Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44833
Title: บทบาทของประชาชนในการจัดการร่วมด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนุญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
Other Titles: Roles of people in environmental co-management in the constitution of Kingdom of Thailand B.E.2550
Authors: ภาคภูมิ พันธุ์รัตน์
Advisors: คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kanongnij.S@Chula.ac.th
Subjects: การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
การจัดการสิ่งแวดล้อม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
รัฐธรรมนูญ -- ไทย
Natural resources -- Management -- Citizen participation
Environmental management -- Citizen participation
Constitutions -- Thailand
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องบทบาทของประชาชนในการจัดการร่วมด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นการศึกษาเพื่อทำการตรวจสอบความมีอยู่ของการจัดการร่วมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพื่อตรวจสอบความมีอยู่ของบทบาทของประชาชนในการนำหลักการจัดการร่วมมาใช้บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในรัฐธรรมนูญ กฎหมายอื่นๆ และในทางปฏิบัติ ผลของการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550มาตรา 66 ได้มีการนำเอาหลักการจัดการร่วมมาบัญญัติเอาไว้ แต่ยังไม่มีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติฉบับใดที่นำเอาหลักการจัดการร่วมมาบัญญัติไว้ เพื่อใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนในระดับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชนและท้องถิ่น รัฐ ชุมชนและท้องถิ่นได้มีการนำหลักการในการจัดการร่วม (Co-Management) มาปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในหลายมิติ เช่น การจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่ง การจัดการทรัพยากรป่าไม้และการจัดการทางด้านชลประทาน โดยปัจจัยที่ทำให้การจัดการร่วมในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นประสบผลสำเร็จ คือ การที่รัฐให้การยอมรับสิทธิของชุมชนและเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนและท้องถิ่นสามารถเข้ามามีบทบาทเป็นหุ้นส่วนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
Other Abstract: The Thesis on Roles of People of Environment Co-Management in The Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 is the study to review the existance of the co-management in such Constitution and other laws relating to the management of Natural Resources and Environment and in order to review the existance of the role of people to apply the co-management principle to manage the natural resources and environment in Constitution, other laws and in practice. The result of studying is that the Co-Management Principle has been recognized in Article 66 of the Constitution of the Kingdom of Thailand. However, there is no any law recognizing the aforementioned principle in order to manage the natural resources and environment. For the management of community or local natural resources and environment, the State, community and local had applied the Co-Management principle to implement for management of natural resources and environment in various dimensions, for example, the management of coastal fisheries resources, forest resources and irrigation. The co-management of natural resources and environment will be successful when the State recognizes the community rights and give the chance to people in the community to participate as partner in order to jointly manage the natural resources and environment.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44833
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1645
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1645
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phakphum_ph.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.