Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42316
Title: ค่าอ้างอิงของระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดฮีโมโกลบินอีที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน โดยวิธีทางอิมมูนในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Reference intervals for hemoglobin A1c in non-diabetic adults with hemoglobin E established by immunoassay method in King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: ลลิตา วัฒนะจรรยา
Advisors: สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sompongse.S@Chula.ac.th
Subjects: ฮีโมโกลบินผิดปกติ
Hemoglobinopathy
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของการวิจัย : ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงผลรวมของการควบคุมระดับกลูโคสในเลือดในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน แต่อย่างไรก็ตามมีหลายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีนี้ รวมทั้งโรคธาลัสซีเมียและภาวะฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดต่างๆ ซึ่งการศึกษาที่ผ่านมายังมีข้อมูลน้อยเกี่ยวกับค่าอ้างอิงของระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในภาวะฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดฮีโมโกลบินอีทั้งชนิดแฝงและชนิดโฮโมไซโกส ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยในประเทศไทย วัตถุประสงค์ในการวิจัย : เพื่อศึกษาค่าอ้างอิงของระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยฮีโมโกลบินอีทั้งชนิดแฝงและชนิดโฮโมไซโกส ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน โดยวิธีทางอิมมูนที่ใช้ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการทำวิจัย : เก็บข้อมูลและตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยฮีโมโกลบินอีที่ไม่ได้เป็นเบาหวานทั้งชนิดแฝงและชนิดโฮโมไซโกส กลุ่มละ 60 คน และกลุ่มฮีโมโกลบินปกติ 60 คน ทำการวัดระดับน้ำตาลก่อนอาหารและระดับฮีโมโกลบินเอวันซี โดยใช้เครื่อง Roche Cobas Integra และหาค่าอ้างอิงโดยคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย : ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในกลุ่มฮีโมโกลบินปกติ กลุ่มฮีโมโกลบินอีชนิดแฝงและชนิดโฮโมไซโกส เท่ากับร้อยละ 5.22±0.39 (ค่าอ้างอิงร้อยละ4.44-6.0) ร้อยละ5.45±0.35 (ค่าอ้างอิงร้อยละ4.75-6.15) และร้อยละ5.23±0.33 (ค่าอ้างอิงร้อยละ4.57-5.89) ตามลำดับ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันโดยใช้ ANCOVA โดยปรับเรื่องอายุ ดัชนีมวลกาย และระดับน้ำตาลก่อนอาหาร พบว่าค่าเฉลี่ยของฮีโมโกลบินเอวันซีในกลุ่มฮีโมโกลบินอีชนิดแฝงแตกต่างกับอีก 2 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (กลุ่มฮีโมโกลบินปกติ และกลุ่มฮีโมโกลบินอีชนิดแฝง p=0.032, กลุ่มฮีโมโกลบินอีชนิดแฝงและกลุ่มฮีโมโกลบินอีชนิดโฮโมไซโกส p=0.017) แต่ค่าความแตกต่างนั้นเท่ากับ 0.2 ซึ่งถือว่าไม่มีนัยสำคัญทางคลินิกที่ชัดเจน สรุปผลการวิจัย : แม้ว่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ระหว่างกลุ่มจะมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ผลต่อการรักษาผู้ป่วยทางคลินิกน้อย ดังนั้นในทางปฏิบัติสามารถใช้ค่าอ้างอิงเดียวกันกับกลุ่มประชากรปกติได้
Other Abstract: Background : Hemoglobin A1c (Hb A1c) reflects blood glucose over the previous 2-3 months and is widely accepted as a valuable indicator for long-term glucose homeostasis. The presence of hemoglobin variants can affect the accuracy of some Hb A1c methods. The effect of hemoglobin E on Hb A1c levels had been studied but the reference intervals for Hb A1c in non-diabetic adults with hemoglobin E are not well defined. Objective : To establish Hb A1c reference intervals for subjects with homozygous and heterozygous Hb E with the commercially available determinations method for Hb A1c in King Chulalongkorn Memorial Hospital. Methods : A total of 180 blood samples were obtained (60 normal hemoglobin typing, 60 heterogygous HbE and 60 homozygous HbE). HbA1c measurements were performed with immunoassay method (Roche Cobas Integra). The reference intervals were calculated in mean±2SD. Results : Mean±SD for HbA1c in non-diabetic adults with normal Hb typing, heterozygous HbE and homozygous HbE were 5.22±0.39% (interval 4.44-6.0), 5.45 ± 0.35% (interval 4.75-6.15) and 5.23±0.33% (interval 4.57-5.89), respectively. The mean differences between normal Hb typing group vs heterozygous HbE group and heterozygous HbE group vs homozygous HbE group were statistical significance (p=0.032 and p=0.017,respectively). Conclusion : In this study, although there was a statistical significance in the mean differences between heterozygous HbE group and the others, a clinical implication was little values. So we can use the same reference intervals as in general populations.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42316
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.522
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.522
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lalita_Wa.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.