Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36058
Title: การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์ตามแนวคิดการฝึก ทางปัญญาจากต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางธุรกิจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Research and development of a junior entrepreneur curriculum based on cognitive apprenticeship approach to enhance business competence of upper secondary school students
Authors: ประเสริฐ ลีอำนนต์กุล
Advisors: สำลี ทองธิว
วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sumlee.T@Chula.ac.th
Wipawan.W@Chula.ac.th
Subjects: การศึกษา -- หลักสูตร
ธุรกิจศึกษา
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Education -- Curricula
Business education
High school students
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์ตามรูปแบบการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับเสริมสร้างสมรรถนะทางธุรกิจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและตรวจสอบประเมินคุณภาพของหลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จำนวน 38 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้เวลาการทดลองจำนวน 18 สัปดาห์ รวม 36 ชั่วโมง (สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง) วิธีการหลักที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่การทดสอบความรู้ความเข้าใจ การสังเกตและประเมินพฤติกรรมการประกอบการ แฟ้มสะสมผลงานที่ได้ฝึกปฏิบัติงานในการประกอบการธุรกิจ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบหาประสิทธิภาพของหลักสูตร ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์ มีองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ คือ 1) วิสัยทัศน์ของหลักสูตร 2) พันธกิจ 3) มาตรฐานและตัวชี้วัด 4) สาระของหลักสูตร 5) คำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ย่อย คาบเวลาเรียน โครงสร้างเวลาเรียน 6) การจัดกระบวนการเรียนรู้ 7) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 8) แหล่งเรียนรู้ และ 9) การประเมินคุณภาพ เอกลักษณ์ของหลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์เป็นสาระซึ่งพัฒนาขึ้นจากความต้องการของผู้เรียนและสภาพการปฏิบัติงานทางธุรกิจ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบและปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยม มีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะทางธุรกิจตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ เนื้อหาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยสาระผู้ประกอบการธุรกิจ 5 สาระ คือ 1) เริ่มต้นการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ 2) ก้าวสู่การประกอบการธุรกิจ 3) การดำเนินงานประกอบการธุรกิจ 4) การเงินและบัญชีประกอบการธุรกิจ 5) การเจริญเติบโตประกอบการธุรกิจ 2. จากการทดลองใช้หลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์ พบว่า หลังการทดลองใช้หลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจทางธุรกิจ และความสามารถในการประกอบการธุรกิจมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีแรงขับต่อพฤติกรรมการประกอบการธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งหลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
Other Abstract: The objectives of this research were to develop the junior entrepreneur curriculum based on cognitive apprenticeship approach for enhancing business competence of the students studying in upper secondary school, and to examine the effectiveness of the junior entrepreneur curriculum. The target group was 38 students study in Mattayom 5 (grade 11) at Saipanya school, selected by purposive sampling technique. The experimental duration was 18 weeks with the total of 36 hours (2 hours a week). The main methods of collecting data were verified by using (posttest) of the knowledge comprehensions, behaviors observation and evaluation, portfolios of the practice in business operation. The data were statistically analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test, and the examine of the curriculum effectiveness using E1/E2. Research findings were as the followings: 1. This junior entrepreneur curriculum consist of 9 components; 1) the curriculum vision, 2) mission, 3) standards and indicators, 4) content, 5) course description which included of learning unit, sub-learning unit, and structure of the learning time table, 6) learning process; 7) learning measurement and evaluation; 8) learning resources; 9) the evaluation of the curriculum effectiveness. The unique of the junior entrepreneur curriculum was the content that developed from the students’ needs and the authentic situation of the business operations. This real practicing of the learners based on the cognitive apprenticeship approach and progressivism will be the sustainable benefit for the learners. The entrepreneur content consists of 5 contents 1) the staring of entrepreneur, 2) the leading of the entrepreneur operators, 3) the actual entrepreneur operators, 4) financial and accounting of the business, 5) the growth of the entrepreneur. 2. The experimental result of the junior entrepreneur curriculum found that after the experiment, the learners’ knowledge and comprehensions relate with business, and the ability of business’s skills by the average score higher than 60 % by a significant level of .05. Moreover, the driving force of business behaviors statistically significant at .05 level, the efficacy criteria set at 80/80.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36058
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1046
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1046
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prasert_le.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.