Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/411
Title: การศึกษาแบบแผนและกระบวนการการเรียนรู้และการปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
Other Titles: A study of patterns and processes of the learning and adaptation of small and medium enterprise entrepreneurs under the new entrepreneur creation project
Authors: อุทุมพร อินทจักร์
Advisors: อมรวิชช์ นาครทรรพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Amornwich.N@chula.ac.th
Subjects: การปรับตัวทางสังคม
การเรียนรู้
ธุรกิจขนาดกลาง
ธุรกิจขนาดย่อม
ผู้ประกอบการ
โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่
ความสำเร็จทางธุรกิจ
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแบบแผนและกระบวนการการเรียนรู้และการปรับตัวที่เกี่ยวข้องกับความต้องการจำเป็นในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ 2) เพื่อสำรวจลักษณะปัญหาเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของผู้ประกอบการในด้านการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาธุรกิจและทัศนคติต่อโครงการฝึกอบรมพัฒนาที่มีอยู่ 3) เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการฝึกอบรมและพัฒนาที่เหมาะสมแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า พบว่าผู้ประกอบการมีกระบวนการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบโดยแบบแผนการเรียนรู้ที่ผู้ประกอบการนิยมเลือกใช้คือ การเรียนรู้โดยการสังเกต ซักถามความรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ สำหรับแบบแผนการปรับตัวที่ผู้ประกอบการนิยมเลือกใช้มากที่สุดคือการปรับตัวแบบยอมแพ้ต่อปัญหา เช่น การหนีปัญหาหรือการแสดงออกถึงความเครียดในรูปอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้และปรับตัวทั้งภายในและภายนอกเช่น ความใฝ่รู้ส่วนตัวหรือกำลังใจจากครอบครัวจะช่วยเกื้อหนุนให้ผู้ประกอบการสามารถเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาในการดำเนินธุรกิจและปรับตัวต่อความเครียดที่เกิดจากอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม นอกจากนี้การสำรวจข้อมูลจากผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรมจากโครงการที่รัฐจัดขึ้นพบว่า ความรู้ที่ได้รับจากโครงการนั้นน้อยกว่าความรู้ที่ผู้ประกอบการคาดหวังไว้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการประเมินความพร้อมและศักยภาพของผู้ประกอบการ การสร้างอำนาจต่อรองกับกลุ่มลูกค้า การจัดระบบบัญชีและเงินหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพลูกจ้าง และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในทีมงาน สำหรับปัญหาที่พบจากโครงการบ่มเพาะธุรกิจคือ โครงการจะให้การสนับสนุนในด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว ส่วนเรื่องการสนับสนุนด้านการเงินลงทุนเบื้องต้นและทุนหมุนเวียนภายในการเริ่มดำเนินธุรกิจยังขาดระบบการสนับสนุนส่งเสริมผลักดันแบบเบ็ดเสร็จ ปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จและความก้าวหน้าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอนาคตจะต้องขึ้นอยู่กับการพัฒนาความชำนาญของผู้ประกอบการ ทั้งในด้านการบริหารและวิชาชีพ ความก้าวทันต่อเทคโนโลยี และการได้รับข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยและรวดเร็ว ดังนั้นรัฐควรร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจเอกชนเพื่อสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการในการแสวงหาความรู้เพื่อใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มช่องทางตลาด การเขียนแผน และเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจะให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างเครือข่ายธุรกิจและกระบวนการรวมกลุ่มธุรกิจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างผู้ประกอบการ รวมทั้งการจัดระบบการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ มีความฉลาดทางอารมณ์มากขึ้น เน้นให้มีความชำนาญเฉพาะทางสำหรับผู้ประกอบการในแต่ละกลุ่มและการจัดให้มีที่ปรึกษาเรื่องการเขียนแผนธุรกิจในสถาบันการเงินต่าง ๆ
Other Abstract: The objectives of this research are first to study the learning process and adaptation relevant to the needs of Small and Medium Enterprises (SMEs) entrepreneurs in the New Entrepreneur Creation (NEC) project, second to survey the needs of SMEs under training for developing business i.e. how to deal with problems as well as attitudes during the training project, and third to welcome suggestions on the approach for both the training and adequate development of SMEs entrepreneurs in the future. The results of this study show that SMEs entrepreneurs do experience various learning processes in order to solve their problems. For example the process of learning from experience, is almost always chosen, whereas another learning process involves asking advises from an expert. The part of adaptation that most entrepreneurs chose is a sort of “withdrawal attitude” that worsens a situation. This attitude may be to avoid dealing with problems, to refuse to acknowledge the facts. This attitude leads to tensions such as physically running away from the problem or using some forms of psychological defense. Without taking into account whether internal or external factors are helping them in the process; their ambition to support their family is the most effective factor to learn from problem-solving and to shift their attitude from obstructions. In addition to tension, the result of a survey on entrepreneurs who follow government training projects show that the new knowledge they received from them did not fully match their high expectations. These disappointments are especially noticed for the issues of evaluating their own potential and ability to gain a bargaining power with their customers, in their financing arrangement, and increasing the effectiveness of the labor-force by assigning their responsibility at work. The biggest problems remain however that entrepreneurs had been given only information and no concrete financing support. The success and progress of SMEs in the future will be decided by the important related factors which depend on skills in managing different tasks, technological know-how and getting information in time and rapidly. Therefore, the government should be collaborating with educational institutes and private businesses to set up and develop suitable knowledge centers. Then, it will be able to match the needs of SMEs entrepreneurs, by looking for the right information that helps solve their problems. Almost all of these business problems are related with expanding market, writing business plans and raising information technology skills. Raising information technology skills requires however important conditions such as a network business-setting and a group learning process between entrepreneurs. Moreover, the arranging educational systems should give them a more positive state of mind, an emotional quotient, a skill-specific approach, and appropriate advises about their business plans from financial institutions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/411
ISBN: 9741744811
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Autumporn.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.