Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36437
Title: | การสถาปนาธรรมยุติกนิกายของวชิรญาณภิกษุ : ปัญหาเรื่องสังฆเภท |
Other Titles: | The establishment of Dhammayuttika of Vajiranana Bhikkhu : The problem of Sanghabheda |
Authors: | ภูวมินทร์ วาดเขียน |
Advisors: | สมภาร พรมทา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Somparn.P@chula.ac.th |
Subjects: | วชิรญาณภิกษุ ธรรมยุติกนิกาย สงฆ์ -- ไทย -- ประวัติ พุทธศาสนา -- ไทย -- ประวัติ Vajiranana Bhikkhu Priests, Buddhist, Buddhist monks -- Thailand -- History Buddhism -- Thailand -- History |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการสถาปนาธรรมยุติกนิกายของวชิรญาณภิกษุในประเด็นปัญหาเรื่องสังฆเภท โดยพิจารณาจากพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเป็นเกณฑ์ตัดสิน ผลการวิจัยพบว่าวชิรญาณภิกษุไม่ได้ทรงประกาศแยกการทำสังฆกรรมจากคณะสงฆ์วัดมหาธาตุเหมือนกับเหตุการณ์ในสมัยพุทธกาลที่พระเทวทัตประกาศแยกสังฆกรรมจากคณะสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าเป็นประธานและทรงปกครองอยู่ ซึ่งการประกาศดังกล่าวนี้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่ามีเจตนาในการทำสังฆเภทหรือไม่ ประกอบกับวชิรญาณภิกษุก็ยังไม่ได้ตัดพระองค์ออกจากวัดมหาธาตุอย่างเด็ดขาดเพราะตำหนักที่ประทับของพระองค์นั้นทรงให้สานุศิษย์และไพร่ในพระองค์ดูแลไว้ โดยมีเจ้านายที่ผนวชอยู่ในขณะนั้นช่วยดูแลสานุศิษย์ที่วัดมหาธาตุต่างพระเนตรพระกรรณของวชิรญาณภิกษุ ส่วนพระองค์เองนั้นเสด็จมาประทับที่วัดมหาธาตุเป็นบางเวลา กล่าวได้ว่าวชิรญาณภิกษุไม่ได้แยกตัวออกมาจากคณะสงฆ์เดิมและเมื่อวชิรญาณภิกษุได้เสด็จออกจากวัดมหาธาตุมาประทับที่วัดสมอรายแล้วนั้นอธิบายได้ว่าพระองค์ได้ทรงอยู่นอกเขตสีมาหรือเขตที่พระสงฆ์จะใช้ทำสังฆกรรมต่างๆ ของวัดมหาธาตุ การที่พระองค์จะทำสังฆกรรมในเรื่องต่างๆ ตามกิจของสงฆ์นั้นพระองค์ก็ต้องทำในเขตสีมาของวัดสมอรายเนื่องจากพระองค์ทรงประดับอยู่ที่วัดแห่งนี้ จึงพิจารณาได้ว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใดและเมื่อพิจารณาต่อไปอีกว่าในระยะแรกของการสถาปนาธรรมยุติกนิกาย พระสงฆ์ทั้งธรรมยุติกนิกายและมหานิกายยังสามารถร่วมสังฆกรรมกันได้ มีลักษณะเป็นพระสีดอคือไม่ใช่ทั้งธรรมยุติกนิกายและมหานิกาย ขนบธรรมเนียมที่เคร่งครัดจนไม่อาจร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์มหานิกายของพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายนั้นเพิ่งจะปรากฏเมื่อวชิรญาณภิกษุผู้สถาปนาธรรมยุติกนิกายเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 อย่างไรก็ตามพระองค์ได้ทรงพระบรมราชาธิบายว่าพระสงฆ์ทั้งสองนิกายมีความสามัคคีกันดี จึงสรุปได้ว่าการสถาปนาธรรมยุติกนิกายของวชิรญาณภิกษุนั้นไม่ได้เป็นการทำให้สงฆ์แตกแยกกันหรือเป็นสังฆเภทจึงไม่เป็นอนันตริยกรรมอีกด้วย |
Other Abstract: | This thesis aims to study the establishment of the Dhammayuttika Nikaya Sect by Vajiranãna Bhikkhu related to the problem of Sanghabheda (schism) by using the Tipitaka of the Theravada Buddhism as a criterion. The research has found that Vajiranãna Bhikkhu did not declare his separation from religious ceremonies of the assembly of monks in Mahathat Temple in the way that, during the time of the Lord Buddha, Devadatta Bhikkhu declared his separation from the assembly of monks which was chaired and ruled by the Lord Buddha.Such declaration was used as a criterion to judge whether there was an intention to cause Sanghabheda (schism).Vajiranãna Bhikkhu did not absolutely isolate himself from Mahathat Temple because he still had his disciples and servants take care of his residence on the temple grounds.The members of the royal family who were ordained as Buddhist monks during that time looked after the residence for him. From time to time, he came to reside at Mahathat Temple.This indicates that Vajiranãna Bhikkhu did not separate himself from his former Sangha group.When he moved to reside at Samorai Temple, it can be explained that he lived outside the sacred boundaries of Mahathat Temple where the monks of that temple performed their religious ceremonies.Therefore, when performing religious ceremonies, he had to do so within the sacred boundaries of Samorai Temple, where he had taken permanent residency.This can be considered as a normal practice. Moreover, during the initial period of the establishment of the Dhammayuttika Nikaya Sect, monks of both the Dhammayuttika Nikaya Sect and Maha Nikaya Sect were able to take part in religious ceremonies together.They were neutral in that they were neither the Dhammayuttika Nikaya Sect, nor the Maha Nikaya Sect.More restricted rules that prevented monks of these two sects to perform religious ceremonies together started after the founder of the Dhammayuttika Nikaya Sect had ascended the throne to become King Rama IV.However, the King explained that members of the two sects were in the spirit of unity.This can be concluded that the establishment of the Dhammayuttika Nikaya Sect by Vajiranãna Bhikkhu did not cause disagreement among Buddhist monks, or is considered as Sanghabheda (schism), which is deemed as The Anantariyakarma in Buddhism. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พุทธศาสน์ศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36437 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.287 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.287 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phuwamin_wa.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.