Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4352
Title: กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน : ศึกษาเฉพาะกรณีอำนาจของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กับคณะกรรมการธุรกรรม
Other Titles: Law on control of money laundering : a study of the Authority of the Money Laudering Control Committee and Monetary Affairs Committee
Authors: บุญเลิศ สันทัดอนุวัตร
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การฟอกเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
สถาบันการเงิน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในสภาวะการณ์ปัจจุบัน ปัญหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบของการฟอกเงินนั้น นับวันจะทวีความรุนแรงและเป็นภัยอันใหญ่หลวง ที่คุกคามต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการยับยั้งการก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และเสริมสร้างให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศไทยจึงได้ตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ขึ้น พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 นี้ได้จัดให้มีองค์กรหลักที่ดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการ และมีบทบาทสำคัญในการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายอยู่ 2 องค์กร คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งเป็นองค์กรในระดับบริหารที่มีภาระหน้าที่หลัก ในการวางนโยบายและมาตรการในการบังคับใช้กฎหมาย กับคณะกรรมการธุรกรรมซึ่งเป็นองค์กรในระดับปฏิบัติการ ที่มีหน้าที่หลักในการบังคับใช้กฎหมาย โดยการตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และมีคำสั่งในการยับยั้งการทำธุรกรรม ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าธุรกรรมใด เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน หรือในกรณีที่ธุรกรรมนั้นมีหลักฐานเป็นที่เชื่อถือได้ว่า เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด รวมทั้งการมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ในกรณีที่หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจจะมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินใดที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้น ได้ชั่วคราวไม่เกิน 90 วัน เป็นต้น นอกจากนี้ในประเด็นของการบังคับใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีมาตรการทางกฎหมายบางประการ ที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมาก ดังนั้นจึงมีประเด็นปัญหาว่า ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 นี้ ได้มีการจัดรูปแบบขององค์กร รวมทั้งได้มีมาตรการในการกำกับดูแลหรือควบคุมการใช้อำนาจ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้อย่างเหมาะสมเพียงใด และมาตรการทางกฎหมายดังกล่าวนั้นเป็นการขัดต่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 หรือไม่อย่างไร ผลจากการศึกษาค้นคว้าพบว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งเป็นองค์กรในระดับบริหารนั้นมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพิ่มเติมมติ คำสั่ง หรือมอบหมายให้คณะกรรมการธุรกรรม ซึ่งเป็นองค์กรในระดับปฏิบัติการดำเนินการอื่นใดก็ได้ อันเป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการธุรกรรม และเป็นการสร้างดุลย์การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่องค์กรรัฐ นอกจากนี้ลักษณะของโครงสร้างของคณะกรรมการ คุณสมบัติของผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง วาระในการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งกรรมการขององค์กรทั้ง 2 นั้นจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดและมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการใช้อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ส่วนกรณีเรื่องการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นสามารถที่จะกระทำได้โดยไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญทั้งนี้ภายใต้กรอบแห่งหลัก "นิติรัฐ" และนอกจากนี้ในกรณีที่คณะกรรมการธุรกรรมได้มีคำสั่งยับยั้งการทำธุรกรรม หรือมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้นถือได้ว่าเป็นคำสั่งทางปกครองตามหลักกฎหมายมหาชนจากข้อสรุปดังกล่าวข้างต้นผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 โดยให้ผู้ทำธุรกรรมหรือผู้เสียหายได้มีสิทธิโต้แย้งคัดค้านคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐตามบทบัญญัติในมาตรา 35 และมาตรา 36 พร้อมกับเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 59 เรื่องเขตอำนาจศาลโดยให้การคัดค้านคำสั่งทางปกครองดังกล่าวข้างต้นอยู่ภายใต้อำนาจของศาลเดียวกันกับกรณีการมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามบทบัญญัติในมาตรา 48 รวมทั้งแก้ไขถ้อยคำจากคำว่า "ศาลแพ่ง" มาเป็น"ศาลส่วนแพ่ง" เพื่อให้การดำเนินงานในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินนั้นมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงโดยอยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลทั่วประเทศ
Other Abstract: At present, the economic crime in the form of money laundering tends to be more and more severe and threatening to the stability of the economy. In order to solve the above-mentioned problem through the suppression of economic crime and to reinforce the stability of the national economy, Thailand passed the Act for Prevention and Suppression of Money Laundering B.E. 2542. The B.E. 2542 Act set up the major organization which functions 2 committees that has important role in enforcing legal measures. They are the Money Laundering Control Committee which is an administrative organ in setting policy and measures for the law enforcement, and the Monetary Affairs Committee which is an operational organ in enforcing law as its major function through overseeing transaction and property related to infraction and issuing order to stop transaction when there is a reasonable doubt that the transaction is related to money laundering infraction or when there is reliable evidence that it is related to such infraction. Inaddition, it may issue writ to seize or freeze property when there is reasonable evidence that there shall be a transfer, disposal, movement, concealment, or hiding of property related to the infraction to a provisional effect of 90 days. Moreover, in enforcing the law, the Act has provided several legal measures which may affect the right and liberty of the general public in a severe manner. It is therefore concerned that in enforcing the B.E. 2542 Act there should be sufficient organizational mechanism and measure to monitor or control the exercise of power done by the official and to ensure that the legal measures are not violating the B.E. 2540 Constitution. The study finds the Money Laundering Control Committee as provided by the B.E. 2542 Act to be an administrative organ empowered to change, to amend resolution or order or to delegate to the Monetary Affairs Committee to carry out any other matter as long as it is related to its function and strike a balance of power of the state's officials. The structure, qualifications of commissioner, duration of office and the exit of the commissioner of the two organs do vary in details and seem to be correspondent to the powers given by the law. As to the enforcement of legal measures which may affect the right and liberty of the people, it can be carried out without violating the constitution by adhering to the rule of law. Apart from that, the order of the Monetary Affairs Committee to halt a transaction or to seize or freeze property related to infraction is nothing less than an administrative act. From the above-mentioned conclusion, the author would like to propose a revision of the B.E. 2542 Act to the effect that the transactor or the affector may raise an objection to the administrative act issued by the officials under section 35 and 36, and also propose a revision of section 59 on the jurisdiction by putting the objection under the same jurisdiction of the case of seizure or freezing of property under section 48. The author also would like to propose anamendment to the wording from "Civil Court" to become "Civil Matter Court" to enable the prevention and suppression of money laundering to have high mobility and efficiency by putting them under the jurisdiction of courts throughout the country.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4352
ISBN: 9741313306
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonlerd.pdf9.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.