Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42735
Title: การผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียในหน่วยงานทหาร :กรณีศึกษากรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
Other Titles: BIOGAS PRODUCTION FROM WASTES IN MILITARY AREAS : A CASE STUDY OF 11th INFANTRY REGIMENT KING’S GUARD
Authors: อภิญญา จันทเขตต์
Advisors: สุภวัฒน์ วิวรรธ์ภัทรกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: supawat@eri.chula.ac.th
Subjects: กรรมวิธีการผลิต
ก๊าซชีวภาพ
ขยะอินทรีย์
Manufacturing processes
Biogas
Organic wastes
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาขยะที่เหลือทิ้ง อาทิ วัสดุที่เหลือทิ้งจากการเกษตร น้ำเสียที่ปล่อยจากโรงงาน เศษอาหาร รวมถึงสิ่งปฏิกูลของสัตว์ต่างๆ ซึ่งของเหลือทิ้งในรูปของสารอินทรีย์ หากถูกนำไปทิ้งโดยปราศจากการบำบัดที่ดี ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบข้าง กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) เป็นหน่วยทหารหนึ่งที่สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชน แต่หน่วยงานมีปัญหาเศษขยะเหลือทิ้งจำนวนมาก เพื่อให้สามารถลดปัญหาเศษขยะเหลือทิ้งที่มีภายในพื้นที่ในการนำมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน จึงได้ทำการทดลองหาปริมาณก๊าซชีวภาพ จากระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ ขนาด 2,000 ลิตร ตามอัตราส่วน 100 : 0 อัตราส่วน 85 : 15 และ อัตราส่วน 70 : 30 โดยอัตราส่วน 85 : 15 ปริมาณก๊าซชีวภาพสะสม เท่ากับ 1,134 ลิตร โดยทำการเก็บข้อมูลปริมาณก๊าซชีวภาพ จำนวน 21 วัน มีปริมาณมีเทนมากที่สุดเท่ากับ 18.74 % ปริมาณก๊าซไฮโดรเจน มีปริมาณมากที่สุด เท่ากับ 32.26 % สามารถคำนวณค่าความร้อนที่ได้จากการทดลองนี้โดยอัตราส่วน 100 : 0 ค่าความร้อนได้ เท่ากับ 0.47 MJ/kg อัตราส่วน 85 : 15 ค่าความร้อนได้ เท่ากับ 1.49 MJ/kg และอัตราส่วน 70 : 30 ค่าความร้อนได้ เท่ากับ 1.42 MJ/kg โดยอัตราส่วน 85 : 15 มีค่าความร้อนสูงที่สุด เมื่อศึกษาจากข้อมูลของเสียภายในพื้นที่กับการทดลอง พบว่า ที่อัตราส่วน 85 : 15 ให้ค่าความร้อนทั้งหมด 7,110.06 MJ/kg เทียบเท่า ค่าความร้อนของเชื้อเพลิง LPG เท่ากับ 1,545.67 กิโลกรัม หรือเทียบเท่า LPG ขนาด 15 กิโลกรัม/ถัง จำนวน 103 ถัง
Other Abstract: Thailand has recently given priority on problems with waste such as agricultural waste, industrial waste water and food waste in organic compound.If will not reduce its, it cloud be impact to the environment and surround communities. The 11th INFANTRY REGIMENT KING’S GUARD is a part of military sector which can be a role model for communities and this area is facing loaded organic wastes problem. In order to reduce organic wastes in the area and to transform wastes into energy. This study finds out the suitable ratio between food and pig manure from 2,000 liter of biogas production system. The experiment was divided into three proportions of food waste and manure based on dry matter mass. The first is 100:0. The second is 85:15 and the third is 70:30. According to these results, the proportion 85:15 shows the large quantity of biogas which was 1,134 liters. Methane generation rate is increasing to 18.74 % and hydrogen is also high as 32.26%. Heating values of the proportion 100 : 0, 85:15 and 70:30 at 0.47 MJ/kg,1.49 MJ/kg and 1.42 MJ/kg, respectively.The proportion 85:15 illustrated the highest heating value. For this study, the wastes in the military area can calculate biogas production by using biogas production yield of proportion 85:15. The heating value of biogas from this military area is 7,110.06 MJ/kg (equal LPG 1,545.67 kg or 103 tanks of LPG 15 kg).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42735
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.209
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.209
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5587643820.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.