Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41520
Title: ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการจัดเก็บอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
Other Titles: Problem and prospects of taxation on stamp duty in accordance with revenue code
Authors: ธเนศ บ๊วยเจริญ
Advisors: ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร โดยมุ่งเน้นในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายอากรแสตมป์กับสภาพการดำเนินธุรกรรมทางธุรกิจในปัจจุบันว่า ฐานการจัดเก็บอากรแสตมป์ตามตราสารมีความเหมาะสม และสอดคล้องรองรับกับสภาพการดำเนินธุรกรรมทางธุรกิจในปัจจุบันเพียงใด โดยผู้เขียนได้ทำการศึกษาถึงรูปแบบการจัดเก็บอากรแสตมป์ในต่างประเทศ เพื่อเปรียบเทียบว่ากฎหมายอากรแสตมป์ของประเทศไทยสมควรที่จะพัฒนาไปในทิศทางใด และมีเนื้อหาหรือรายละเอียดในเรื่องใดบ้างที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขกฎหมายอากรแสตมป์ของประเทศไทยได้บ้าง จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติกฎหมายอากรแสตมป์ในส่วนของฐานการจัดเก็บอากรแสตมป์ตามตราสาร ไม่สามารถบังคับใช้ให้ครอบคลุมถึงธุรกรรมทางธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ในปัจจุบัน อันได้แก่ สัญญาทางพาณิชย์ประเภทใหม่ๆ ที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ และการทำธุรกรรมรูปแบบใหม่ที่ไม่อยู่ในรูปของตราสาร คือ การทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ในขณะที่อากรแสตมป์มีฐานการจัดเก็บจากการทำตราสาร ซึ่งตราสารที่ต้องเสียอากรก็ได้แก่ตราสารทั้ง 28 ลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ แต่สัญญาทางพาณิชย์ประเภทใหม่ๆไม่ใช่ตราสารที่อยู่ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ และการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่มีการทำตราสาร ดังนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียอากรแสตมป์แต่อย่างใด ซึ่งในยุคที่ระบบเศรษฐกิจการค้าเจริญก้าวหน้าขึ้นทุกๆวัน สัญญาประเภทใหม่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ก็มีแนวโน้มว่าจะถูกนำไปใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น หากไม่เร่งดำเนินการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายอากรแสตมป์ให้สามารถรองรับกับปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น กฎหมายอากรแสตมป์นอกจากจะกลายเป็นกฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดเก็บภาษีแล้ว ในอนาคตข้างหน้าหากทุกคนหันมาทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กันหมด กฎหมายอากรแสตมป์ก็อาจจะไม่มีขอบเขตให้บังคับใช้ก็ได้ จากการศึกษาในประเด็นดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาไว้ในหลายแนวทาง แต่มาตรการที่ผู้เขียนเห็นว่าเหมาะสมและน่าจะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวมากที่สุด ก็คือ การเปลี่ยนแปลงฐานการจัดเก็บภาษีอากรแสตมป์จาก “ตราสาร” มาเป็น “ธุรกรรม” ซึ่งจอกจากจะสามารถจัดเก็บภาษีได้แม้ไม่มีการทำตราสารขึ้นแล้ว ยังมีขอบเขตของการจัดเก็บที่กว้างและครอบคลุมกว่าการใช้ตราสารเป็นฐานในการจัดเก็บอีกด้วย และสามารถนำรูปแบบการจัดเก็บ Stamp Duty Land Tax (SDLT) ของประเทศอังกฤษมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขบทบัญญัติกฎหมายอากรแสตมป์ของประเทศไทยได้ด้วย
Other Abstract: This research has a purpose to study means to solve the problems of collection of stamp duty pursuant to the Revenue Code, especially the problem of application of stamp duty with business transactions at the present time, that whether the provisions regarding stamp duty are appropriate and consistent to such transactions or not. The author, therefore, has studied the pattern of collection of stamp duty in foreign countries to assess that in which directions should the law of stamp duty in Thailand develop to and which part of the laws of stamp duty in foreign countries can be used as guidelines to develop the law of stamp duty in Thailand. The author has found that the provisions regarding stamp duty pursuant to the Revenue Code are not appropriate and consistent to business transactions at the present time. This is because, such provisions have never been amended to be in consistent with evolving forms of business transactions, and therefore they cannot be enforced effectively. The author is of the opinion that, the appropriate measures to solve such problems is to amend legal provisions regarding tax bases of stamp duty in three matters. First of all, there should be a revision of 28 types of document in stamp duty list and a revocation of types of document which is not appropriate to collection of stamp duty. Secondly, new forms of contract which are not in stamp duty list, and thirdly, electronics transaction which is not done in documentary form, should be covered by legal provisions, in order to provide consistence between the law of stamp duty and business transactions at the present time along with effective enforcement.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41520
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.483
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.483
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanet_bu_front.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Thanet_bu_ch1.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Thanet_bu_ch2.pdf9.18 MBAdobe PDFView/Open
Thanet_bu_ch3.pdf6.19 MBAdobe PDFView/Open
Thanet_bu_ch4.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open
Thanet_bu_ch5.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Thanet_bu_back.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.