Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45751
Title: | การหาค่าความแตกต่างที่ 2 ชั่วโมงของโทรโปนินด้วยวิธีความไวสูงเพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดฉับพลันแบบไม่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วน เอสที ยกในผู้ป่วยที่มีค่าการทำงานของไตลดลง |
Other Titles: | LEVEL OF 2 HOURS ABSOLUTE CHANGES OF HIGH-SENSITIVE CARDIAC TROPONIN FOR DIAGNOSIS OF ACUTE NON ST ELEVATION MYOCARDIAL INFARCTIONIN PATIENTS WITH RENAL INSUFFICIENCY |
Authors: | สนิทพงษ์ ฟองจันทร์สม |
Advisors: | สุพจน์ ศรีมหาโชตะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | s_srimahachota@yahoo.co.th,s_srimahachota@yahoo.co.th |
Subjects: | โรคปัจจุบัน การเกิดเนื้อตายเหตุขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย เครื่องหมายทางชีวเคมี Acute diseases Infarction Myocardial infarction Chronic renal failure -- Patients Biochemical markers |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มาและเหตุผล: ภาวะที่มีการทำงานของไตลดลงนั้นสามารถทำให้มีการตรวจพบการเพิ่มขึ้นของ cardiac biomarkers ในเลือดได้ แม้จะไม่มีภาวะหัวใจขาดเลือดแบบฉับพลันในขณะนั้นก็ตาม ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในเวชปฎิบัติในการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดฉับพลันแบบไม่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วน เอส ที ยก (NSTEMI) การใช้ค่าความเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น และ/หรือ ของค่าโทรโปนิน เพื่อแยกภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบฉับพลันออกจากภาวะที่มีการเพิ่มขึ้นของค่าโทรโปนิน อยู่ก่อนนั้น มีงานวิจัยมากมายที่ระบุว่าสามารถใช้ได้ แต่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีค่าการทำงานของไตลดลงเป็นส่วนน้อย และยังไม่มีงานวิจัยใดที่ทำขึ้นเพื่อหาค่าจุดตัดในการวินิจฉัยภาวะ NSTEMI ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตลดลงโดยเฉพาะ วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยโดยการสังเกตแบบไปข้างหน้า โดยไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ เพื่อที่จะหาค่าจุดตัดของความแตกต่างที่ 2 ชั่วโมงของการตรวจโทรโปนิน ด้วยวิธีความไวสูงในการวินิจฉัยภาวะ NSTEMI ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตลดลง (eGFR น้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 ml/min/1.73m2) โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตที่มี eGFR น้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 ml/min/1.73m2 ที่มายังห้องฉุกเฉินด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน ผู้ป่วยจะได้รับการเจาะเลือดเมื่อมาถึงยังห้องฉุกเฉินและอีก 2 ชั่วโมงต่อมาเพื่อส่งตรวจโทรโปนิน ที ด้วยวิธีความไวสูง (hs-cTnT) ของ Roche และโทรโปนิน ไอ ด้วยวิธีความไวสูง (hs-cTnI) ของ Abbott วินิจฉัยภาวะ NSTEMI โดยผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ โดยอิงตามเกณฑ์การวินิจฉัยสากล ค่าความแตกต่างที่สองชั่วโมงของ การตรวจโทรโปนิน ด้วยวิธีความไวสูง จะนำมาสร้างเป็นกราฟ Receiver operating characteristic (ROC) เพื่อประเมินความถูกต้อง และหาค่าจุดตัดที่เหมาะสมที่สุด ผลการศึกษา: เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่มายังห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน ในช่วงเดือน สิงหาคม 2557 ถึง กุมภาพันธ์ 2558 ได้จำนวนผู้ป่วยที่ตรงตามเกณฑ์การศึกษาทั้งสิ้น 71 ราย มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ NSTEMI 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.9 ค่าความแตกต่างที่ 2 ชั่วโมงของการตรวจ โทรโปนิน ไอ ด้วยวิธีความไวสูง ในผู้ป่วยที่มีค่าการทำงานของไตลดลง มีพื้นที่ใต้กราฟ ROC อยู่ที่ 0.87 (95% CI= 0.75-0.99) และการตรวจโทรโปนิน ด้วยวิธีความไวสูง มีพื้นที่ใต้กราฟ ROC อยู่ที่ 0.79 (95% CI = 0.66-0.92) โดยการตรวจทั้งสองนั้นไม่มีความแตกต่างของพื้นที่ไต้กราฟอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p = .39) ค่าจุดตัดที่เหมาะสมของความแตกต่างที่ 2 ชั่วโมง