Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36203
Title: | มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการจ้างแรงงานสูงอายุในประเทศไทย |
Other Titles: | Legal measures for the aged employment promoton in Thailand |
Authors: | มานิตย์ ศรายุทธิกรณ์ |
Advisors: | สุดาศิริ วศวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ผู้สูงอายุ -- การจ้างงาน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ผู้สูงอายุ -- การจ้างงาน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย ผู้สูงอายุ -- นโยบายของรัฐ ผู้สูงอายุ -- นโยบายของรัฐ -- ไทย Older people -- Employment -- Law and legislation Older people -- Employment -- Law and legislation -- Thailand Older people -- Government policy Older people -- Government policy -- Thailand |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การที่โครงสร้างประชากรของประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีอัตราส่วนประชากรสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั้น ย่อมก่อให้เกิดปัญหาหลายด้าน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือปัญหาการเลิกจ้างแรงงานสูงอายุ ที่ได้ส่งผลกระทบต่อประชากรวัยแรงงานในการสร้างรายได้มาเลี้ยงดู ตัวผู้สูงอายุเองที่ยังคงมีความต้องการทำงาน และกองทุนประกันสังคมที่มีภาระในการจ่ายประโยชน์ทดแทนที่มากขึ้น ซึ่งในต่างประเทศได้มีแนวคิดในการจ้างแรงงานสูงอายุมาเป็นเวลานานแล้ว การส่งเสริมการจ้างแรงงานสูงอายุเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์ ได้นำมาใช้เพื่อให้มีการจ้างแรงงานสูงอายุมากขึ้น โดยหลักการสำคัญของมาตรการส่งเสริมนี้จะไม่มีลักษณะบังคับ นายจ้างมีหน้าที่ค่อยให้ความร่วมมือในการรายงานหรือแสดงปัญหาที่เกิดขึ้น บทบาทสำคัญจะอยู่ที่หน่วยงานของรัฐในการวางแนวทางการจ้างแรงงานสูงอายุ คอยดำเนินการติดตามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิประโยชน์และเงินอุดหนุนแก่นายจ้างด้วย สำหรับประเทศไทย หากได้มีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการจ้างแรงงานสูงอายุเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรที่ประชากรสูงอายุได้มีอัตราส่วนต่อประชากรทั้งหมดที่สูงขึ้นแล้วนั้น ก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาการเลิกจ้างแรงงานสูงอายุและผลกระทบต่างๆที่เกิดจากการเลิกจ้างแรงงานสูงอายุได้ |
Other Abstract: | Population structure in Thailand has changed with the growth of the aged population by total population. It leads to many fields of problem. One of those problems is disemployed older worker. Such the problem has caused impacts on work-force age population for making more income to take care of the aged, the aged who desire to work , and Social Security Office for having obligation in paying more pensions. In foreign countries, there are concepts for the aged employment for a long. The aged employment promotion is one measure which the Republic of Korea, Japan, and Singapore has utilized it to advance the aged employment. The main principles of promotion measures has not forced to employer. Employer has only obligation to participate with public organization for reporting and presenting arisen problems. The important role depends on public organization by setting the aged employment paths, paying attention and solving arisen problems, and also supporting tax privileges and subsidy to employer. In Thailand, if it sets legal measure for the aged employment promotion conform with the changing of population structure situation that the aged population by overall population is rising continuously, it will be one method to solve the problem that the older worker is disemployed and also the other impacts. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36203 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.578 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.578 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Manit_Sa.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.