Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39490
Title: การศึกษาประโยคความซ้อนที่ใช้ "ที่ ซึ่ง อัน" ตามแนวภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในเรียงความชนะเลิศรางวัลทุนภูมิพล พ.ศ. 2522-2547
Other Titles: A computational linguistic study of complex sentences using /thîi sûŋ ?an/ in King Bhumiphol's scholarship award first prize essays 1979-2004
Authors: ยิ่งยศ กันจินะ
Advisors: สุนันท์ อัญชลีนุกูล
กฤษณ์ โกสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Sunant.A@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษาไทย -- ประโยค
ภาษาไทย -- วากยสัมพันธ์
ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์
เรียงความ -- รางวัลทุนภูมิพล
Thai language -- Sentences
Thai language -- Syntax
Computational linguistics
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ คือ 1) ศึกษาประโยคความซ้อนที่ใช้ “ที่ ซึ่ง อัน” แนวภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในเรียงความชนะเลิศรางวัลทุนภูมิพล พ.ศ. 2522-2547 และ 2) ประยุกต์ผลการศึกษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถบอกขอบเขตของประโยคความซ้อนได้ ผลการศึกษาพบว่า ประโยคความซ้อนที่ใช้ “ที่ ซึ่ง อัน” ในเรียงความชนะเลิศรางวัลทุนภูมิพล พ.ศ. 2522-2547 ใช้คำว่า “ที่” เป็นคำชนิดต่างๆ 9 ชนิด ได้แก่ ประพันธสรรพนาม คำเชื่อมอนุพากย์เติมเต็มนาม คำเชื่อมอนุพากย์เติมเต็มกริยา คำบุพบท ส่วนหนึ่งของคำนามประสม ส่วนหนึ่งของคำเชื่อมข้อความ ส่วนหนึ่งของนามวลีที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “การ” คำแปลงนาม และส่วนหนึ่งในอนุพากย์บอกเวลา ใช้คำว่า “ซึ่ง” เป็นคำชนิดต่างๆ 4 ชนิด ได้แก่ ประพันธสรรพนาม คำบุพบท คำเชื่อมข้อความ และคำเชื่อมบอกรายละเอียด และใช้คำว่า “อัน” เป็นคำชนิดต่างๆ 4 ชนิด ได้แก่ ประพันธสรรพนาม ส่วนหนึ่งของคำเชื่อมข้อความ คำเชื่อมข้อความ และคำเชื่อมแสดงตัวอย่าง คำว่า “ที่ ซึ่ง อัน” ในอนุพากย์คุณศัพท์ มี 3 หน้าที่ ได้แก่ 1) หน้าที่แทนประธานหลักและเป็นประธานหรือกรรมของอนุพากย์ 2) หน้าที่แทนกรรมตรงและเป็นประธานหรือกรรมของอนุพากย์ และ 3) หน้าที่แทนกรรมรองและหน้าที่ประธานหรือกรรมของอนุพากย์ นอกจากนี้พบว่าอนุพากย์ “ที่ ซึ่ง อัน” สัมพันธ์ทางการขยายความกับประธานหรือกรรมของอนุพากย์ 23 ลักษณะ ในการวิเคราะห์คำแสดงและกรอบการก พบกรอบการก 60 กรอบและคำแสดงจำนวน 574 คำ คำแสดงเหล่านี้อาจจำแนกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ คำแสดงชนิดแสดงสภาพ คำแสดงชนิดแสดงอาการ และคำแสดงชนิดแสดงการประสบ และอาจจำแนกคำแสดงตามกลุ่มขององค์ประกอบบังคับได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ คำแสดงที่มีองค์ประกอบบังคับ 1 ตัว คำแสดงที่มีองค์ประกอบบังคับ 2 ตัว คำแสดงที่มีองค์ประกอบบังคับ 3 ตัว และคำแสดงที่มีองค์ประกอบบังคับ 4 ตัว สำหรับ ผลการทดสอบการบอกขอบเขตประโยคด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม Unitex พบค่าความแม่นยำ (Precision) 68 เปอร์เซ็นต์และค่าความครบถ้วน (Recall) 73 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: The objectives of this study are 1) to analyze the complex sentences which use /thîi/ /su^ŋ/ /Ɂan/ and 2) to apply the results in computer program for bounding the complex sentences. It is found that there are 9 types of /thîi/, 4 types of /su^ŋ/ and /Ɂan/. / thîi/ can be relative pronoun, noun complementizer connector, verb complementizer connector, preposition, a part of compound noun, a part of sentence connector, a part of noun phrases which begin with /การ/ (/kaan/), nominalizer, and a part of time-telling clause. /su^ŋ/ can be relative pronoun, preposition, sentence connector, and connector for telling detail. /Ɂan/ can be relative pronoun, a part of sentence connector, sentence connector, and connector for showing example. /thîi/ /su^ŋ/ and /Ɂan/ have three roles in adjective clause : 1) they are a relative pronoun of the subject in main clause and they are a subject or object of the adjective clause. 2) they are a relative pronoun of the direct object in main clause and they are a subject or object of the adjective clause. 3) they are a relative pronoun of the indirect object in main clause and they are a subject or object of the adjective clause. In logic level analysis, there are 60 case frames and 574 predicates. These predicates can be divided into three kinds : 1) stative predicate 2) active predicate 3) emotive predicate. Moreover, they are divided into four groups by the number of argument 1) the one-argument predicates 2) the two-argument predicates 3) the three-argument predicates 4) the four-argument predicates. The results of bounding the complex sentences by using Unitex program are 68 % and 73 % in terms of precision and recall, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39490
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.600
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.600
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yingyot_Ka.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.