Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3965
Title: | ผลของเพื่อนช่วยสอนร่วมกับการเสริมแรงที่มีต่อ เจตคติ ความสามารถในการอ่านออกเสียง และความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถในการอ่านต่ำ |
Other Titles: | Effects of peer tutoring with reinforcement on attitude, abilities of reading aloud and reading comprehension of prathom suksa four students with low reading abilities |
Authors: | จีเรียง บุญสม, 2516- |
Advisors: | นิรันดร์ แสงสวัสดิ์ ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่พบข้อมูล ไม่พบข้อมูล |
Subjects: | การอ่าน การอ่านออกเสียง |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเพื่อนช่วยสอนร่วมกับการเสริมแรงที่มีต่อเจตคติ ความสามารถในการอ่านออกเสียงและความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถในการอ่านต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถในการอ่านต่ำ โรงเรียนในกลุ่มพัฒนาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 45 คน สุ่มแยกกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน รวม 30 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน กลุ่มทดลองที่ 1 เป็นเงื่อนไขเพื่อนช่วยสอนร่วมกับการเสริมแรง กลุ่มทดลองที่ 2 เป็นเงื่อนไขเพื่อนช่วยสอน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนอ่านจากครูตามปกติผู้วิจัยได้วัดเจตคติ ความสามารถในการอ่านออกเสียง และความสามารถในการอ่านจับใจความทั้งในระยะก่อนทดลองระยะหลังทดลองและระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ในระยะหลังทดลอง นักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านต่ำ กลุ่มเพื่อนช่วยสอนร่วมกับการเสริมแรง มีค่าเฉลี่ยคะแนน เจตคติ และการอ่านออกเสียง สูงกว่ากลุ่มเพื่อนช่วยสอนและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนการอ่านจับใจความ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ในระยะหลังทดลอง นักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านต่ำ กลุ่มเพื่อนช่วยสอน มีค่าเฉลี่ยคะแนน เจตคติและการอ่านออกเสียง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนการอ่านจับใจความไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. นักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านต่ำ กลุ่มเพื่อนช่วยสอนร่วมกับการเสริมแรงมีค่าเฉลี่ยคะแนน เจตคติ การอ่านออกเสียง และการอ่านจับใจความ ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติ ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนน การอ่านออกเสียง และการอ่านจับใจความ ในระยะหลังการทดลองกับระยะติดตามผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. นักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านต่ำ กลุ่มเพื่อนช่วยสอน มีค่าเฉลี่ยคะแนน เจตคติ การอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ในระยะหลังการทดลองกับระยะติดตามผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study effects of peer tutoring with reinforcement on attitude, abilities of reading aloud and reading comprehension of prathom suksa four students with low reading abilities. The subjects were forty-five prathom suksa four students with low reading abilities of the Pattana group school in Danmakhamtia district Kanchanaburi province. There were fifteen students in each two experimental groups and a control group. The first experimental group was taught by peer tutoring with reinforcement, the second experimental group by peer tutoring only and the control group by usual teacher. All subjects were pretested, posttested and follow-up tested on attitude, abilities in reading aloud and reading comprehension. The testing scores were analyzed by using the one-way analysis of variance and the t-test. The results were as follows: 1. In the posttest, students in the first experimental group obtained significantly higher scores on attitude and reading aloud ability than the studentsin the second experimental group and the control group at the .05 level but no significant differences on reading comprehension scores. 2. In the posttest, students in the second experimental group obtained significantly higher scores on attitude and reading aloud ability than the students in the control group at the .05 level but no significant differences on reading comprehension ability scores. 3. The students in the first experimental group obtained significantly higher attitude, reading aloud and reading comprehension abilities scores in the posttest than the pretest at .01 level and significantly higher attitude scores in the posttest than the follow-up test at the .01 level while there were no significant differences on reading aloud and reading comprehension scores. 4. The students in the second experimental group obtained significantly higher attitude, reading aloud and reading comprehension scores in the posstest than the pretest at the .01 level, there were no significant differences between theposttest and the follow-up test |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3965 |
ISBN: | 9741302045 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jeeriang.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.