Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45012
Title: อัตราการตรวจพบการแสดงออกของยีนเอสเอฟทีพีบีและยีนเคอาร์ทีโฟร์ทีนโดยวิธีอิมมูโนฮิสโทรเคมิสทรีในเนื้อเยื่อมะเร็งชนิดสความัสของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด กับ มะเร็งศีรษะและคอ
Other Titles: Detection rate of SFTPB and KRT14 expression by immunohistochemistry method in squamous cell carcinoma of lung and head-neck cancer tissue
Authors: ณัฏยา ภู่วรวรรณ
Advisors: วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: vsmdcu40@gmail.com
Subjects: ปอด -- มะเร็ง
ศีรษะ -- มะเร็ง
Lungs -- Cancer
Head -- Cancer
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา โรคมะเร็งศีรษะและคอชนิดสความัสกับโรคมะเร็งปอดชนิดสความัสสามารถเกิดร่วมกันได้โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีประวัติสูบบุหรี่มาก ในขณะเดียวกันรอยโรคมะเร็งสความัสในปอด อาจเกิดจากการแพร่กระจายมาจากมะเร็งศีรษะและคอได้ จึงเป็นปัญหาที่สำคัญทางคลินิก มีผลต่อแนวทางการรักษาและการพยากรณ์ของโรค แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการที่เป็นมาตราฐาน สะดวกและเหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยเพื่อ วินิจฉัยแยกโรคทั้งสองนี้ออกจากกัน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการแสดงออกของยีนเอสเอฟทีพีบีและยีนเคอาร์ทีโฟร์ทีนโดยวิธีอิมมูโนฮิสโทรเคมิสทรีในเนื้อเยื่อมะเร็งชนิดสความัสของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด กับ มะเร็งศีรษะและคอ วิธีการศึกษา ทำการศึกษาแบบย้อนหลังโดยรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบชิ้นเนื้อของผู้ป่วยโรคมะเร็งสความัสของปอดกับศีรษะและคอที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555 (มะเร็งปอดจำนวน 37 รายและ มะเร็งศีรษะและคอจำนวน 41 ราย) และนำมาตรวจการแสดงออกของยีนเอสเอฟทีพีบีและยีนเคอาร์ทีโฟร์ทีนโดยวิธีอิมมูโนฮิสโทรเคมิสทรี ผลการศึกษา จากผู้ป่วยมะเร็งสความัส 78ราย (มะเร็งปอดจำนวน 37 รายและ มะเร็งศีรษะและคอจำนวน 41 ราย) พบว่าอัตราการแสดงออกของยีนเคอาร์ทีโฟร์ทีนโดยวิธีอิมมูโนฮิสโทรเคมิสทรีในมะเร็งศีรษะและคอสูงถึงร้อยละ 97.6 โดยแตกต่างกับมะเร็งปอดคือ ร้อยละ 86.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.01)ในขณะที่อัตราการแสดงออกของยีนเอสเอฟทีพีบีในมะเร็งศีรษะและคอพบร้อยละ 4.9 มะเร็งปอดพบร้อยละ 8.1 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p = 0.76)เมื่อประเมินคะแนนตามปริมาณการย้อมติดสีของเคอาร์ทีโฟร์ทีนโดยเทียบเป็นสัดส่วนกับเซลล์มะเร็งในชิ้นเนื้อเดียวกันพบว่า มะเร็งศีรษะและคอมีค่าเฉลี่ยคะแนนการติดสีที่สูงกว่ามะเร็งปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือร้อยละ 70.2 ± 37.3และ 41.6 ± 38.1 ตามลำดับ (p< 0.01)เมื่อใช้เกณฑ์การติดสีที่มากกว่าร้อยละ 50 ในการแยกมะเร็งสองชนิดนี้ พบว่ามะเร็งศีรษะและคอให้ผลบวกถึงร้อยละ 65.9 มะเร็งปอดให้ผลบวกร้อยละ 29.7 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.02)อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระยะของโรคและการแสดงออกของยีนเอสเอฟทีพีบีและยีนเคอาร์ทีโฟร์ทีนโดยวิธีอิมมูโนฮิสโทรเคมิสทรี สรุปผลการวิจัย การแสดงออกของยีนเคอาร์ทีโฟร์ทีนโดยวิธีอิมมูโนฮิสโทรเคมิสทรีมีความแตกต่างกันระหว่างมะเร็งปฐมภูมิของปอดกับมะเร็งศีรษะและคอชนิดสความัส จึงอาจเป็นตัวชี้วัดทางชีวโมกุลตัวหนึ่งที่อาจนำมาใช้ในการแยกการแพร่กระจายของมะเร็งศีรษะและคอมาที่ปอดกับมะเร็งสความัสแห่งที่สองที่ปอดได้
Other Abstract: Background: Synchronous lung squamous cell carcinoma (LSCC) and head-neck squamous cell carcinoma (HNSCC) is not uncommon. Currently there is no practical standard tool to distinguish the two primary organs. Objective: To investigate the utility of detecting surfactant protein-B (SFTPB) and keratin-14 (KRT14) by immunohistochemistry (IHC) in LSCC and HNSCC tissue. Patients and methods: Seventy-eight squamous cell carcinoma tumor tissues from patients who had been diagnosed single cancer either LSCC or HNSCC (37 LSCC, 41 HNSCC) during 2007-2012 in our institute were selected. Demographic, clinical and pathological data were reviewed from hospital medical records. IHC testing for SFTPB and KRT14 were done in all recruited samples. Results: Qualitatively, detection rate of KRT14 expression by IHC in LSCC and HNSCC tissue were statistically difference 32/37(86.5%) VS 40/41(97.6%), respectively (p=0.01). However, SFTPB expressions in both cancers were similar in LSCC and HNSCC 3/34(8.1%) VS 2/41(4.9%), respectively (p = 0.76). With a semi-quantitative scoring system, HNSCC had a significantly higher mean percentage of KRT14 expression 70.2 ± 37.3%than LSCC 41.6 ± 38.1% (p< 0.01). Using the cut-off value of 50%, KRT14 expression could correctly classify HNSCC 27/41(65.9%) from LSCC 11/37(29.7%) with significant difference (p=0.02). Conclusion: Our study suggests that detection of KRT14 expression by IHC may serve as a potential biomarker to determine the primary LSCC versus lung metastatic from HNSCC.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45012
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1734
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1734
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nattaya_po.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.