Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44359
Title: | ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุตั้งแต่ 50 – 60 ปี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Prevalence of depression and related factors among enterprise employees aged 50 – 60 years, CAT Telecom Public Company Limited in Bangkok |
Authors: | จีรนันท์ บุญนาวา |
Advisors: | ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Siriluck.S@Chula.ac.th |
Subjects: | จิตวิทยาอุตสาหกรรม ลูกจ้าง -- จิตวิทยา ความซึมเศร้า บริษัท กสท โทรคมนาคม -- ลูกจ้าง -- จิตวิทยา Psychology, Industrial Employees -- Psychology Depression, Mental CAT Telecom -- Employees -- Psychology |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุตั้งแต่ 50 – 60 ปี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 403 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคล แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย แบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิท ฉบับผู้ใหญ่ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของแบรน์และไวเนอร์ และแบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับ ทำการวิเคราะห์หาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านต่าง ๆ โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.673 (Cronbach’s alpha coefficients )และปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในระดับเศร้าปกติถึงเศร้ารุนแรง โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษาพบว่า คะแนนความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยเฉลี่ยของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุตั้งแต่ 50 – 60 ปี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 403 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาะซึมเศร้าเล็กน้อยจำนวน 30 คน ซึ่งมีความชุกร้อยละ 7.4 ของกลุ่มตัวอย่าง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มีความเที่ยงตรง และความน่าเชื่อถือ ในระดับที่ยอมรับได้มีค่าสัมประสิทธ์อัลฟ่า ของครอนบัค (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ 0.673 และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อภาวะซึมเศร้าได้แก่ เพศ อายุ รายได้ โรคประจำตัว และการสนับสนุนทางสังคมในระดับนัยสำคัญ (p<0.05) การสนับสนุนทางสังคม (p<0.05) เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | The purpose of this cross-sectional descriptive study was to the objective was to determine the prevalence of depression and related factors in enterprise employees aged 50 to 60 years, the company CAT Telecom Public Company Limited in Bangkok, the 403 queries by using the personal data. Sadly, in the measurement of the Elders of Thailand. A measure of self-esteem in the adult questionnaire, Cooper Smith's Brae Social Support Centre and Weiner. Questionnaire and sleep quality. Analyzed the prevalence of depression and related factors in various fields by using the chi-square test. After logistic regression analysis to determine the prevalence and predictors of depression Depression is a sad, sad, intense level. Determine statistical significance at the 0.05 level. The results showed that Points, the prevalence of depression and related factors average enterprise employees aged 50 to 60 years, the company CAT Telecom Public Company Limited in Bangkok, the 403 is 0.4 and the standard deviation is 0.49 prevalence. of depression calculated (prevalence by proxy) 10.5 percent were risk factors for three factors correlated significantly with depression is sex female to depression than men, and positions. the professional and social support (p <0.05) were the factors associated with depression statistically significant. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44359 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.584 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.584 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chiranan_bu.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.