Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43396
Title: | มาตรฐานบังคับกับความรับผิดของผู้ประกอบการต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย |
Other Titles: | MANDATORY STANDARD AND MANUFACTURER’S LIABILITY UNDER PRODUCT LIABILITY LAWS |
Authors: | ณพิชญ์ศิกาน ศรีเจริญพงศ์ |
Advisors: | ศักดา ธนิตกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | tsakda@chula.ac.th |
Subjects: | ความรับผิดชอบในการทำงาน การชดใช้ค่าเสียหาย สินค้า -- มาตรฐาน Restitution Commercial products -- Standards |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ในมาตรา 7 ไม่ได้กำหนดให้การปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแบบบังคับเป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ประกอบการ ด้วยเหตุผลที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ และการตรวจสอบสินค้าใช้วิธีการสุ่มตรวจตัวอย่างสินค้า กรณีดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ต้องแบกรับภาระความรับผิดมากเกินไป เมื่อพิจารณาถึงความสามารถของผู้ประกอบการส่วนใหญ่แล้วไม่อาจจะแบกรับภาระดังกล่าวได้เพียงฝ่ายเดียว ด้วยเหตุผลด้านเงินทุนของผู้ประกอบการที่มีอยู่อย่างจำกัด แม้ผู้ประกอบการจะได้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้โดยเคร่งครัด ซึ่งการปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดนั้นมีภาระค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่ผู้ประกอบการก็ยังมีความเสี่ยงต้องชดใช้ค่าเสียหายอีกเช่นกัน ซึ่งกรณีดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบในทางลบต่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการ ตลอดจนการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาถึงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแบบบังคับ และกระบวนการควบคุมคุณภาพว่ามีความเหมาะสมเพียงพอ และมีน้ำหนักมากพอที่จะให้ผู้ประกอบการที่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพดังกล่าวสามารถใช้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดได้หรือไม่ ตลอดจนศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเยอรมนี ประเทศอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้ เพื่อจะหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวในพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 |
Other Abstract: | The Product Liability Act B.E. 2551, Section 7, do not enact the compliance of Mandatory Standard as an exemption for the manufacturer. Since the Thai Industrial Standard is a minimum standard and the Quality Control method is a random checking. This issue has an impact on most manufacturers in Thailand which are Small and Medium Enterprises to take on over more liabilities. After considering about the ability of manufacturers, they cannot absorb all of liabilities due to their fund has limitation. Although manufacturers can comply with Mandatory Standard strictly, it leads to high costs, they cannot avoid the risk of compensation damage. That would be affecting to the existed manufacturers, industrial and Thai economic development. Therefore, the author would like to study the Mandatory Standard and Quality Control in order to conclude whether there are enough to exclude manufacturers from liability under product liability case or not. Along with studying and comparing the Product Liability Law of other countries, e.g. the United States of America, Germany, England, Canada, Japan and Singapore. Hence, the author could find a proper method for prescribing the compliance of Mandatory Standard as a manufacturer’s defence in The Product Liability Act B.E. 2551. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43396 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.863 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.863 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5485975734.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.