Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37529
Title: ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ต่อความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รัก โดยมีองค์ประกอบของความรักทั้งสามเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: Causal relationships of big five personality factors on relationship satisfaction of dating couples with components of love as mediators
Authors: สิริภรณ์ ระวังงาน
Advisors: จรุงกุล บูรพวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Nopanant.T@chula.ac.th
Subjects: ความรัก
บุคลิกภาพ
คู่รัก
Love
Personality
Couples
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ต่อความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รัก โดยมีองค์ประกอบของความรักทั้งสามคือ ความใกล้ชิด ความเสน่หา และความผูกมัด เป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี จำนวน 200 คน เป็นบุคคลที่มีคู่รักในปัจจุบันและมีระยะเวลาในการคบหากันมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ผู้ร่วมการวิจัยตอบแบบสอบถามซึ่งประกอบไปด้วยมาตรวัดองค์ประกอบของความรัก มาตรวัดความพึงพอใจในความสัมพันธ์ และมาตรวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของความรักด้านความใกล้ชิด มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับบุคลิกภาพด้านการเปิดตัว และการเปิดรับประสบการณ์ (p < .01) และมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับบุคลิกภาพด้านความเป็นมิตร และการมีจิตสำนึก (p < .05) ส่วนองค์ประกอบของความรักด้านความเสน่หา มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับบุคลิกภาพด้านการเปิดรับประสบการณ์ (p < .05) และองค์ประกอบของความรักด้านความผูกมัด มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับบุคลิกภาพด้านการเปิดรับประสบการณ์ และการมีจิตสำนึก (p < .01) 2. องค์ประกอบของความรักด้านความใกล้ชิด ความเสน่หา และความผูกมัด มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในความสัมพันธ์ (p < .01) แต่ไม่พบว่าองค์ประกอบของความรักด้านความใกล้ชิดมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงกว่าองค์ประกอบด้านอื่นๆ 3. บุคลิกภาพด้านการมีจิตสำนึก และการเปิดรับประสบการณ์ มีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจในความสัมพันธ์ (p < .01) และบุคลิกภาพด้านความไม่มั่นคงในอารมณ์ มีอิทธิพลทางลบต่อความพึงพอใจในความสัมพันธ์ (p < .05) โดยบุคลิกภาพด้านการมีจิตสำนึกมีขนาดอิทธิพลสูงกว่าบุคลิกภาพด้านอื่นๆ 4. องค์ประกอบของความรักด้านความใกล้ชิด ความเสน่หา และความผูกมัด เป็นตัวแปรส่งผ่าน ในอิทธิพลของบุคลิกภาพด้านการเปิดรับประสบการณ์ ต่อความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของคู่รัก (p < .01)
Other Abstract: To examine the casual relationships of big five personality factors on relationship satisfaction of dating couples with the three components of love-intimacy, passion, and commitment, as mediators. Participants were 200 Chulalongkorn University’s undergraduate students who had been in a romantic relationship for more than 3 months. Each participant completed the components of love scale, relationship satisfaction scale and the big five personality inventory. The results are as follows: 1. Intimacy positively correlates with extraversion and openness to experience (p < .01), as well as with agreeableness and conscientiousness (p < .05). Passion positively correlates with openness to experience (p < .05). Commitment positively correlates with openness to experience and conscientiousness (p < .01). 2. Intimacy, passion, and commitment positively correlate with relationship satisfaction (p < .01). However, the correlation between intimacy and relationship satisfaction is not significantly higher than the others. 3. Conscientiousness and Openness to experience positively predict relationship satisfaction (p < .01) while neuroticism negatively predicts it (p < .05). However, conscientiousness is the best predictor of relationship satisfaction. 4. Intimacy, passion, and commitment mediate the relationship between openness to experience and relationship satisfaction (p < .01).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37529
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1237
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1237
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriporn_ra.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.