Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41775
Title: ปัญหากฎหมายของเปิดเสรีการค้าบริการ สาขาประกันภัย ภายใต้ร่างความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ
Other Titles: Legal problems concerning insurance sector liberalization under the draft U.S.- thailand free trade agreement
Authors: สุทธิศักดิ์ อัจฉรียเกียรติ
Advisors: ศํกดา ธนิตกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงและบรรเทาปัญหากฎหมาย ในกรณีที่มีการเปิดเสรีภาคธุรกิจประกันภัยตามความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-สหรัฐฯ โดยการวิเคราะห์ขอบเขตและความครอบคลุมของร่างความตกลงฯเหนือภาคธุรกิจประกันภัย ประเภทของสาขาย่อยธุรกิจประกันภัยที่บริษัทประกันภัยสหรัฐฯมีศักยภาพที่จะเข้ามาลงทุนเปิดให้บริการและแข่งขันในตลาดของประเทศไทย ตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาสำคัญตามข้อบทการค้าบริการภาคการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับภาคธุรกิจประกันภัยของไทย ซึ่งได้แก่ปัญหาที่ว่า ระบบกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมดูแลธุรกิจประกันภัยของไทย ยังไม่สอดคล้องกับพันธกรณีส่วนใหญ่ที่ประเทศไทยจะต้องมี ภายใต้ร่างความตกลงฯ อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาเห็นว่า ประเทศไทยสามารถหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาระดับความร้ายแรงของปัญหากฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้ โดยการใช้ประโยชน์จากบรรดาความยืดหยุ่นที่มีอยู่ ภายใต้ร่างความตกลงฯอย่างเต็มที่ กล่าวคือ การระบุบรรดามาตรการที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีเป็นมาตรการที่ไม่ผูกพัน ไว้ใน Annex III ตามสิทธิที่มีตาม Article 12.9 อย่างระมัดระวัง โดยมิให้มีมาตรการใดหลุดรอด นอกจากนั้น ประเทศไทยยังสามารถที่จะเจรจาเพื่อตัดบางสาขาของธุรกิจประกันภัยออกไปจากการเปิดเสรี หรือ ขอมีช่วงระยะก่อนที่จะเปิดเสรีบางสาขาย่อยให้ยาวนานออกไปอีก พร้อมกับมีเงื่อนไขและระยะเวลาปรับเปลี่ยนที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทย สำหรับพันธกรณีตามร่างความตกฯ ซึ่งประเทศไทยไม่สามารถบรรเทาได้โดยการใช้มาตรการ Non-Conforming Measures ได้แก่ พันธกรณีตาม New Financial Services, Payment and Clearing Systems, Self Regulatory Organizations, Expedited Availability of Insurance Services, Treatment of Certain Information and Transparency ประเทศไทยยังสามารถหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาปัญหากฎหมาย โดยการเจรจาอย่างมีจุดยืนที่มั่นคง ก่อนการลงนามและให้สัตยาบัน และแม้ภายหลังที่ร่างความตกลงฯมีผลบังคับใช้แล้ว ประเทศไทยก็ยังสามารถบรรเทาปัญหาได้ โดยใช้มาตรการว่าด้วยข้อยกเว้น ภายใต้หลักความระมัดระวัง ( The Prudential Principle ) หรือ กลไกการปรึกษาหารือ หรือ กลไกการระงับข้อพิพาทการค้าบริการภาคการเงิน ตามความตกลง FTA
Other Abstract: This thesis examines the issues of how to avoid and alleviate legal problems concerning insurance services sector liberalization under The Draft U.S.-Thailand FTA. It analysis the scope and coverage of the said draft FTA, types of insurance sub-sectors which the U.S. insurance service providers have strong potential to invest and compete in the Thai market. It also examines the important issues under the Chapter on Financial Services, particularly those issues related to the insurance sector in Thailand – the present Thai insurance sector regulatory regime may not largely inconformity with Thailand’s obligations under The Draft FTA. However, this author is at the view that Thailand can avoid or alleviate the degree of seriousness of those legal problems by fully utilizing flexibility available under The Draft FTA. Namely, by carefully listing the non-conforming measures on Annex III in accordance with Article 12.9. Thailand can also negotiate to carve out some sub-sectors, or to have longer phasing out and favorable conditions and transition period. For those obligations which Thailand cannot avoid or alleviate through the use of non-conforming measures, i.e. New Financial Services, Payment and Clearing Systems, Self Regulatory Organizations, Expedited Availability of Insurance Services, Treatment of Certain Information and Transparency. Thailand can still avoid or alleviate legal problems by firmly negotiation prior to signing and ratification. After the FTA comes to force, Thailand can also alleviate the problems by using the exceptions measures under the prudential principle; the consultation mechanism or the financial dispute settlement mechanism of the said FTA.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41775
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthisuk_ug_front.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Suthisuk_ug_ch1.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open
Suthisuk_ug_ch2.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Suthisuk_ug_ch3.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open
Suthisuk_ug_ch4.pdf6.18 MBAdobe PDFView/Open
Suthisuk_ug_ch5.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open
Suthisuk_ug_ch6.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
Suthisuk_ug_back.pdf6.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.