Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45380
Title: ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข
Other Titles: CHANGE MANAGEMENT STRATEGIES OF PRIVATE HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS TOWARDS BEING A HAPPY ORGANIZATION
Authors: บุรินทร์ เทพสาร
Advisors: อภิภา ปรัชญพฤทธิ์
วราภรณ์ บวรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: apipa.p@chula.ac.th
Varaporn.B@Chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาองค์การ
การจัดองค์การ
พฤติกรรมองค์การ
ความสุข
ยุทธศาสตร์
การประเมินความต้องการจำเป็น
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Organizational change
Organization
Organizational behavior
Happiness
Strategy
Needs assessment
Private universities and colleges
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์แนวคิดและแนวทางขององค์กรแห่งความสุข วิเคราะห์และเปรียบเทียบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับองค์กรภาคเอกชนตามแนวคิดองค์กรแห่งความสุข สำรวจระดับสุขภาวะของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญเรื่ององค์กรแห่งความสุข 7 ท่าน (2) ผู้บริหารองค์กรแห่งความสุขภาคเอกชน 5 ท่าน (3) ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 7 ท่าน (4) บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 405 คน (5) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมกลุ่มย่อย 3 ท่าน (6) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมอิงผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์สาระ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบความเหมาะสมของร่างยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สาระ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มิติสุขภาวะตามแนวคิดองค์กรแห่งความสุขมี 6 มิติ ประกอบด้วย (1) มิติสุขภาพ (2) มิติครอบครัว (3) มิติเศรษฐกิจ (4) มิติการทำงาน (5) มิติสังคมและสิ่งแวดล้อม (6) มิติปัญญา สำหรับแนวทางสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข 3 แนวทาง ประกอบด้วย (1) ผู้นำองค์กรใช้แนวคิดองค์กรแห่งความสุขพัฒนาองค์กร (2) การจัดตั้งหน่วยงานดำเนินงานด้านองค์กรแห่งความสุข และ (3) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความสุข 2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับองค์กรภาคเอกชนตามแนวคิดองค์กรแห่งความสุข พบว่า ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ความสำคัญตรงกับผู้บริหารองค์กรภาคเอกชน ประกอบด้วย (1) ด้านทรัพยากรบุคคล คือ การจัดฝึกอบรมบุคลากรให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (2) ด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม คือ การปรับปรุงสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมให้ร่มรื่น สุขสบาย ไม่มีมลพิษ และการจัดเครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการทำงานที่มีคุณภาพดีและทันสมัย (3) ด้านการบริหารจัดการทั่วไป คือ การทำงานแบบเอื้ออาทร การทำงานเป็นทีม และการเปิดโอกาสให้บุคลากรแสดงความคิดเห็น (4) ด้านการเงิน ผู้บริหารองค์กรภาคเอกชนให้ความสำคัญในเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรที่สูงกว่ามาตรฐานแรงงาน หรือการจ้างงานทั่วไป และการแบ่งปันผลกำไรส่วนหนึ่งให้บุคลากร เช่น เงินพิเศษ โบนัส แตกต่างกับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ให้ความสำคัญกับการให้ทุนการศึกษาสำหรับบุตรของบุคลากร 3. ผลการสำรวจระดับสุขภาวะของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่า ความจำเป็นเร่งด่วนและควรมีการแก้ไขทันที อันดับที่ 1 คือ การดำเนินการจัดศูนย์เลี้ยงดูบุตรของบุคลากร รองลงมาคือ การให้โบนัสตามผลประกอบการประจำปี และมีสวัสดิการรถประจำทางฟรี 4. ยุทธศาสตร์ที่นำเสนอ คือ Happy HERMES Strategies ประกอบด้วย 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ 20 กลยุทธ์ 102 โครงการ/กิจกรรม ประเด็นยุทธศาสตร์ 6 ประเด็น ได้แก่ (1) การสร้างเสริมบุคลากรมีความสุขกับสุขภาวะดี (Happy Healthiness) (2) การพัฒนาบุคลากรให้มีความสุขด้วย ความฉลาดทางอารมณ์ (Happy Emotional Quotient) (3) การสนับสนุนบุคลากรมีความสุขกับการมี ความรับผิดชอบ (Happy Responsibility) (4) การส่งเสริมบุคลากรสร้างสุขทางการเงิน (Happy Money) (5) การสร้างความผูกพันระหว่างบุคลากรกับองค์กร (Happy Engagement) (6) การส่งเสริมให้บุคลากรมีความสุขจากการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย (Happy Stakeholder)
Other Abstract: The purpose of this research is to analyze the happy organization concepts and approaches, to analyze and compare the management of private higher education institutions with the management of private organization based on the happy organization concept, to analyze the healthiness level of private higher education institution personnel and to propose change management strategies for private higher education institutions towards being happy organization. The sampling group included (1) seven experts on happy organization; (2) five executives of private organization; (3) seven administrators of private higher education institutions; (4) four hundred and five personnel of private higher education institutions; (5) three senior experts on happy organization for focus group disscussion (6) eight senior experts for strategy validation. Research instruments include document analysis forms, interview forms, questionnaire, forms for the validation of (draft) strategy. The data was analyzed using content analysis, frequency, means, standard devivation, t- test , PNImodified for prioritizing the necessity of the development towards happy organization. Research results were as follows 1. Well-being of a happy organization concept has 6 dimensions: (1) healthiness (2) family (3) economy (4) work (5) social and environment (6) wisdom. The approaches as to be the happy organization are as follows: leaders develop organization using to happy organization concept, establish unit responsible for implementation of happy organization, and build happy organization culture. 2. The analysis and comparison of the private higher education institution management with private organization management utilizing the happy organization concept show that administrators of private higher education institutions share mutual emphasis with executives of private organization on the following dimensions (1) human resource dimension is personnel training on happy work with other (2) environment and facilities dimension is improving workplace to be comfortable, clean and providing good quality equipment and technology (3) general management dimension is helping each other, teamwork and giving voice to personnel. (4) financial dimension is executives in private organization give priority to pay salary to personnel higher than the standard and profit sharing with personnel, such as intensive money or bonus which is different from private higher education institution administrators that give priority to providing scholarship for personnel’s children. 3. The investigation of the well-being level of personnel of private higher education institutions show that the first priority is provision of annual bonus and the second priority is child care service for personnel’s children and free shuttle bus service. 4. The change management strategies for private higher education institutions towards becoming happy organization named the Happy HERMES strategies has 6 strategic themes, 20 strategies and 102 projects/activities. The six strategies themes include (1) happy healthiness project (2) happy emotional quotient project (3) happy responsibility project (4) happy money project (5) happy engagement with organization project (6) happy stakeholder project.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45380
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.893
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.893
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284464027.pdf16.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.