Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43459
Title: | ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคกับสุขภาพจิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง |
Other Titles: | ADVERSITY QUOTIENT AND MENTAL HEALTH OF VILLAGE HEALTH VOLUNTEERS AT WANGNUEA SUB-DISTRICT, WANGNUEA DISTRICT, LAMPANG PROVINCE |
Authors: | กวิตา พวงมาลัย |
Advisors: | สมรักษ์ สันติเบ็ญจกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | somruksunti@gmail.com |
Subjects: | อาสาสมัครสาธารณสุข -- สุขภาพจิต อาสาสมัครสาธารณสุข -- ไทย -- วังเหนือ (ลำปาง) การปรับตัว (จิตวิทยา) Adjustment (Psychology) |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคกับสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือจังหวัดลำปาง โดยศึกษาจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง จำนวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค( ADVERSITY QUOTIENT) จำนวน 30 ข้อหลัก 2 ข้อย่อยรวม 60 ข้อ 3) แยกเป็น 4 ด้านได้แก่ 1.ความสามารถในการควบคุม 2.ต้นเหตุและความรับผิดชอบต่อปัญหาของตนเอง 3.การเข้าสู่ปัญหาอย่างมีสติ 4.ความอดทน) และแบบสัมภาษณ์ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น (TMHI –15) จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และOne – way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคโดยรวมส่วนใหญ่อยู่ระดับปานกลางเท่ากับคนทั่วไป (Mean = 124.12 ±S.D.=19. 49718) แยกรายด้าน ด้านความอดทนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 32.92 ± S.D. = 6.75146) ด้านการควบคุมต่ำสุด (Mean = 28.00 ±S.D. = 6.15235) ระดับสุขภาพจิตพบส่วนใหญ่เท่ากับคนทั่วไป (Mean = 47.18 ±S.D. = 5.61945) โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคในด้านผลกระทบที่จะมาถึงได้แก่ เพศ อายุ และความพึงพอใจต่อสวัสดิการที่รัฐจัดให้ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคะแนนสุขภาพจิตได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ ความพึงพอใจต่อสวัสดิการที่รัฐจัดให้ จากการศึกษาครั้งนี้ ตัวแปรที่พบว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพจิต ได้แก่ความเพียงพอของรายได้พบว่าความไม่เพียงพอของรายได้และมีหนี้สินสัมพันธ์กับคะแนนสุขภาพจิตที่ต่ำลง |
Other Abstract: | The purpose of this descriptive research were to study Adversity quotient, Mental Health of Village Health Volunteers at Wangnuea Sub-District, Wangnuea District, Lampang Province. The Stratified to 176 subjects. Data collected by using self report questionnaire to assess for demographic information, Adversity Quotient and mental health investigated with TMHI-15. Statistical analysis was done by using SPSS for windows. The data were analyzed percentage, standard deviation, chi square t-test, Pearson moment correlation coefficient and regression analysis. The result were adversity quotient of village health volunteer was at the moderate level (Mean = 124.12 , ±S.D. = 19. 49718) and village health had normal mental health (Mean = 47.18, ±S.D. = 5.61945) . Factor related to adversity quotient at reach were gender, age and satisfaction with welfare and factor related to mental health were adequacy of income and satisfaction with welfare. The factors the predicted the score of mental health were satisfaction with welfare. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43459 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.928 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.928 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574104730.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.