Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41437
Title: การสังเคราะห์งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: A synthesis of basic education teachers' classroom action research
Authors: จินตนา ศรีราตรี
Advisors: อวยพร เรืองตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่นำมาสังเคราะห์มีจำนวน 659 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ในการวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้น การประมาณค่าขนาดอิทธิพลโดยประยุกต์ใช้สูตรการประมาณค่าขนาดอิทธิพลด้วยวิธีของ Yu and Cooper (1983) และของ Fox,Crask and Kim (1988) การวิเคราะห์ถดถอยแบบลดหลั่น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการทำวิจัยโดยครูนักวิจัย 1 คน ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่ผลิตโดยครูนักวิจัยเพศหญิง ตำแหน่งที่ทำวิจัยมากที่สุดคือ ครู คศ.2 รายวิชาที่ทำวิจัยมากที่สุด คือวิชาภาษาไทย ประเด็น/เป้าหมายการวิจัยที่ทำมากที่สุดเป็นประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ครูนักวิจัยส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอน/รูปแบบการสอนในการแก้ปัญหา/พัฒนา มัธยฐานของกลุ่มที่ศึกษาเท่ากับ 44 คน งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบไม่มีกลุ่มควบคุม ปริมาณของนักเรียนในกลุ่มที่ศึกษาที่ส่วนใหญ่เป็นการศึกษานักเรียนทั้งชั้น/ทุกชั้น/ทั้งหมดที่ผู้วิจัยสอน การทำวิจัยส่วนใหญ่ไม่มีการสะท้อนผลกลับ การนำเสนองานวิจัยส่วนใหญ่เป็นแบบเป็นทางการ 2. คุณภาพของรายงานการวิจัยของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 3.ประเด็นที่แตกต่างกันระหว่างการประมาณค่าขนาดอิทธิพลโดยวิธีของ Yu and Cooper (1983) และการประมาณค่าขนาดอิทธิพลด้วยวิธีของ Fox,Crask and Kim (1988) มี 5 ประเด็น ได้แก่ค่าขนาดอิทธิพล การคำนวณค่าขนาดอิทธิพล การทดสอบนัยสำคัญทางสถิติของค่าขนาดอิทธิพล จุดประสงค์ในการประมาณค่าขนาดอิทธิพล และการคำนวณค่าความสำเร็จในการแก้ปัญหา/พัฒนา 4. ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยสามารถร่วมกันทำนายของค่าขนาดอิทธิพลได้ร้อยละ 51 โดยพบว่าตัวแปรที่สามารถทำนายค่าขนาดอิทธิพลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือตัวแปรช่วงเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาโดยใช้เวลาในชั่วโมงเรียน ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ทางบวก 5.ผลจากการสังเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหารายงานการวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่มีประเด็น/เป้าหมายการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์/ความพร้อมทางการเรียน (ร้อยละ 48.10) วิธีแก้ปัญหา/พัฒนาพบว่า ส่วนใหญ่ใช้กิจกรรม/กระบวนการกลุ่ม/การศึกษาด้วยตนเอง (ร้อยละ 28.20) จากการสังเคราะห์งานวิจัยสรุปได้ว่า พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่พัฒนาขึ้นหลังจากครูทดลองใช้วิธีการแก้ปัญหา
Other Abstract: The purpose of this research was to analyze and synthesize classroom action research of the basic education teachers. 659 research reports were the samples. The research instruments were recording form and the classroom action research quality’s evaluation form. Data were analyzed using preliminary statistics and to compare the effect size by using Yu and Cooper (1983) and Fox,Crask and Kim (1988) methods, Hierarchical stepwise regression analysis. The main findings were as follows: 1. The classroom action research was made only one teacher. The most conducted with female teachers .The highest position and subject to research were professional teachers and in Thai language subject. The goals were about achievement developing. Teaching methods and teaching styles to solving problems. The mean of size of the samples was 44 students. The most researches were no control experiment. The students samples were all classes. The most researches no feedback. The research reports were formal. 2. The quality of the research reports of the teachers was at moderate level. 3. The different point between a compare the effect size by using Yu and Cooper (1983) and Fox,Crask and Kim (1988) methods were 5 issues ; the size of effect, the value of effect, the test of statistics, the purpose of value of effect size and the value of successful in solving problems / develop. 4. The research characteristics accounted for 51 percentages as followed : the variable of the effect size was statistically significant at the .01 level was variable of period to solving problem and develop in class which was predict in positive. 5. The result of synthesis with content analysis of research report. The most of them were about issue, goal of research about achievement developing (48.10 percent) The solving problem / development / processing / self study teaching (28.20) so from the synthesize action research was : The students’ achievement and a good manner were better after teachers using solving problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41437
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1399
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1399
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jintana_sr_front.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Jintana_sr_ch1.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Jintana_sr_ch2.pdf6.92 MBAdobe PDFView/Open
Jintana_sr_ch3.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Jintana_sr_ch4.pdf20.71 MBAdobe PDFView/Open
Jintana_sr_ch5.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Jintana_sr_back.pdf8.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.