Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44364
Title: ผลของการใช้ยาซิลอสตาซอลต่อการหนาตัวของหลอดเลือดชั้นอินทิมาในหนูทดลองที่มีภาวะไตวายระยะเริ่มแรก
Other Titles: EFFECTS OF CILOSTAZOL ADMINISTRATION ON INTIMAL HYPERPLASIA IN EARLY STAGE OF POST-ISCHEMIC/ REPERFUSION CHRONIC KIDNEY DISEASE MICE MODEL
Authors: วิวัฒน์ จันเจริญฐานะ
Advisors: สมชาย เอี่ยมอ่อง
ขจร ตีรณธนากุล
อัษฎาศ์ ลีฬหวนิชกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Somchai.E@chula.ac.th
Khajohn.T@chula.ac.th
Asada.L@chula.ac.th
Subjects: ไมโครอาร์เอ็นเอ
หลอดเลือด -- โรค
หลอดเลือด -- ลกระทบจากยา
ไตวายเรื้อรัง
MicroRNA
Blood-vessels -- Diseases
Blood-vessels -- Effect of drugs on
Chronic renal failure
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ภาวะการหนาตัวของหลอดเลือดชั้นอินทิมาเป็นปัญหาสำคัญของการเกิดปัญหาหลอดเลือดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะไตเรื้อรัง ที่ผ่านมามีการศึกษาหาวิธีรักษาปัญหาดังกล่าวมากมาย แต่ยังไม่พบว่าประสบความสำเร็จ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการรักษามักกระทำในระยะท้ายของโรค การศึกษานี้จึงทำการทดลองในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไตเรื้อรังขึ้น เพื่อศึกษาผลของการให้ยาซิลอสตาซอลที่มีต่อการหนาตัวของหลอดเลือดชั้นอินทิมาในหนูทดลองที่มีภาวะไตวายระยะเริ่มแรก โดยวัดผลจากลักษณะทางพยาธิสภาพของหลอดเลือด ระดับไมโครอาร์เอนเอในเนื้อเยื่อ และระดับไซโตคายน์ในเลือด วิธีการศึกษา: หนูสายพันธุ์ ซีดี-1 จำนวน 24 ตัวจะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไตเรื้อรัง โดยการหนีบและปล่อยหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงไตซ้ายเป็นเวลา 50 นาที หลังจากนั้นอีกหนึ่งสัปดาห์จะทำการตัดไตขวา หนูที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มเท่าๆ กัน กลุ่มละ 12 ตัว เพื่อให้ยาซิลอสตาซอลขนาด 20 มก/กก/วัน นาน 20 สัปดาห์ หรือได้รับยาหลอก หนูทั้งหมดจะถูกการทำการุณฆาตเพื่อนำหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา และเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อศึกษาลักษณะทางพยาธิสภาพ ไมโครอาร์เอนเอ และระดับไซโตคายน์ ผลการศึกษา: โมเดลการเหนี่ยวนำให้หนูทดลองเกิดภาวะไตเรื้อรังที่ใช้ในการศีกษานี้ สามารถทำให้เกิดภาวะไตเรื้อรังได้เป็นอย่างดี และจากการศึกษาพยาธิสภาพของหลอดเลือดในหนูกลุ่มที่ได้รับยาซิลอสตาซอล พบว่ามีพื้นที่ของชั้นอินทิมาน้อยกว่าหนูกลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (150,348&plusmn;5,669 เทียบกับ 109,020&plusmn;22,380 ตารางไมครอน, p<0.01) และมีระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอนเอ-143 และไมโครอาร์เอนเอ-145 ในเนื้อเยื่อหลอดเลือดที่มากกว่าหนูกลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (0.33&plusmn;0.1 เทียบกับ 0.10&plusmn;0.08 (p=0.025) and 0.36&plusmn;0.1 เทียบกับ 0.20&plusmn;0.05 (p=0.03) ในหนูกลุ่มที่ได้รับยาซิลอสตาซอล และหนูกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ตามลำดับ ในขณะที่ระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอนเอ-221 ในหลอดเลือดของหนูกลุ่มที่ได้รับยาซิลอสตาซอล ต่ำกว่าในเนื้อเยื่อหลอดเลือดของหนูกลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (-0.11&plusmn;0.05 เทียบกับ 0.22&plusmn;0.03 (p=0.0048)) ทั้งหมดนี้ สอดคล้องกับข้อมูลที่พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับยาซิลอสตาซอลมีระดับสารอะซิมเมติคอล ไดเมทธิวอาร์จีนีน (เอดีเอ็มเอ) และสารไซโตคายน์วาสคิวลาร์เอนโดทีเลียล โกทแฟกเตอร์ (วีอีจีเอฟ) ในเลือดน้อยกว่าหนูกลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.82&plusmn;0.2 เทียบกับ 1.44&plusmn;0.2 ไมโครโมล (p<0.01) และ 277.1&plusmn;156.9 เทียบกับ 