Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36757
Title: การศึกษากระบวนการเรียนรู้ในการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพการเลี้ยงดูเด็กวัย 0–2 ปี
Other Titles: A study of community participation learning processes to improve the quality of the rearing of children under two years of age
Authors: รำไพ เกียรติอดิศร
Advisors: อมรวิชช์ นาครทรรพ
วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Amornwich.N@chula.ac.th
wirathep.p@chula.ac.th
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
อนามัยแม่และเด็ก -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
เด็ก -- การเลี้ยงดู -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
การเรียนรู้
ชุมชน
Child rearing -- Citizen participation
Learning
Maternal health services -- Citizen participation
Communities
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา คุณภาพการเลี้ยงดูเด็กวัย 0-2 ปี รวมทั้งศึกษาปัจจัยเงื่อนไข ที่มีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ในการมีส่วนร่วมของชุมชน และเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพการเลี้ยงดูเด็กวัย 0-2 ปี วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบพหุกรณีศึกษา ด้วยการศึกษาชุมชนที่มีความแตกต่างกันในเรื่องความร่วมมือในชุมชนและผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 4 ชุมชน ประกอบไปด้วย ชุมชนต้นแบบดีเด่นด้านการสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานสุขภาพ ชุมชนต้นแบบดีเด่นด้านอนามัยแม่และเด็ก ชุมชนที่มีการดำเนินการพัฒนางานสุขภาพทั่วไป และชุมชนที่ยังต้องปรับปรุงด้านการพัฒนาสุขภาพแม่และเด็ก โดยทำการศึกษากับ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. แม่และญาติที่ทำหน้าที่เลี้ยงดูเด็กในช่วงอายุ 0-2 ปี ครู ครูภูมิปัญญา แกนนำชุมชนและจิตอาสาของแต่ละชุมชน ด้วยวิธีการ สัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วมของชุมชน ระยะเวลาที่ศึกษาพฤษภาคม 2553 - กรกฏาคม 2555 ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนรู้ในการมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบด้วยกระบวนการสร้างและการถ่ายทอดความรู้ การส่งเสริมความรู้โดยเริ่มตั้งแต่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กในชุมชน พัฒนาความรู้ในชุมชนด้วยการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติและร่วมในการติดตามผลโดยความรู้ในการเลี้ยงดูเด็กควรเป็นความรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาคุณภาพการเลี้ยงดูเด็กที่ผสมผสานความรู้เดิมและความรู้แบบสมัยใหม่ 2.ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนคือประวัติศาสตร์วิถีชีวิตชุมชน ความสัมพันธ์ในชุมชน ผู้นำชุมชน หน่วยงานสาธารณสุขในชุมชน และวิธีการถ่ายทอดความรู้ในชุมชน 3. แนวทางการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ การจัดกิจกรรมการส่งเสริมความรู้ในชุมชน การติดตามเยี่ยมผู้เลี้ยงดูเด็กโดยผู้รู้ในชุมชน และการส่งเสริมให้แกนนำความรู้ในเรื่องการเลี้ยงดูเด็กได้พัฒนาความรู้และนำไปส่งเสริมความรู้ให้ผู้เลี้ยงดูเด็กในชุมชนอย่างต่อเนื่อง สรุปการศึกษากระบวนการเรียนรู้ในการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพการเลี้ยงดูเด็กวัย 0-2 ปี ทำให้ได้ องค์ความรู้ที่เกิดจากพลังความร่วมมือกันของชุมชนนำไปปฏิบัติ ทำให้เกิดกิจกรรมที่ชุมชนจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการส่งเสริมให้ผู้เลี้ยงดูเด็ก สามารถนำไปใช้ในการเลี้ยงดูเด็กอย่ามีคุณภาพ เป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กในชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Other Abstract: The objectives of this study are: to study the community participation learning process to improve the quality of the rearing of children under two years of age, including the conditional factors that affect the community participation learning process and to present a method of community learning process promotion to improve the quality of the rearing of children under two years of age. This study is a qualitative research which is a multiple case study of different communities focused on community co-operation and the results of improvement of maternal and child care. There are four communities, which consist of a role-model community for building strength in health operation, an outstanding community in maternal and child care, a community that has general health works and a community that requires improvements in maternal and child care development. The study was conducted with community leaders, health officers, village health volunteers, mothers, relatives with roles in feeding children under two years of age, caregivers, wisdom teachers and other volunteers in each community. The study was completed by in-depth interview, participatory observation and non-participatory observation. The duration of this study was from May 2010 to July 2012. The results are: 1.The community participation learning process consists of the construction and transmission of knowledge promotion and includes people who work in the development of community children to improve community knowledge by thinking, planning, working and following-up the rearing of children. The knowledge should concern quality development of rearing of children, combining old and modern knowledge. 2.The factors that affect the community participation learning process are community lifestyle, community relationships, community leaders, health organizations and community education. 3.The methods to improve the learning process are to provide activities increasing community knowledge, follow-up caregivers by community experts and promote community leaders to continue developing the quality of rearing of children and improve knowledge of community caregivers. The conclusions of the study of the community participation learning process for quality development of the rearing of children under two years of age allow completion of the knowledge obtained from cooperative community strength to be practiced, allow the formation of community activities for improving the quality of child care and are able to be used in the quality rearing of children, which promotes and stimulates the sustainable development of children in the community.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36757
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1055
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1055
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rumpai_ki.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.