ของการตรวจ โทรโปนิน ไอ ด้วยวิธีความไวสูง คือ 1.365 ng/L (ความไว = 82% ความจำเพาะ = 67%) และ สำหรับการตรวจโทรโปนิน ที ด้วยวิธีความไวสูง คือ 3.25 ng/L (ความไว = 82%, ความจำเพาะ = 79%) และการใช้ค่าความแตกต่างดังกล่าวทั้งคู่นั้นไม่ได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติในเรื่องของพื้นที่ไต้กราฟ ROC เปรียบเทียบกับการใช้ค่าใดค่าหนึ่งที่เกิน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 99 ของการตรวจโทรโปนิน ด้วยวิธีความไวสูง ในการวินิจฉัยภาวะ NSTEMI ในผู้ป่วยที่มีค่าการทำงานของไตลดลง สรุป: ในการวินิจฉัยภาวะ NSTEMI ในผู้ป่วยที่มีค่าการทำงานของไตลดลง การใช้ค่าความแตกต่างที่ 2 ชั่วโมง ของการตรวจ โทรโปนิน ด้วยวิธีความไวสูงนั้น ใช้ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ค่าโทรโปนินจากการตรวจครั้งแรกนั้นต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 99 |
Other Abstract: | Background: Renal insufficiency can caused cardiac biomarkers falsely elevated even without acute coronary syndrome (ACS). Then the diagnosis of Non ST elevation myocardial infarction (NSTEMI) in patients with renal insufficiency are often problematic. Current guidelines suggested using rise and/or fall in cardiac troponin (cTn). Several existed studies were defied the cut-off value of rise and/or fall in cTn. Major of them were included normal or mild degree of renal insufficiency patient. But no any study was made to define cut-off value in NSTEMI with renal insufficiency exclusively. Methods: This single center, prospective, descriptive study was tried to defined optimal cut-off valued changes cTn for diagnosis of NSTEMI in renal insufficiency patient (eGFR equal or less than 60 ml/min/1.73m2 )when using rise and/or fall cTn criteria. Data were obtained from patients came to emergency room with symptoms suspected ACS and had eGFR at that time equal or less than 60 ml/min/1.73m2. High sensitive cardiac Troponin T (hs-cTnT) (Roche) and high sensitive cardiac Troponin I (hs-cTnI) (Abbott) were collected at arrival and at 2 hours later. Diagnosis of NSTEMI was made by expert cardiologist and according to current guideline’s diagnostic criteria. The optimal cut-off value for 2 hours absolute changes hs-cTnT was derived by using the receiver operating characteristic curve (ROC). Results: Data derived from 71 patients who presented to King Chulalongkorn Memorial Hospital emergency room during August 2014 to February 2015. Seventeen patients (23.9%) patients were diagnosed NSTEMI. The area under the ROC curve for 2 hours absolute changes of hs-cTnI for diagnosis of NSTEMI in renal insufficiency patient was 0.87 ( 95% CI ;0.75-0.99). That was superior to 2 hours absolute changes of hs-cTnT (area under ROC curve = 0.79 and 95% CI, 0.66-0.92) but no statistical significant (p= .39). The optimal cut-off value derived from ROC curve for diagnosis of NSTEMI by using 2 hours absolute change was 1.365 ng/L (sensitivity=0.82, specificity=0.67) for hs-cTnT and 3.250 ng/L (sensitivity=0.82, specificity=0.79) for hs-cTnI. When compared using 2 hours absolute change of hs-cTn, both T and I with hs-cTnT and I at 0 and 2 hours, the result shown no significant different in AUC. Conclusion-: In renal insufficiency patients whom suspected NSTEMI, 2 hours absolute changes of hs-cTnI or hs-cTnT may be used (with the mentioned cut-off value) if the first time result of hs-cTn is negative. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45751 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.578 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.578 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674082630.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.