634&plusmn;191.8 (p<0.0001) ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของสารไซโตคายน์เพลตเลทดีไรฟ์โกทแฟกเตอร์ (พีดีจีเอฟ) ระหว่างหนูทั้งสองกลุ่ม สรุปผลการศึกษา: ยาซิลอสตาซอลมีผลลดการหนาตัวของหลอดเลือดชั้นอินทิมาในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไตเรื้อรัง โดยสัมพันธ์กับการลดลงของระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอนเอ-221 สารเอดีเอ็มเอ และสารไซโตคายน์วีอีจีเอฟ และสัมพันธ์กับการเพิ่มระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอนเอ-143 และ ไมโครอาร์เอนเอ-145
Other Abstract: Background: Intimal hyperplasia (IH) is the Achillis of heal in vascular diseases especially in chronic kidney disease (CKD) state. Despite a prodigious investigation, there is no effective strategy to overcome IH that might be due to the late intervention. Herein, we conducted the experimental animal study to determine the effects of cilostazol on IH in the early stage of CKD through vascular pathology as well as tissue micro-RNAs (miRNAs) and vascular smooth muscle cells (VSMCs)-related plasma cytokines. Methods: Twenty four CD-1 mice underwent ischemic-reperfusion injury of left renal artery bundle for 50 minutes and subsequent right nephrectomy at one week later. After induction of this novel chronic ischemic reperfusion (Chr/IR) &ndash; CKD model, the animals were randomly divided into the cilostazol (CZ)-treated group (30 mg/kg/day via intragastric administration, N=12) and the placebo (PB) group (equal volume saline via intragastric administration, N=12). At the end of the study (20 weeks), the aorta was retrived to analyze the degree of IH and miRNAs. Venous blood was obtained to analyze creatinine, asymmetrical dimethylarginine (ADMA), platelet-derived growth factor (PDGF), and vascular endothelial growth factor (VEGF). Results: The present novel Chr/IR &ndash; CKD model was demonstrated as a good model for CKD study. Compared with the PB group, a significantly decreased in IH area was noted in CZ-treated group (150,348±5,669 &mu;m2 vs 109,020±22,380 &mu;m2, p<0.01, respectively). Regrading to tissue miRNA expression, miRNA-143 and miRNA-145 had significantly increased expression in the tissue while miRNA-221 showed significantly decreased. The average fold change of miRNA-143 and miRNA-145 were 0.33&plusmn;0.1 vs 0.10&plusmn;0.08 (p=0.025) and 0.36&plusmn;0.1 vs 0.20&plusmn;0.05 (p=0.03) in CZ-trated group and PB group, respectively. The average fold change of miRNA-221 was -0.11±0.05 vs 0.22±0.03 (p=0.0048) in CZ-trated group and PB group, respectively. This finding consistent with the lower plasma ADMA and VEGF in CZ-treated group than in PB group. The mean of plasma ADMA and VEGF level was 0.82&plusmn;0.2 vs 1.44&plusmn;0.2 &mu;M (p<0.01) and 277.1±156.9 vs 634±191.8 (p<0.0001), respectively. However, we found no significant difference of PDGF between both groups. Conclusion: CZ played a significant role as anti-IH in the Chr/IR-CKD mice model via attenuated the tissue expression of miRNA-221, plasms ADMA and VEGF along with enhanced the expression of miRNA-143 and miRNA-145.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44364
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.457
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.457
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5474923230.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.