Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45731
Title: | การศึกษาอัตราการตรวจไม่พบเนื้องอกลำไส้ใหญ่ในการส่องกล้องครั้งแรกโดยวิธีส่องกล้องลำไส้ใหญ่สองครั้งในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการผิดปกติและมาตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ |
Other Titles: | THE STUDY OF COLORECTAL NEOPLASTIC POLYPS MISS RATE DETERMINEDBY BACK-TO-BACK COLONOSCOPIES IN ASYMPTOMATIC SUBJECTSFOR COLORECTAL CANCER SCREENING |
Authors: | ปิยะชัย ออคูณสวัสดิ์ |
Advisors: | สติมัย อนิวรรณน์ รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | satimai@gmail.com Rungsun.R@Chula.ac.th |
Subjects: | การตรวจคัดโรค การส่องตรวจลำไส้ใหญ่ Medical screening Colonoscopy |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความสำคัญ และที่มาของปัญหางานวิจัย: การส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นมาตราฐานการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ แต่ยังคงมีข้อบกพร่องที่สำคัญคือการตรวจผิดพลาดไม่พบเนื้องอกลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่หลังการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการส่องกล้องในระยะเวลา 3 - 5 ปี มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการตรวจผิดพลาดไม่พบเนื้องอกจากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เช่น ปัจจัยลักษณะของเนื้องอก เครื่องมือ เทคนิคการส่องกล้อง เป็นต้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาอัตราการตรวจไม่พบเนื้องอกลำไส้ใหญ่ในการส่องกล้อง (Miss rate) จำแนกตามตำแหน่ง รูปร่าง ขนาด ชนิด ลักษณะทางพยาธิวิทยาของเนื้องอกลำไส้ใหญ่ และหาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการตรวจไม่พบเนื้องอกลำไส้ใหญ่ในการส่องกล้องโดยวิธีส่องกล้องลำไส้ใหญ่สองครั้ง ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้ที่มีอายุระหว่าง 50 - 75 ปีและไม่มีอาการผิดปกติให้สงสัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีส่องกล้องทางเดินอาหารในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เข้ารับการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีการส่องกล้องลำไส้ใหญ่สองครั้ง (Back-to-Back Colonoscopies) โดยการสุ่มเลือกลำดับแพทย์ระบบทางเดินอาหาร 2 จาก 4 คน ที่มีมาตรฐานอัตราการตรวจพบเนื้องอกลำไส้ชนิด adenoma มากกว่า 20% ในระหว่างการส่องกล้องแต่ละครั้งแพทย์จะมองหาและตัดเนื้องอกที่พบออก ผลการส่องกล้องของแพทย์คนแรกจะปกปิดไม่ให้แพทย์ที่จะส่องกล้องคนถัดไปทราบ คุณภาพการเตรียมลำไส้ ระยะเวลาการส่องกล้อง จำนวน ลักษณะ และตำแหน่ง เนื้องอกทั้งหมดจากการส่องกล้องทั้งสองครั้งจะถูกจดบันทึก รวมทั้งส่งเนื้องอกตรวจลักษณะทางพยาธิวิทยา จากนั้นข้อมูลทั้งหมดจะนำมาวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 109 คนได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้งหมด 218 ครั้ง ผู้ป่วย 106 คน(97%) มีคุณภาพในการเตรียมลำไส้ดีถึงดีมาก ระยะเวลาเฉลี่ยในการถอยกล้องส่องลำไส้ใหญ่ ครั้งแรกเป็น 12.5 + 10 นาที และครั้งที่สองเป็น 9.1 + 2.9 นาที อัตราการตรวจพบเนื้องอก adenoma, advanced adenoma และมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็น 48%, 13% และ 1% ตามลำดับ อัตราการตรวจไม่พบเนื้องอก, เนื้องอก adenoma และ Advanced adenoma ของลำไส้ใหญ่จากการส่องกล้องครั้งแรก เป็น 26.3%, 28.3% และ 21.9% ตามลำดับ ไม่พบการตรวจผิดพลาดของมะเร็งลำไส้ การวิเคราะห์แบบตัวแปรเดียว (univariate analysis) พบว่า เนื้องอกที่มีรูปร่างแบบ non-pedunculated และ ระยะเวลาการถอยกล้องเร็วกว่า 9 นาที เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสเกิดการตรวจไม่พบเนื้องอกลำไส้ใหญ่ การวิเคราะห์แบบหลายตัวแปร (Multivariate analysis) พบว่าปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการตรวจไม่พบเนื้องอก ได้แก่ เนื้องอกที่มีรูปร่างแบบ non-pedunculated [Odd ratio 11.49 (95%CI : 1.44-91.59) ; P 0.02] และ ระยะเวลาการถอยกล้องเร็วกว่า 9 นาที [Odd ratio 3.02 (95%CI : 1.67-5.45) ; P<0.001] สรุป: จากการศึกษานี้พบว่าอัตราการตรวจไม่พบเนื้องอกลำไส้ใหญ่ในการส่องกล้องเป็น 26.3% โดยปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดความผิดพลาด คือ เนื้องอกที่มีรูปร่างแบบ non-pedunculated และ ระยะเวลาการถอยกล้องเร็วกว่า 9 นาที |
