Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45119
Title: การเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากการขนส่งวัสดุนิวเคลียร์และวัสดุกัมมันตรังสีในประเทศไทย
Other Titles: Remedies for loss caused by the carriage of nuclear materials and radioactive materials in Thailand
Authors: สุธิดา มานิตย์
Advisors: ชยันติ ไกรกาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Chayanti.G@chula.ac.th
Subjects: ความรับผิดสำหรับความเสียหายทางนิวเคลียร์
การขนส่ง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
สารกัมมันตรังสี -- การขนส่ง -- ไทย
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
Liability for nuclear damages
Transportation -- Law and legislation
Radioactive substances -- Transportation
Act for Promote and Maintain National Environment B.E. 2535
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การขนส่งวัสดุนิวเคลียร์และวัสดุกัมมันตรังสีอาจก่อให้เกิดอันตรายเนื่องจากการขนส่งเองหรือเกิดขึ้นจากสาเหตุของตัววัตถุเองที่มีความอันตราย ซึ่งเป็นผลให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายอันไม่อาจคาดการณ์ได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะศึกษาถึงลักษณะของความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขเยียวยาความเสียหายนั้น จากการศึกษาพบว่าหากมีความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง ถ้าเป็นความผิดของผู้ขนส่ง ผู้ขนส่งต้องรับผิดในฐานะผู้ทำละเมิด แต่ถ้าหากเกิดจากวัสดุเองผู้ขนส่งก็ยังคงมีความรับผิดในฐานะผู้ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรค 2 อยู่ดี ซึ่งผู้ขนส่งต้องชดเชยความเสียหายนี้ให้กับผู้เสียหายที่ได้รับผลอันไม่อาจคำนวณความเสียหายได้ การเยียวยาที่เหมาะสมจึงต้องจัดให้มีการประกันภัย แต่กรมธรรม์ประกันภัยที่ศึกษามีข้อยกเว้นความคุ้มครองและยังไม่มีการรับประกันภัยในเรื่องนี้โดยเฉพาะ สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น พบว่ามีการรับประกันภัยการขนส่งเช่นนี้พร้อมกับมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากทั้งอุตสาหกรรมทางนิวเคลียร์และรังสี แต่ในประเทศไทยการขนส่งวัสดุนิวเคลียร์และวัสดุกัมมันตรังสีผู้ประกอบการภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทางด้านนี้ยังมีจำนวนไม่มาก จึงไม่สามารถจะจัดตั้งกองทุนโดยรวบรวมเงินทุนจากภาคเอกชนได้ ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขกรมธรรม์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ กรมธรรม์ความรับผิดตามกฎหมายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการประกันภัยความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ.2549 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ให้คุ้มครองไปถึงความเสียหายทางนิวเคลียร์ เพิ่มหลักความรับผิดโดยเคร่งครัดของผู้ขนส่ง และควรมีกองทุนเยียวยาความเสียหายในเรื่องนี้โดยภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยนำแนวทางการจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาปรับใช้
Other Abstract: Carriage of nuclear material and/or radioactive material may unexpectedly cause damage either by the carriage per se, or from the materials themselves which are hazard. This thesis is objected to study varieties of liabilities for the damage and remedies of the losses. The study found that if any accident occurs during the carriage and it was resulted from the carrier’s fault, then the carrier is accountable for the tort. Moreover, the carrier has also liable for any accident caused by these hazardous materials due to his/her possession of the hazardous materials according to Section 437 of Civil and Commercial Code. The extent of the compensation for the injured party is up to the circumstances. One of a proper remedy is insurance. Nevertheless, this type of claim is an exempt according to Thai insurance policies, and there is no insurance cover this type of claim in particular to date. On the other hand, there are some carriage insurances and funds in USA and Japan founded in order to subsidize the losses caused by damages related to nuclear and radioactive materials industry. In Thailand, there are very few hazardous material carriage entrepreneurs. Hence, there is no establishment of such fund. The researcher suggests that there should be a revision of the existing liabilities insurance policies concerning land carriage of hazardous material according to the Announcement of Ministry of Industry of Thailand on Carriage of Hazardous Materials Insurance B.E 2549 and (2nd edition) B.E. 2550. The revised edition should cover all claims related to any injury or losses due to these hazardous materials. Carrier’s strict liability should also be added. Furthermore, a fund concerning these hazard materials should be established which monitored mainly by the Government. The law should be initiated by following the concept of environmental fund as per the Act for Promote and Maintain National Environment B.E. 2535.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45119
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthida_ma.pdf5.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.