Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46457
Title: | กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำ "ไว้" |
Other Titles: | GRAMMATICALIZATION OF THE WORD /wáj/ |
Authors: | สัณห์ธวัช ธัญวงษ์ |
Advisors: | มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์ วิภาส โพธิแพทย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Mingmit.S@chula.ac.th Vipas.P@Chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาไทย -- ไวยากรณ์ ภาษาไทย -- คำกริยา Thai language -- Grammar Thai language -- Verb |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหน้าที่ทางไวยากรณ์ (หมวดคำ) และความหมายของคำ “ไว้” และวิเคราะห์กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำ “ไว้” ตั้งแต่สมัยสุโขทัยต่อเนื่องจนถึงสมัยปัจจุบัน ผลการศึกษาหน้าที่และความหมายของคำ “ไว้” ในแต่ละสมัย พบว่า (1) คำ “ไว้” ทุกสมัยปรากฏหน้าที่คำกริยาซึ่งมีความหมายบอกเนื้อความและหน้าที่คำหลังกริยาแสดง “การคงสภาพผลต่อไป” (2) คำ “ไว้” ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมาปรากฏหน้าที่คำหลังกริยาแสดงความหมายทางไวยากรณ์ “การดำเนินเหตุการณ์ต่อไป” เพิ่มเติม และ (3) คำ “ไว้” ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 8) เป็นต้นมาปรากฏหน้าที่คำเชื่อมอนุพากย์แสดงความหมายไวยากรณ์ความสัมพันธ์ทางเวลา (อนาคตกาล) โดยภาพรวม คำ “ไว้” มีหน้าที่ทางไวยากรณ์ 3 หน้าที่ และมีความหมายทั้งสิ้น 4 ความหมาย ผลการวิเคราะห์กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำ “ไว้” พบว่า คำ “ไว้” มีเส้นทางกลายเป็นคำไวยากรณ์ 3 เส้นทาง ได้แก่ (1) คำกริยา “ไว้” กลายไปเป็น คำหลังกริยา “ไว้” แสดง “การคงสภาพผลต่อไป” (2) คำหลังกริยา “ไว้” แสดง “การคงสภาพผลต่อไป” กลายไปเป็น คำหลังกริยา “ไว้” แสดง “การดำเนินเหตุการณ์ต่อไป” และ (3) คำกริยา “ไว้” กลายไปเป็น คำเชื่อมอนุพากย์ “ไว้” แสดงความสัมพันธ์ทางเวลา (อนาคตกาล) แต่ละเส้นทางประกอบด้วยขั้นตอนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การปรากฏในปริบทที่ทำให้เกิดความหมายทางไวยากรณ์ (2) กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย (3) กลไกการเปลี่ยนแปลงทางวากยสัมพันธ์ และ (4) การเปลี่ยนแปลงทางความหมายและวากยสัมพันธ์ กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์เส้นทางที่ (1) และ (3) ซึ่งเป็นเส้นทางที่เริ่มต้นจากคำกริยา “ไว้” ผ่านขั้นตอนของกระบวนการตามลำดับดังนี้ (1) การปรากฏในหน่วยสร้างกริยาเรียง (2) กลไกและกระบวนการ มี 2 ประเภท ได้แก่ กระบวนการทางความหมาย ซึ่งได้แก่ กระบวนการนามนัยและกระบวนการอุปลักษณ์ กับกลไกทางวากยสัมพันธ์ ซึ่งได้แก่ กลไกการวิเคราะห์ใหม่และกลไกการเทียบแบบ (3) ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางความหมายและวากยสัมพันธ์ มี 5 ประการ ได้แก่ (1) การสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม (2) การทำให้มีความเป็นทั่วไป (3) การคงเค้าความหมายเดิม (4) การปรากฏซ้อนกันในแต่ละหน้าที่ทางไวยากรณ์ และ (5) การเปลี่ยนแปลงความถี่ในแต่ละหน้าที่ทางไวยากรณ์ |
Other Abstract: | This dissertation aims at studying functions (word classes) and meanings of the word /wáj/ and analyzing grammaticalization of this word in each period from Sukhothai period right up until the present. The study of functions and meanings in periods reveals that (1) the word /wáj/ in all periods has 2 functions and 2 meanings: /wáj/ as a verb which contains lexical meanings and /wáj/ as a post-verbal morpheme which contains a grammatical meaning ‘perfect of result’, (2) the word /wáj/ as post-verbal morpheme which contains a grammatical meaning ‘perfect of persistent situation’ has been first found in Ayutthaya and existed right up until the present, (3) the word /wáj/ as conjunction which contains a grammatical meaning ‘future tense’ has been first found in reigns of King Rama VIII and existed right up until the present. In conclusion, the word /wáj/ in this study has 3 functions and 4 meanings. The analysis of grammaticalization of /wáj/ reveals that the word /wáj/ has 3 grammaticalization pathways: (1) from the verb /wáj/ to the post-verbal morpheme /wáj/ ‘perfect of result’ (2) from the post-verbal morpheme /wáj/ ‘perfect of result’ to the post-verbal morpheme /wáj/ ‘perfect of persistent situation’ and (3) from the verb /wáj/ to the conjunction /wáj/ ‘future tense’. Each pathway consists of 4 steps of grammaticalization: (1) presence in bridging context (2) semantic processes (3) syntactic mechanisms and (4) semantic and syntactic changes. Historically, the pathways (1) and (3) which derive from the same verb /wáj/ have same steps of grammaticalization: (1) their grammatical meanings emerge in serial verb constructions (2) Then, they have undergone the changes through the processes and mechanisms: on semantico-pragmatic change: metonymic process and metaphorical process and on syntactic change: reanalysis and analogy. (3) After changes through mechanisms, the grammaticalized /wáj/ would have 5 characteristics: (1) decategorialization (2) generalization (3) persistence of the old meanings (4) layering, the co-existence of the old and new functions and (5) changes in frequency, the statistical change of the old and new functions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46457 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1244 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1244 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5480188222.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.