากช่วงเวลาที่ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ หากศึกษาวิวัฒนาการของหลักกฎหมายว่าด้วยการห้ามใช้กำลัง และค้นหาแนวปฏิบัติของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวคิดทางวิชาการ และแนวคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศแล้วอาจพบว่าการใช้สิทธิป้องกันตัวเองล่วงหน้าก่อนที่จะถูกโจมตีด้วยอาวุธซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กำหนดอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติมาตรา 51 เพื่อป้องปัดภัยคุกคามนั้นให้พ้นไปก่อนที่จะเกิดขึ้น นั้นเป็นที่ยอมรับได้ในทางกฎหมายระหว่างประเทศในบางกรณี โดยต้องมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเป็นจะต้องมีความใกล้จะเกิดของภัยอย่างยิ่ง
Other Abstract: It is widely acknowledged, among international law community, that the Use of Force is prohibited in conducting international relationships, since the establishment of the UN Charter. However, according to the UN Charter, there is an exemption on prohibition of Use of Force that is exercising the force in self-defense under section 51. Nevertheless, considering only the UN Charter section 51, a State will only be entitled to use force only in the case where there is an armed attack occurrs. If we consider only the text of the provision, the condition for using the force is not suitable for the recent situation in which there are many swift and severe threats that have been dramatically changed from the time of establishment of the United Nations. Studying the evolution of international law on the use of force and gathering into related state’s practices and the precedence of the International Court of Justice, it will be found that using the force before an armed attack occurs, which is the condition under the UN Charter section 51, in order to prevent and eliminate the threat that the state is facing before such threats is really happened, may be acceptable under the international law but there must be some certain conditions, particularly, such the threat must be imminent.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35922
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.649
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.649
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pakorn_ou.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.