Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3930
Title: | ระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน (วาลีน ไฮแดนโตอิน) ในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง |
Other Titles: | Carbamylated haemoglobin (valine hydantoin) levels in acute renal failure and chronic renal failure |
Authors: | อดิศว์ ทัศณรงค์, 2513- |
Advisors: | สมชาย เอี่ยมอ่อง ธาดา สืบหลินวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล Tada.S@Chula.ac.th |
Subjects: | ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย ไตวายเฉียบพลัน -- ผู้ป่วย ฮีโมโกลบิน |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มาและเหตุผล ในภาวะปกติของร่างกาย ยูเรียในเลือดจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็น isocyanic acid ซึ่งจะทำปฏิกิริยา คาร์บามายเลชั่นกับสายโปรตีนบนฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้เป็น "คาร์บอนมายเลตเตด ฮีโมโกลบิน" ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายจะมีระดับยูเรียในเลือดสูงขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ระดับคาร์บามายเลต ฮีโมโกลบินในเลือดสูงขึ้นด้วย โดยจะมีความสัมพันธ์ทั้งกับระดับของยูเรียในเลือดที่สูงขึ้นและระยะเวลาที่ในเลือดมีระดับยูเรียสูง ดังนั้นในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันเมื่อเทียบกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง พบว่าระดับของยูเรียในเลือดของทั้ง 2 กลุ่ม อาจจะไม่แตกต่างกันแต่ระยะเวลาที่ในเลือดมีระดับยูเรียสูงในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันนั้นสั้นกว่า จึงน่าที่จะมีระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบินต่ำกว่าด้วย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน ในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันเปรียบเทียบกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 2. เพื่อหาค่าของ คาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน ที่มีความไวและความจำเพาะสูงในการแยกผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันออกจากผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันออกจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ตัวอย่างและวิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้าเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยทำการศึกษาในช่วงเวลา 1 ปี จากเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ปี 2542 ผู้ป่วยที่เข้าสู่การศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน 35 คน และผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 39 คน โดยการเจาะเลือดผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มแล้วนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาค่าคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน ด้วยวิธีการ hydrolysis, extraction และ high-performance liquid chromatography ซึ่งจะวัดค่าของระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบินออกมาในรูปของ วาลีนไฮแดนโตอิน ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยของระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบินในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันมีค่าเท่ากับ 54.77+-23.64 mugVH/gHb เทียบกับในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีค่าเท่ากับ 121.17+-52.29 mugVH/gHb ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) พบว่าระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบินที่ต่ำกว่า 80 muVH/gHb ใช้แยกผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังได้ดี โดยมีความไว 89% และความจำเพาะ 82% รวมทั้งอัตราส่วนระหว่างระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบินกับระดับยูเรียในเลือดที่ต่ำกว่า 1.5 ก็สามารถใช้ในการแยกผู้ป่วย ทั้ง 2 กลุ่มออกจากกันได้ดี โดยมีความไว 89% และความจำเพาะ 72% สรุป 1. การวัดระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน สามารถใช้ในการแยกผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันออกจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน ที่ต่ำกว่า 80 mugVH/gHb และอัตราส่วนระหว่างระดับคาร์บามายเลตเตดฮีโมโกลบินกับระดับยูเรียในเลือดที่ต่ำกว่า 1.5 สามารถใช้แยกผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันออกจากผู้ป่วยเรื้อรังได้ |
Other Abstract: | Carbamylated Haemoglobin is derived from the nonezymatic covalent binding of protein in hemglobin with isocyanic acid, the spontaneous dissociation product of blood urea nitrogen (BUN). Blood CarbHb levels increase in patients with renal failure and are positively correlated with the increasing levels and the longer exposure duration to BUN. Patients with ARF when compared with the CRF ones, have a shorter duration of exposure to BUN. Thus, blood CarbHb levels in patients with ARF would be lower than CRF. Objective : 1. To compare blood CarbHb levels between ARF and CRF patients. 2. Defined the cut off point for CarbHb and CarbHb/BUN ratios for indentify patients with ARF from CRF. Patients and Methods : Prospective diagnosotic study. From January 1999 to December 1999, the blood CarbHb levels in 35 patients with ARF and 39 patients with CRF were measured. After hydrolysis, extraction and high-performance liquid chromatography, the concentration of CarbHb was measured as Valine hydantoin (VH) content. Results : Patients with ARF had lower blood CarbHb levels than those with CRF [54.77+-23.64 (mean+-SD) & 121.17+-52.29 mugVH/gHb; P<0.01]. Patients with ARF, reversible renal failure had a blood CarbHb levels below 80 mugVH/gHb (sensitivity 89%, specificity 82%) and CarbHb/BUN ratios below 1.5 (sensitivity 89%, specificity 72%). Conclusion : 1. The quantitation of blood CarbHb levels was accurate and can be clinically used in identifying patients with ARF from CRF. 2. Cut off point of blood CarbHb levels below 80 mugVH/gHb and CarbHb/BUN ratios below 1.5 used in identifying patients with ARF from CRF |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3930 |
ISBN: | 9743346449 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.