Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43967
Title: | บทบาทและอำนาจหน้าที่ทางกฎหมายขององค์กรศาสนาคริสต์ในประเทศไทย |
Other Titles: | LEGAL ROLE AND AUTHORITY OF THE CHRISTIAN ORGANIZATIONS IN THAILAND |
Authors: | พรสรร สิงห์ชัย |
Advisors: | มานิตย์ จุมปา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | manit_j@yahoo.com |
Subjects: | องค์กรคริสต์ศาสนา -- ไทย องค์กรคริสต์ศาสนา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบบทบาท อำนาจหน้าที่ และสถานะทางกฎหมายขององค์กรศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ ในประเทศไทย กับองค์กรศาสนาพุทธและองค์กรศาสนาอิสลามในประเทศไทย ตลอดจนองค์กรศาสนาในต่างประเทศทั้งประเทศที่มีและไม่มีกฎหมายกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรศาสนาไว้เป็นการเฉพาะ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายหลายฉบับในปัจจุบันจะมีบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพทางศาสนา รวมทั้งรับรองสิทธิและหน้าที่ขององค์กรศาสนาในประเด็นต่าง ๆ ไว้เป็นการทั่วไป ตลอดจนมีการตรากฎหมายกำหนดบทบาท อำนาจหน้าที่ และสถานะทางกฎหมายขององค์กรศาสนาพุทธ องค์กรศาสนาอิสลาม และองค์กรศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ในประเทศไทยไว้เป็นการเฉพาะก็ตาม แต่ในทางกลับกันก็สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของรัฐในการควบคุมหรือมีส่วนร่วมกับการบริหารจัดการภายในองค์กรศาสนาผ่านการใช้อำนาจที่ได้รับตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งขัดต่อแนวความคิดเกี่ยวกับการแยกศาสนจักรออกจากอาณาจักร อีกทั้งเกิดปัญหาเกี่ยวกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ทางกฎหมายขององค์กรศาสนาคริสต์ในประเทศไทย ทั้งปัญหาการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ปัญหาการจัดการศึกษา ปัญหาการตีความองค์กรศาสนาคริสต์ในประเทศไทยเป็นองค์กรต่างประเทศ และปัญหาการเสนอกฎหมายว่าด้วยการบริหารองค์กรศาสนาคริสต์ในประเทศไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจากทั้งบทบัญญัติแห่งกฎหมายและการตีความทางกฎหมายของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น หากไม่มีกฎหมายบัญญัติให้รัฐเข้ามาควบคุมการดำเนินงานขององค์กรศาสนาคริสต์ในประเทศไทย จะเป็นหลักประกันเสรีภาพทางศาสนาให้องค์กรเหล่านี้สามารถดำเนินงานทางศาสนา รวมทั้งดำเนินงานเพื่อสาธารณกุศลและสาธารณประโยชน์ต่อสังคมไทยโดยส่วนรวมได้เต็มศักยภาพ ขณะเดียวกัน รัฐยังคงมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองการดำเนินงานขององค์กรศาสนาคริสต์ในประเทศไทยให้มีความเป็นอิสระ ตลอดจนมีสิทธิและเสรีภาพในประเด็นต่าง ๆ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายอื่นบัญญัติรับรองไว้อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การพิจารณาอนุญาตให้อัครมุขมณฑลมีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อประโยชน์ของโบสถ์คาทอลิกแต่ละแห่งได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนยกเว้นให้นิติบุคคลประเภทองค์กรศาสนามีสิทธิขอรับใบอนุญาตจัดตั้งหรือรับโอนโรงเรียนได้ แม้ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาโดยตรงก็ตาม ประกาศรับรองฐานะให้องค์กรศาสนาคริสต์ในประเทศไทยเป็นองค์การศาสนาที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของทางราชการตามคำร้องขอขององค์กรนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่ชัดเจนและครอบคลุมการดำเนินงานทุกด้านในปัจจุบัน พิจารณาตรากฎหมายหรือกฎเพื่อรับรองสิทธิประโยชน์ ส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองการดำเนินงานขององค์กรศาสนาคริสต์ในประเทศไทย รวมถึงพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดบทบาท อำนาจหน้าที่ และสถานะทางกฎหมายขององค์กรศาสนาคริสต์ในประเทศไทยไว้ในรูปแบบของกฎหมายลายลักษณ์อักษร |
Other Abstract: | This thesis is focused on studying the role, the authority and the legal status of the Christian organizations such as Roman Catholic and Protestant in Thailand, in comparisons with the Buddhist and Islamic organizations in Thailand as well as with religious organizations in other countries where there are either specific laws regarding the role and authority of these organizations or not. This study shows that in Thailand, there are several laws including the Constitution of the Kingdom of Thailand and other statutes, which generally protects the religious rights and freedom as well as recognizes the rights and duties of religious organizations. Furthermore, the specific law has been implemented to regulate the role, the authority and the legal status of the Buddhist, Islamic and Roman Catholic organizations in Thailand. Having this specific law, the State has the power to control and interfere with the internal administration of these organizations, this of which comes to contrary with the concept on the separation of church and state. Moreover, many problems and impediments related to the role and authority of the Christian organizations in Thailand could be raised such as the problems on land ownership, educational management, interpretation of Christian organizations in Thailand as foreign organizations and the problem on introduction of the Bill on Christian organizations administration. These problems are mainly driven by the provisions of the law and legal interpretation by the relevant government agencies or officials. Therefore, if the law does not empower the State to control the administration of the Christian organizations in Thailand, it would then guarantee freedom of religion for these organizations to perform religious, charity and other public interest works for the benefit of the whole society. However, at the mean time, the State still has a duty to promote, encourage and protect the administration of the Christian organizations in Thailand in order to ensure the independence of these organizations and have concrete rights and freedom as recognized by the Constitution of the Kingdom of Thailand and other laws. For example, the permission should be granted on the archdioceses to be the landowner of each of the Roman Catholic church according to the Land Code and the law on private school should be amended to allow the religious corporations with no educational purpose to have licensed for establishing or transfering schools in exceptional cases. In addition, it should be recognized Christian organizations in Thailand as state-sponsored religious organizations at the organizations’ request as well as specifying the clear purpose of the administration and cover all current works. Finally the law or regulation should be implemented to promote, encourage and protect the Christian organizations in Thailand and as well as to consider the reasonableness for implementation of the laws on the role, the authority and the legal status of the Christian organizations in Thailand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43967 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1420 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1420 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5586008134.pdf | 10.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.