Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43486
Title: | ความชุกของภาวะดีไดเมอร์สูง หลังจากหยุดการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวเลือด ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ไทยที่เคยเป็นโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำมาก่อน |
Other Titles: | PREVALENCE OF HIGH D-DIMER LEVEL AFTER STOPPING ANTICOAGULANT THERAPY IN THAI ADULT PATIENTS WITH PREVIOUS VENOUS THROMBOEMBOLISM |
Authors: | ปิติพงศ์ กิจรัตนะกุล |
Advisors: | พลภัทร โรจน์นครินทร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | rojnuckarinp@gmail.com |
Subjects: | ภาวะอุดตันของหลอดเลือดจากลิ่มเลือด -- การรักษาด้วยยา เลือด -- การแข็งตัว -- การรักษาด้วยยา Thromboembolism Blood -- Coagulation |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บทนำ: ระยะเวลาที่เหมาะสมในการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดภายหลังจากการเป็นโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำครั้งแรกโดยไม่มีปัจจัยกระตุ้นจำเป็นต้องประเมินระหว่างความเสี่ยงในการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำซ้ำกับความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกในแต่ละบุคคล ในชาวตะวันตกพบว่าภาวะดีไดเมอร์สูงภายหลังหยุดยาต้านการแข็งตัวของเลือดเป็นเวลา 1 เดือน พบร้อยละ 37 และมีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำซ้ำที่จำเป็นต้องได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลเรื่องระดับดีไดเมอร์และอัตราการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำซ้ำภายหลังหยุดยาต้านการแข็งตัวของเลือดในประเทศไทย วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า โดยศึกษาในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำครั้งแรกทั้ง หลอดเลือดดำชั้นลึกอุดตันที่ขาหรือลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดงที่ปอด ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างน้อย 3 เดือน ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2556 โดยไม่รวมผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง การตรวจภาวะดีไดเมอร์ภายหลังหยุดยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ 4 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์ การรวบรวมข้อมูลในแง่ ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ, ร้อยละระยะเวลาที่ INR ได้ตามเป้าหมาย, ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติ, การเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำซ้ำและภาวะแทรกซ้อนการเกิดภาวะเลือดออก ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 37 ราย ค่ามัธยฐานอายุ 49 ปี (พิสัยระหว่าง 21 ถึง 95 ปี) เป็นผู้ป่วยหญิง ร้อยละ 59.5 พบโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำครั้งแรกโดยไม่มีปัจจัยกระตุ้น ร้อยละ 59.5 ได้รับการวินิจฉัยเป็นหลอดเลือดดำชั้นลึกอุดตันที่ขาและ ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดงที่ปอด ร้อยละ 78.4 และ 10.8 ตามลำดับ ระยะเวลาในการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ 3 และ 6 เดือน เท่ากับ ร้อยละ 21.6 และ 78.4 ตามลำดับ ระยะเวลาที่ระดับค่าการแข็งตัวของเลือดอยู่ในเป้าหมายร้อยละ 61 ภาวะแทรกซ้อนเลือดออกร้อยละ 16.2 ความชุกของภาวะดีไดเมอร์สูง (> 500 นก/มล) หลังหยุดยาต้านการแข็งตัวของเลือดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ร้อยละ 52.9 ความแตกต่างของภาวะดีไดเมอร์สูงที่ 1 และ 3 เดือนภายหลังหยุดยาต้านการแข็งตัวของเลือดเท่ากับร้อยละ 12.5 จากข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย พบว่าการใช้ยาคุมกำเนิดขณะวินิจฉัยโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำมีความสัมพันธ์กับภาวะดีไดเมอร์ปกติหลังหยุดยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =0.01). ค่ามัธยฐานเวลาติดตามภายหลังหยุดยาเท่ากับ 13 สัปดาห์ (พิสัยระหว่าง 3 ถึง 61 สัปดาห์) อัตราการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำซ้ำในผู้ป่วยภาวะดีไดเมอร์สูงกับปกติ เท่ากับร้อยละ 11.1 กับ ร้อยละ 0 ตามลำดับ (p = 0.17). สรุปผลการศึกษา : ภาวะดีไดเมอร์สูงหลังหยุดยาต้านการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยไทยพบได้บ่อย การนำมาใช้ในการทำนายการเกิดโรคซ้ำยังคงต้องติดตามผลในระยะยาว |
Other Abstract: | Background: The optimal duration for anticoagulant therapy after the first episode of unprovoked venous thromboembolism (VTE) needs to weigh the recurrent risk against the bleeding risk in individual patient. In Caucasians, a high D-dimer level, measured at 1 month after stopping anticoagulant, is found in 37% and associated with a high VTE recurrent rate requiring long-term anticoagulation. However, there has been no data on the D-dimer levels and recurrent rate after stopping anticoagulants in Thailand. Methods: We prospectively collected data on all patients with the first episode of proximal deep vein thrombosis (DVT) and/or pulmonary embolism (PE) receiving anticoagulant therapy for at least 3 months at King Chulalongkorn Memorial Hospital between January 2013 and December 2013 were enrolled. Patients with active cancer were excluded. The D-dimer levels at 4 and 12 weeks after discontinuation of anticoagulant therapy were determined. The data on VTE risk factors, the percentage of time within therapeutic of INR, thrombophilia profile (protein C, protein S, antithrombin levels and lupus anticoagulants), recurrent VTE and hemorrhagic complications were collected. Results: There were 37 subjects participating in the study. The median age was 49 years, ranging from 21 to 95 years, and 59.5% of them were female. The VTEs were unprovoked in 59.5%. Twenty nine (78.4%) cases were DVT, followed by PE (10.8%) and DVT with PE (5.4%). The durations of anticoagulants were 3 and 6 months in 21.6% and 78.4%, respectively. The median time in therapeutic INR was 61%. Hemorrhagic complications were found in 16.2% (2 major bleedings, and 4 clinically relevant non-major bleedings). The prevalence of high D-dimer levels (≥ 500 ng/ml) at 4 weeks after stopping anticoagulants was 52.9% (18/34). The discrepancy of D-dimer levels at 1 and 3 months after stopping anticoagulant were found in 12.5%. Among patient characteristics, only contraceptive pill uses at the onset of VTE was significantly associated with normal D-dimer after stopping anticoagulant (p =0.01). The median follow-up after stopping anticoagulants was 13 weeks, ranging from 3 to 61 weeks. The VTE recurrent rates were 11.1% vs. 0% for patients with high vs. normal D-dimer levels, respectively (p = 0.17). Conclusion: The prevalence of an elevated D-dimer level after stopping anticoagulant therapy in Thai patients was high. Its predictive role remains to be determined using a longer follow-up time. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43486 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.950 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.950 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574147730.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.