Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43480
Title: | การศึกษาผลของยาอีทาเนอร์เซ็บในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงความดันหลอดเลือดแดงปอดในหนูแรทที่อยู่ในสภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงสลับกับภาวะปกติอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง |
Other Titles: | PREVENTIVE EFFECT OF ETANERCEPT ON PULMONARY ARTERIAL PRESSURE IN CHRONIC INTERMITTENT HYPOXIC RAT MODEL |
Authors: | นิวัน กลิ่นงาม |
Advisors: | ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม สมพล สงวนรังศิริกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | drboy48@yahoo.com fmedssk@yahoo.com |
Subjects: | หลอดเลือดแดง -- โรค การอักเสบ ความดันเลือด Arteries -- Diseases Inflammation Blood pressure |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มาของงานวิจัยนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาผลของยาอีทาเนอร์เซ็บต่อการเปลี่ยนแปลงระบบไหลเวียนโลหิต, การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของหลอดเลือดแดงปอดและหัวใจ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการอักเสบ ในสภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงสลับกับภาวะปกติอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง ที่มีความใกล้เคียงกับการเกิดความดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นขณะนอนหลับในคน วิธีการศึกษา หนูแรทสายพันธุ์ Sparge Dawley จํานวน 30 ตัว ถูกแบ่งเป็น 5 กลุ่มๆละ 6 ตัว เพื่อศึกษาผลของยาอีทาเนอร์เซ็บขนาด 0.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ฉีดใต้ชั้นผิวหนัง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในสภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงสลับกับสภาวะปกติอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 28 วันตลอดการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มหนูแรทที่อยู่ในสภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงสลับกับภาวะปกติอย่างต่อเนื่องเรื้อรังมีการเปลี่ยนแปลงความดันหลอดเลือดแดงปอด, การเปลี่ยนแปลงหลอดเลือดแดงปอดขนาดกลางและการหนาตัวของผนังหัวใจห้องล่างขวา, การเปลี่ยนแปลงระดับ TNF-α ในเลือดและในน้ำล้างเนื้อปอด ส่วนยาอีทาเนอร์เซบมีผลต่อการลดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงขนาดกลางและลดระดับ TNF-α ทั้งในเลือดและในน้ำล้างเนื้อปอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษา ยาอีทาเนอร์เซ็บสามารถลด inflammatory factor คือ TNF-α แต่ไม่มีผลในการลดความดันหลอดเลือดปอด แสดงว่าการเกิดกระบวนการอักเสบไม่ใช่กลไกเดียวที่ทำให้เกิดความดันในเลือดแดงปอดสูงในภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นระหว่างนอนหลับ |
Other Abstract: | Background This study aim to assess the hemodynamic and inflammatory responses to chronic intermittent hypoxia (CIH) and examine the morphologic and hemodynamic effects of etanercept, Anti-TNF, in an animal model of OSA/CIH induced pulmonary hypertension (PH) Methods Thirty Sprague-Dawley rats were randomly divided into 5 groups(six rats in each group) including two normoxic-groups, two CIH-groups and one normal rat- group. Rats in CIH-groups were exposed to alternating cycles of normoxia for 8 h/day during the light phase for 28 days. Etanercept 0.4 mg/kg was given subcutaneously twice a week to one normoxic and one CIH-group. Results In CIH-groups, studies revealed significant increase in mean pulmonary arterial pressure(mPAP), serum level of TNF-alpha and lung tissue suspension level of TNF-alpha. In etenercept-treated group, significant reduction in serum level of TNF-alpha and lung tissue suspension level of TNF-alpha. Conclusions CIH induces inflammatory responses, increased mPAP, pulmonary vascular remodeling and RVH. Etanercept reduced inflammation, with no effect on hemodynamic and histopathological changes. In contrast to pulmonary arterial hypertension (PAH), inflammation appears not to be the important role in the development of OSA/CIH induced pulmonary hypertension(PH). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43480 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.945 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.945 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574138030.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.