Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/416
Title: การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย
Other Titles: A development of the knowledge management models in Thai higher education institutions
Authors: บุญส่ง หาญพานิช, 2496-
Advisors: พรชุลี อาชวอำรุง
กมล สุดประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pornchulee.A@chula.ac.th
Subjects: การบริหารองค์ความรู้
สถาบันอุมศึกษา
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาและสังเคราะห์แนวความคิดที่เกี่ยวกับ ธรรมชาติความรู้ องค์ความรู้ทางการอุดมศึกษา การบริหารจัดการอุดมศึกษาไทย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการความรู้ กระบวนการจัดการความรู้ โครงสร้างพื้นฐานของการบริหารจัดการความรู้ สิ่งท้าทายของการบริหารจัดการความรู้ และยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการความรู้ และนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย เน้นด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และการบริการความรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ และ การตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ให้สัมภาษณ์คืออธิการบดี กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม คือ รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณะบดี และผู้อำนวยการ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน 19 แห่ง จากสถาบันอุดมศึกษาที่มีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยทั้งหมด 49 แห่ง อธิการบดีที่ให้สัมภาษณ์มีทั้งสิ้น 19 คน ผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถามมีทั้งสิ้น 130 คน ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย คือ วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิด สร้างแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ร่างรูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย ตรวจสอบร่างรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ปรับปรุงร่างรูปแบบ และ นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ นโยบาย ภารกิจ เป้าหมาย การประเมิน ยุทธศาสตร์ สำนักบริหารจัดการความรู้ กระบวนการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ กระบวนการบริการความรู้ และ ผลการการดำเนินการ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา มีความต้องการในระดับมากขณะที่สภาพเป็นจริงในปัจจุบันเกิดขึ้นในระดับค่อนข้างน้อยในทุกด้านที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการความรู้ ได้แก่ การสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้ การนำความรู้ไปใช้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ การบริการความรู้ การสื่อสารความรู้ การใช้เทคโนโลยี วัฒนธรรมการไว้วางใจ วัฒนธรรมพลังร่วม นอลลิดจ์เวอร์เคอร์ สิ่งท้าทาย และ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความรู้ ลักษณะงานที่ผู้บริหารมีความต้องการในระดับมาก ให้มีการนำองค์ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งเกิดจากการบริหารจัดการความรู้ไปใช้ ได้แก่ การประกันคุณภาพการศึกษา รองลงมา คือ การพัฒนาการเรียนการสอน หลักสูตร เทคโนโลยี ห้องสมุด การวิจัย การประเมินความดีความชอบ การธำรงรักษาบุคลากร การสร้างนักวิชาการ การกำหนดภาระงานของบุคลากร และ การบริการความรู้ ผู้บริหารมีความประสงค์ให้ในระดับมาก ให้มีการแบ่งปันแลกความรู้ที่ต่างฝ่ายต่างเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ ใน 5 ด้าน คือ การเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ การถ่ายทอดความรู้ การจัดอบรมสัมมนา การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงความรู้ และการให้คำปรึกษา รูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทยที่นำเสนอ เน้นด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และการบริการความรู้ ซึ่งประกอบด้วย 10 ด้าน ด้านวิสัยทัศน์ คือ การเป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้และชุมชนนักวิชาการ ด้านภารกิจ คือ การผลิต ถ่ายทอด และบริการความรู้ ด้านนโยบาย คือ ให้มีการแบ่งปันความรู้อย่างทั่งถึงทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ด้านเป้าหมาย คือ การพัฒนาวัฒนธรรมการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมการบริการความรู้พัฒนานอลลิดจ์เวอร์เคอร์ พัฒนาฐานความรู้อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบน และพัฒนาปฏิสัมพันธ์ความรู้ ด้านการประเมิน คือ ประเมินความสามารถและวัฒนธรรมของสถาบัน ด้านยุทธศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการความรู้ไว้ 6 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ผู้บริหาร ยุทธศาสตร์นอลลิดจ์เวอร์เคอร์ ยุทธศาสตร์ปฏิสัมพันธ์ความรู้ ยุทธศาสตร์การสื่อสารความรู้และเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์การไว้วางใจ และยุทธศาสตร์ร่วมพลัง ด้านสำนักบริหารจัดการความรู้ คือ การวางแผนกลยุทธ์การบริหารการจัดการความรู้ ด้านกระบวนการแบ่งปันแลกเปลี่ยนและบริการความรู้ คือ การเตรียมความพร้อม การกำหนดวิธีการแบ่งปันและเปลี่ยนและบริการ การประเมินและปรับปรุงแก้ไข ด้านผลการดำเนินการ คือ ทำให้ได้ วัฒนธรรมการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และการบริการความรู้ ชุมชนนอลลิดจ์เวอร์เคอร์ ฐานความรู้อิเล็กทรอนิกส์ปฏิสัมพันธ์ความรู้ นวัตกรรมการเรียนรู้ ผลิตภัณฑ์และการบริการ
Other Abstract: The purpose of the study was to analyze and synthesize the ideas on the nature of knowledge, higher education’s knowledge, Thai higher education management, the factors affecting to knowledge management, the knowledge organizing, the infrastructure of knowledge management, the challenges of knowledge management and strategies of knowledge management and to present the knowledge management models in Thai higher education institutions. Data were collected by cumentationt analysis, and answering the questionnaires. Two samples were key informants. The first were nineteen presidents of Thai higher education institutions. The second were 130 administrators of 19 Thai higher education institutions. The research processes composed of analyzing and synthesizing the ideas, setting the interview questions and questionnaires, collecting data from the interview question and questionnaires, drafting the knowledge management models, recticfied by experts, model modifying and then, to present the knowledge management models. The knowledge management composed of visions, policies, missions, targets, assessment, strategies, knowledge management office, knowledge sharing process, knowledge service process and the output of performance. The results of the study showed that administrators require higher level needs while the present real situation is rather low in all factors involving knowledge management: knowledge creation, knowledge collection, knowledge utilization, knowledge sharing, knowledge service, knowledge communication, technology using, trust culture, synergy culture, knowledge workers, challenges of knowledge management and knowledge strategies. Job characteristics, needed new knowledge and highly required by administrators, were educational quality assurance, teaching, learning, curriculum, staff, technology, library, research, reward system, personnel keeping, scholar creation, job description, knowledge service. The administrators highly require knowledge to be shared across departments by both formal and informal communication more than before. The administrators also highly require the corporate knowledge service in five ways: distributing knowledge to the public, transferring knowledge, training, giving convenience for accessing knowledge resources and giving knowledge consulting. Knowledge management models in Thai higher education institutions focused on knowledge sharing and knowledge services which compose of ten categories: Vision being learning organization and community of knowledge workers; Missions knowledge building, knowledge distribution and knowledge services; Policies knowledge sharing both internal and external institutions and corporate knowledge service; Targets knowledge sharing culture building, knowledge service culture building, knowledge worker development, knowledge-based development and the development of knowledge interaction; Evaluation organization’s competence and culture; Strategies of knowledge management administrative strategy, knowledge worker strategy, communication and technology strategy, trust strategy and synergy strategy; Knowledge management office chief knowledge officer , knowledge management strategic planning; Knowledge sharing and service processes preparing readiness, determination of knowledge sharing and knowledge service methodologies, assessment and improvement. The expectation outputs of this model were knowledge sharing culture, knowledge service culture, knowledge worker community, knowledge base and knowledge interaction and innovation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/416
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.334
ISBN: 9741740832
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.334
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
boonsongh.pdf6.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.