Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4436
Title: การศึกษาระยะเวลาก่อนที่ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดหรือการขยายหลอดเลือดแดงโคโรนารีด้วยบอลลูนโดยการใช้แนวทางลัด
Other Titles: Effects of fast track system on door to balloon time and door to needle time for acute myocardial infarction patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: กิตติชัย วรโชติกำจร
Advisors: ถาวร สุทธิไชยากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Taworn.S@Chula.ac.th
Subjects: กล้ามเนื้อหัวใจตาย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้นำระบบ fast track มาใช้ที่ห้องฉุกเฉิน เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันตั้งแต่มิถุนายน 2542, ระบบนี้มีบุคลากรหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องและต้องทำทั้งในและนอกเวลาราชการ การศึกษานี้ต้องการประเมินการใช้ระบบ fast track ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยเปรียบเทียบค่า door to balloon time และ door to needle time ก่อนและหลังการใช้ระบบนี้ โดยมีผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เข้าในการศึกษาหลังการใช้ระบบ fast track จำนวน 40 ราย (มิถุนายน 2542-กันยายน 2543) ซึ่งได้ทำ primary angioplasty จำนวน 28 ราย ได้ยาละลายลิ่มเลือด streptokinase จำนวน 12 ราย ส่วนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่อยู่ในกลุ่มควบคุมประกอบด้วย historical control-primary angioplasty group ฒี 23 ราย (สิงหาคม 2538-พฤษภาคม 2542) historical control-streptokinase group มี 17 ราย (พฤศจิกายน 2535-ตุลาคม 2536) หลังการใช้ระบบ fast track door to needle time ลดลงจาก 169.1+-96.9 นาที เป้น 79.5+-22.4 นาที (P=0.001) door to balloon time ลดลงจาก 164.7+-117.5 นาที เป็น 129.3+-64.5 นาที (P=0.6), ในกลุ่มที่ใช้ระบบ fast track door to balloon time ในผู้ป่วยที่ทำ primary angioplasty ในเวลาราชการและนอกเวลาราชการมีความแตกต่างกัน (85.9+-26.1 นาที VS 179.4+-59.1 นาที, P<0.001), หลังการใช้ระบบ fast track เวลาที่ใช้ในการตามเจ้าหน้าที่ห้องสวนหัวใจมาเปิดห้องสวนหัวใจเท่ากับ 55.8+-43.8 นาที และเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาที่ห้องฉุกเฉินจนได้รับการตัดสินใจทำ primary angioplasty เท่ากับ 68.4+-42.8 นาที สรุป ผลการศึกษาแสดงว่าหลังจากใช้ระบบ fast track ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทำให้ door to needle time ลดลงแต่ยังสูงกว่าเป้าหมายทั่วไปที่ตั้งไว้คือ 30 นาที การให้ยาละลายลิ่มเลือดที่ห้องฉุกเฉินจะช่วยทำให้ค่า door to needle time ลดลง, ส่วน door to balloon time ไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังใช้ระบบ fast track ซึ่งอาจมีสาเหตุจาก 1. ความล่าช้าในการวินิจฉัยผู้ป่วยอันเนื่องมาจากวินิจฉัยผิดในเบื้องต้น 2. ความล่าช้าในการเปิดห้องสวนหัวใจของเจ้าหน้าที่ห้องสวนหัวใจเนื่องจากการเดินทาง 3. ความล่าช้าของขั้นตอนต่างๆ ที่ห้องฉุกเฉิน 4. รวมผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน การดำเนินการตามแนวทางของระบบ fast track อย่างสม่ำเสมอโดยมีการประเมิน door to balloon time เป็นระยะๆ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ร่วมกับการให้มีการอยู่เวรนอกเวลาของเจ้าหน้าที่ห้องสวนหัวใจจะช่วยแก้ปัญหา door to balloon time ที่ล่าช้าได้
Other Abstract: Background : The concept of early reperfusion has been accepted for the better treatment outcome of acute myocardial infarction. To shorten the time lag period for the management of the patients, King Chulalongkorn Memorial Hospital has implemented fast track system since June, 1999. Objective : To evaluate the impact of the fast track system on treatment outcome of acute myocardial infarction by comparing door to balloon time and door to needle time of the fast track group with those of the conventional group. Patients & Methods : We conducted a prospective study enrolling consecutive 40 acute myocardial infarction patients presented at emergency room during June 1999-September 2000 (28 for primary angioplasty, 12 for streptokinase). The historical data of 40 patients were retrospectively analyzed (23 for primary angioplasty, 17 for streptokinase) for comparing door to balloon time and door to needle time. Results : Mean door to needle time was significantly shortened by the fast track system (79.5+-22.4 minutes VS 169.1+-96.9 minutes, p=0.001) but mean door to balloon time was not different from that of conventional system (129.3+-64.5 minutes VS 164.7+-117.5 minutes, p=0.6), After implementation of the fast track system, mean door to balloon time during office hours was significantly less than that during nonoffice hours (85.9+-26.1 minutes VS 179.4+-59.1 minutes, p<0.001). Mean cath lab team assembled time and mean door to decision time (to perform primary angioplasty) after implementation of the fast track system were 55.8+-43.8 minutes and 68.4+-42.8 minutes respectively. Conclusion: Although door to needle time was shortened by the fast track system, it was not less enough since streptokinase should be administered within 30 minutes from the time patients enter emergency room. Streptokinase administration at emergency room would be beneficial for early reperfusion. Causes of delay door to balloon time were 1. prolonged cath lab team assembled time 2. delayed diagnosis of acute myocardial infarction 3. prolonged door to decision time 4. enrolled complicated cases that need additional intervention before angioplasty. Correction of the above causes will shorten the door to balloon time.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4436
ISBN: 9741303521
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittichai.pdf795.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.