Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36301
Title: การสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย
Other Titles: An adversity quotient enhancement for Thai university students
Authors: สุธิดา พลชำนิ
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: pansakp@gmail.com
hi_arunee@yahoo.com
Subjects: การแก้ปัญหาในวัยรุ่น -- ไทย
กิจกรรมการเรียนการสอน
Problem solving in adolescence -- Thailand
Activity programs in education
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาด้านความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย วิเคราะห์หลักการ แนวคิด และวิธีการสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย สร้างและทดลองโปรแกรมการสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตนักศึกษาไทยและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน จำนวน 1,439 คน 2) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ชั้นปีที่ 1 ที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 30 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือหลักที่ใช้ในการศึกษาตามรายวัตถุประสงค์การวิจัย 2) เครื่องมือที่ใช้ทดลองภายในโปรแกรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงบรรยายได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.การศึกษาสภาพและปัญหาด้านความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย ร้อยละ 86.56 (1,439 คน) พบว่า นิสิตนักศึกษาไทยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนปัญหาด้านความสามารถในการเผชิญอุปสรรคมากที่สุด คือ ด้านความอดทน (ค่าเฉลี่ย =2.32,SD=0.691) รองลงมา คือ ด้านความสามารถแก้ไขปัญหา (ค่าเฉลี่ย =2.29,SD=0.702) และ ด้านความรับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ย =2.23,SD=0.819) ตามลำดับ แม้ว่าโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยของของคะแนนปัญหาจะอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย =2.25,SD=0.590) 2.การวิเคราะห์เนื้อหาร่วมเกี่ยวกับการสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคจากการศึกษา ตำรา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากแนวคิดหลัก คือ แนวคิดทฤษฎีความสามารถในการเผชิญอุปสรรค (Adversity Quotient)โดยสต๊อลทซ์ (Stoltz) ร่วมกับแนวคิดตะวันตกและแนวคิดตะวันออก ได้แก่ แนวคิดจิตวิทยา แนวคิด ศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลามและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย หลักการ แนวคิดและวิธีการสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้ในตนเอง 2) ด้านความอดทน 3) ด้านความพากเพียร 4) ด้านความสามารถแก้ไขปัญหา และ5) ด้านความรับผิดชอบ 3.โปรแกรมการสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทยสร้างขึ้นจากการศึกษาสภาพและปัญหาด้านความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทยและการวิเคราะห์หลักการ แนวคิดและวิธีการสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย โดยวิเคราะห์สาระร่วมกับผลทัศนะจากผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการ ได้แก่ 3.1) การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง 3.2) การเตรียมความพร้อม 3.3) การกำหนดคุณสมบัติของวิทยากรและทีมงาน 3.4) การดำเนินกิจกรรมโปรแกรม ประกอบด้วย ปฐมนิเทศ 1 ครั้ง การฝึกอบรม รวม 17 ครั้ง (ครั้งละ 1 ชั่วโมง 30 นาที) ปัจฉิมนิเทศ 1ครั้ง และการสนับสนุนหลังการฝึก รวม 8 ครั้ง (ครั้งละ 1 ชั่วโมง 30 นาที) 3.5) ผลที่ได้รับจาก การสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคตามโปรแกรมโดยใช้แบบวัดความสามารถในการเผชิญอุปสรรคร่วมกับแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม 4) ผลการทดลองใช้โปรแกรมเมื่อนำไปใช้กับนิสิตนักศึกษา ภายหลังการทดลองพบว่า นิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมมีการพัฒนาความสามารถในการเผชิญอุปสรรคขึ้นและมีความสามารถในการเผชิญอุปสรรคสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 จากผลการวิจัยแสดงว่าโปรแกรมการสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทยสามารถพัฒนาความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทยได้บรรลุตามเป้าหมาย
Other Abstract: This research aimed to study the nature and problems of Thai university students’ Adversity Quotient (AQ), to analyze the principles, concepts and methods for enhancement of their AQ and to develop and experiment AQ enhancement program. The population included Thai university students and senior experts with the sample group of 1) 1,439 public and private university students, 2) 30 first-year students of Lampang Rajabhat University who voluntarily joined the program and 3) 8 senior experts. Besides, Researching tools composed as follows: 1.The main tools for studying each research objective. 2.The tools for studying and experimenting in Adversity Quotient Enhancement Program. The content analysis, descriptive statistics, frequency, mean, standard deviation, and t-test were employed in the data analysis. The research results could be summarized as follows. 1. According to the study of the nature and problems of AQ among 86.56% of Thai university students (1,439 students), their AQ problems with the three highest mean scores were the endurance (Mean =2.32, SD =0.691), problem solving (Mean =2.29, SD =0.702), and responsibility (Mean =2.23, SD =0.819), respectively. Despite the low level (Mean =2.25, SD =0.590) of overall mean score of AQ problems. 2. The content analysis of AQ enhancement was conducted through the exploration of the relevant textbooks, documents and research papers. The main concept was based on Stoltz’s AQ Theory with the integration of Eastern and Western ideologies including the psychology, Buddhism, Christianity and Islam. The senior experts were also interviewed to reflect the principles, concepts and methods for Thai university students’ AQ enhancement in 5 aspects: 1) self perception, 2) endurance, 3) perseverance, 4) problem solving, and 5) responsibility. 3. The development of AQ enhancement program was based on the study of the nature and problems of Thai university students’ AQ and the analysis of the principles, concepts and methods for enhancement their AQ. This analysis was made in conjunction with the analysis of the specialists’ attitudes including 1) principles, 2) objectives, and 3) procedures - 3.1) arrangement of the suitable environment for the sample group, 3.2) preparedness arrangement, 3.3) determination of the characteristics and duties of trainers and their staffs, 3.4) activities in the program :the orientation, 17 sessions of AQ training course (1.30 hours each), final orientation and 8 sessions of post-training supports (1.30 hours each) and 3.5) results of AQ enhancement based on the Adversity Quotient Assessment Form and Behavioral Observation Form and 4) experimental results after the implementation with the students. According to post-trial results, the students attending program activities had AQ improvement and higher AQ level when compared to the pre-trial one at the 0.5 level of significance. Therefore, it can be said that, according to those research results, the goals of Adversity Quotient Enhancement Program for Thai university students were achieved, particularly their AQ improvement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36301
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.2
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.2
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suthida_ph.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.