Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36148
Title: มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) : การศึกษาเปรียบเทียบการกำหนดมาตรการในการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งของประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลีย
Other Titles: Sanitary and phytosanitary measures (SPS) : a comparative study of Thailand and Australia on the import measures of shrimps and shrimp products
Authors: หิรัญรัตน์ ฉกาจนโรดม
Advisors: ทัชชมัย ฤกษะสุต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Tashmai.R@Chula.ac.th
Subjects: ความตกลงว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
การศึกษาเปรียบเทียบ
มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี -- ไทย
มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี -- ออสเตรเลีย
กุ้ง -- ไทย -- การนำเข้า
กุ้ง -- ออสเตรเลีย -- การนำเข้า
ผลิตภัณฑ์กุ้ง -- ไทย -- การนำเข้า
ผลิตภัณฑ์กุ้ง -- ออสเตรเลีย -- การนำเข้า
Sanitary and phytosanitary measures
Comparative education
Non-tariff trade barriers -- Thailand
Non-tariff trade barriers -- Australia
Shrimps -- Thailand -- imports
Shrimps -- Australia -- imports
Shrimp products -- -- Thailand -- imports
Shrimp products -- -- Australia -- imports
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการกำหนดมาตรการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งของประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลียกับหลักการของความตกลงว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หรือเรียกโดยย่อว่า “ความตกลง SPS” เนื่องจากประเทศออสเตรเลียได้ตระหนักถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาดต่อสัตว์น้ำที่มีสาเหตุจากเชื้อ WSSV, YHV, IHHNV และ TSV ที่อาจปะปนมากับกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งที่นำเข้าจากต่างประเทศ ดังนี้จึงได้กำหนดมาตรการในการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งเพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว ในขณะที่ประเทศไทยได้มีการกำหนดมาตรการที่มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับออสเตรเลีย ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า “ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการนำเข้าและการขึ้นทะเบียนกุ้งขาวเพื่อการเพาะพันธุ์และปรับปรุงสายพันธุ์ พ.ศ. 2547” จากการศึกษาพบว่า การกำหนดมาตรการของทั้งสองประเทศกับหลักการสำคัญของความตกลง SPS พบว่าการกำหนดมาตรการของออสเตรเลียมีความสอดคล้องกับหลักการของความตกลง SPS ทุกประการ แต่การกำหนดมาตรการของประเทศไทยไม่สอดคล้องกับความตกลง SPS เนื่องจากการกำหนดมาตรการของประเทศไทยไม่สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ในที่นี้คือหลักการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการนำเข้า ดังนี้จึงอาจถูกพิจารณาว่าเป็นมาตรการที่ไม่อยู่บนพื้นฐานของหลักการและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และประเทศไทยมิได้มีการแจ้งการกำหนดมาตรการต่อ WTO มาตรการของไทยจึงไม่สอดคล้องกับหลักความโปร่งใส
Other Abstract: The purpose of this thesis is a comparative study of Thailand and Australia on the import measures of shrimps and shrimp products. Australia aware that the infectious disease agents could potentially be introduced to Australia through the importation of uncooked shrimps and shrimp products. Therefore, Australia proposes to stipulate the measure for reducing such risks. Similarly, Thailand also declared the import measures to control the risk occurring from the importation of farm white shrimps. The import measures calls “Department of Fisheries Regulation on Import and Registration of Farm White Shrimp Culture B.E. 2547.” The comparative study result revealed that Australia’s import measures conform with the SPS Agreement whereas Thailand’s import measures does not conform with the SPS Agreement because the Import Risk Analysis methodology did not comply with the OIE guideline. Thus, it may be considered that such import measures does not based on the scientific principle and without sufficient scientific evidence. In addition, Thailand did not comply with the transparency provision of the SPS Agreement because the import measures were not notified to WTO.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36148
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.496
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.496
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
hiranrat_ch.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.