Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41566
Title: | อำนาจจับกุมตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาตรา 38/1 |
Other Titles: | Money laundering control act B.E.2542 (revised 2551) : a study on the authority of officers in arresting offenders |
Authors: | นพรัตน์ ตันติเสรีรัตน์ |
Advisors: | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | vboonyobhas@hotmail.com |
Subjects: | การจับกุม การฟอกเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย Arrest Money laundering -- Law and legislation -- Thailand |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยได้นำกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้ในการตัดวงจรเงินสำหรับการก่ออาชญากรรม ซึ่งได้บัญญัติขึ้นเมื่อปี 2542 แต่จากสถิติหลังจากที่กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีผลบังคับใช้ ปรากฏว่าการจับกุมและการดำเนินคดีกับอาชญากรในความผิดฐานฟอกเงินมีน้อยมาก ซึ่งตรงข้ามกับจำนวนอาชญากรรมที่เกิดตามความผิดมูลฐาน จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในส่วนของความผิดอาญาฐานฟอกเงินยังไม่บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จากปัญหาดังกล่าวทำให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินตามมาตรา 38/1 จากการศึกษาพบว่าการที่กฎหมายให้อำนาจเลขาธิการ รองเลขาธิการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเลขาธิการมีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินยังมีปัญหาข้อกฎหมายและขั้นตอนการปฏิบัติ เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทำงานด้านนโยบาย ไม่มีความรู้ความสามารถในด้านยุทธิวิธีการจับกุม ซึ่งอาจเกิดความเสียหายต่อชีวิตหรือทรัพย์สินของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้ อีกทั้งการจับกุมความผิดซึ่งหน้าในความผิดฐานฟอกเงินนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก วิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอให้มีการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องรวมถึงวิธีการปฏิบัติ ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้การใช้อำนาจจับกุมของเลขาธิการ รองเลขาธิการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 38/1 เกิดประสิทธิภาพสูงสุด |
Other Abstract: | Though Thailand has had the Anti-Money Laundering law in place in order to stop the circle of Money Laundering financial crime since year 1999, statistically the rate of Money Laundering financial crime’s arrests and prosecutions have still decreased while the criminal rate of Predicate Offences have increased. This indicates that the law enforcement of Predicate Offences still has not been effective. Due to the ineffectiveness of Predicate Offences law enforcement, the Anti-Money Laundering law officials are granted more authorities per 38/1 ACT to arrest and prosecute criminals. The study shows that though 38/1 ACT grants law officials more authorities to arrest and prosecute Money Laundering financial criminals, the law officials themselves still lack of proper skills and effective strategies, which can lead to the life and property damages. Also, flagrant offence in Money Laundering financial criminals is very rare when compared with other types of criminals. This thesis then focuses on a proposal to amend or revise the Anti-Money Laundering processes and regulations stated on 38/1 ACT in order to achieve its highest effectiveness. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41566 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1212 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1212 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nopparat_ta.pdf | 2.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.