Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36294
Title: ความเครียดของพยาบาลและความคิดเห็นต่อการเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ (Magnet Hospital) ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
Other Titles: Stress of nurses and attitude to be a magnet hospital of registered nurses in Bumrungrad International Hospital
Authors: พัชราวัลย์ เรืองศรีจันทร์
Advisors: ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Siriluck.S@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
พยาบาล -- ความเครียดในการทำงาน
Bumrungrad International Hospital
Nurses -- Job stress
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเครียดของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนลและศึกษาความสัมพันธ์ของ ความเครียดกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเกี่ยวกับงานและความรู้สึกที่มีต่องาน และปัจจัยเกี่ยวกับการเป็น โรงพยาบาลดึงดูดใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วน บุคคล ปัจจัยเกี่ยวกับงานและความรู้สึกที่มีต่องาน แบบสอบถามความคิดเห็นต่อปัจจัยเกี่ยวกับการเป็น โรงพยาบาลดึงดูดใจ 13 ด้าน แบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test-20,SPST-20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดระดับสูงถึงสูงมากคิดเป็นร้อยละ 64.3 ส่วน ใหญ่มีความคิดเห็นต่อการเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจในด้านต่างๆระดับปานกลางหรือมาก สำหรับความ คิดเห็นโดยรวมต่อการเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นด้วยระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 92.7 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแน ลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การได้รับการยอมรับนับถือจากผู้ป่วย การได้รับการยอมรับนับถือจาก เพื่อนร่วมงาน การได้รับการยอมรับนับถือจากผู้บังคับบัญชา การเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ ด้านการ ปฏิบัติงานเชิงวิชาชีพ ด้านการพัฒนาวิชาชีพ ด้านการสนับสนุนการทำงานของพยาบาล ด้านการจัดการ บริหารค่าตอบแทน ด้านวัฒนธรรมองค์กร และด้านการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานและการประเมินผล โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความคิดเห็นด้วยต่อการเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจในด้านดังกล่าวระดับน้อย หรือปานกลางสัมพันธ์กับความเครียดสูง เมื่อวิเคราะห์ความถดถอยพหุ พบว่าตัวแปรที่ทำนาย ความเครียดของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ ด้านการ ปฏิบัติงานเชิงวิชาชีพ และด้านการสนับสนุนการทำงานของพยาบาล
Other Abstract: The purpose of this cross-sectional descriptive study was to explore the level of stress and the associated factors among registered nurses at Bumrungrad International Hospital. Three hundred registered nurses were recruited. The research instruments were demographic, job factors and feelings toward job questionnaire, attitude to be a magnet hospital factors 13 parts and Suanprung Stress Test-20. Data were analyzed by statistics such as data percentage, mean and standard deviation, chi-square test and multiple logistic regression analysis. The result of this study showed that the most of sample (64.3%) had high to very high stress. Most of them had attitude to be a magnet hospital in each part moderate or high level. For totally of attitude to be a magnet hospital most of the sample (92.7%) had high level. The factors associated to nurses stress were perceiving about the respect from patients, colleagues and supervisors, attitude to be a magnet hospital factors; part of professional working, professional improvement, nurse working support, payment management, organizational culture and staff selection and evaluation. It was found that the sample who had little or moderate level of attitude to be a magnet hospital associated to high stress. When multiple logistic regression analysis was used, the result showed factors that could indicate their stressor were attitude to be a magnet hospital factors; part of professional working and nurse working support.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36294
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1106
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1106
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patcharawan_ra.pdf806.8 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.