Other Abstract: | Background: The high definition (HD) colonoscope may better detect colorectal polyp. However, the missing polyp could happen and this may result to an interval cancer. There are other reasons for the missing including endoscopist’s factors, technical factors, and polyps characters, etc. Objective: To evaluate the miss rate of colorectal polyp by using the HD colonoscope (Olympus CF-HQ190) during the same-day back-to-back colonoscopies and to identify the independent factors for the missed polyps. Methods: Between January 2014 to November 2014, back-to-back colonoscopies in asymptomatic subjects aged 50-75 years were performed in a randomized order by four different experienced endoscopists who had performed more than 1,000 colonoscopies with the previous record of ADR > 25%. During each round all detected polyps were removed either by biopsy forceps or snare. The results of the first-round colonoscopy were blinded to the following endoscopists. All polyps detected and removed by the first or second endoscopist were recorded. A quality of bowel preparation, withdrawal time, location, size and histology of polyps were recorded. Advanced adenoma (AA) was defined as an adenoma with size ≥10mm or an adenoma with high-grade dysplasia, or villous histology. The polyp miss rate was calculated as the total number of polyps missed from the first colonoscopy/the total number of polyps detected by both the first and the second colonoscopies. Results: 109 subjects were enrolled, and 218 complete colonoscopies were performed. 106 (97%) of subjects had good to excellent bowel preparation. The mean withdrawal times of the first and the second colonoscopies were 12.5 + 10 min and 9.1+ 2.9min, respectively. The overall detection rate of adenoma, advanced adenoma and cancer were48 %, 13% and 1%, respectively. Of all 109 subjects, 306 polyps were found in 84 subjects. Among 306 polyps, there were 140 (45.8%) non-adenoma, 166 (54.2%) adenoma. There were 32 (10.4%) AA and 1 (0.3%) cancer. The miss rates for polyp, adenoma and AA were 26.8%, 28.3% and 21.9%, respectively. No carcinoma was missed. In the univariate analysis,non-pedunculated lesion and the withdrawal time <9 min were the significant factors of miss rate for polyp. There were trends of higher miss rate in the proximal polyp and the polyp size ≤5mm but there were not statistically significant. In the multivariate analysis, the independent significant associated factors for miss rate of polyp were non-pedunculated lesion [Odd ratio 11.49 (95%CI : 1.44-91.59) ; P 0.02] and duration of withdrawal time less than 9 min. [Odd ratio 3.02 (95%CI : 1.67-5.45) ; P<0.001]. Conclusions: Under the HD colonoscope, the miss rate of polyps still occurs. Non-pedunculated lesion and the withdrawal time less than 9 minutes were the significant factors for this phenomenon. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45731 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1030 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1030 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674048330.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.