Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46534
Title: ผลของการคัดเลือกผู้เล่นโดยใช้คะแนนความฉลาดในการเล่นที่มีต่อการพัฒนาทักษะกีฬาฟุตบอลในนักเรียนชายอายุ 12 ปี
Other Titles: THE EFFECT OF USING PLAY QUOTIENT SCORE TO SELECT PLAYERS ON THE DEVELOPMENT OF FOOTBALL SKILLS IN 12-YEAR-OLD MALE STUDENTS
Authors: อรรถพล มณีแสง
Advisors: ชัชชัย โกมารทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chuchchai.G@Chula.ac.th,chuchchai.g@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกีฬาฟุตบอลของกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ที่มีคะแนนความฉลาดในการเล่นแตกต่างกัน คือ กลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดในการเล่นสูง ปานกลาง และต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายอายุ 12 ปี ของโรงเรียนอนุบาลระยอง ใช้แบบทดสอบความฉลาดในการเล่นของชัชชัย โกมารทัต และคณะ เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 15 คน รวมทั้งสิ้น 45 คน ดำเนินการทดลองโดยนำทั้ง 3 กลุ่มมาฝึกทักษะกีฬาฟุตบอลขั้นพื้นฐาน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ทำการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบทักษะกีฬาฟุตบอลของคูเอญโญ และคณะ ก่อนการฝึก หลังการฝึก 4 สัปดาห์ และหลังการฝึก 8 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลของการทดสอบทุกรายการภายในกลุ่ม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ เปรียบเทียบผลของการทดสอบทุกรายการระหว่างกลุ่ม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของ Bonferroni กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทักษะกีฬาฟุตบอลภายในกลุ่มทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า หลังการฝึก 8 สัปดาห์ ดีกว่าหลังการฝึก 4 สัปดาห์ และก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทักษะกีฬาฟุตบอลระหว่างกลุ่มทั้ง 3 กลุ่ม ก่อนการฝึก หลังการฝึก 4 สัปดาห์ และหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดในการเล่นสูง มีการพัฒนาทักษะกีฬาฟุตบอลดีกว่ากลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดในการเล่นปานกลาง และกลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดในการเล่นต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าคะแนนความฉลาดในการเล่นมีผลต่อความสามารถในการพัฒนาทักษะกีฬาฟุตบอลของนักเรียนชายอายุ 12 ปี และสามารถนำมาใช้ในการพิจารณาคัดเลือกผู้เล่นระดับอายุ 12 ปีเพื่อพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลสู่ระดับสูงต่อไปได้
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the development of football skills between 3 groups. First group had high Play Quotient score, second group had moderate Play Quotient score and third group had low Play Quotient score. The 12-year-old male students of Anuban Rayong School were purposively selected to be the subjects in this study. They were divided into 3 groups of 15 players by the Play Quotient test of Chuchchai Gomaratut, et al. All groups were trained with a basic football skills training program. The courses of training were for 3 days per week. The total duration of training was 8 weeks. All subjects were tested football skills by the Football Skills test of Coelho, el at. The subjects were tested at 3 different periods, i.e., before training, after 4 and 8 weeks of training. The obtained data were analyzed in terms of means and standard deviations, One-way analysis of variance with repeated measures, One-way analysis of covariance and multiple comparisons by Bonferroni were employed for statistical significant at the .05 level. The results were as follows: 1. The comparison of football skills within groups showed that football skills of all groups after 8 weeks of training were significantly better than after 4 weeks of training and significantly better than before training at the .05 level. 2. The comparison of football skills between groups after 4 and 8 weeks of training showed that football skills of the high Play Quotient score group was significantly better than the moderate Play Quotient score group and the low Play Quotient score group at the .05 level. It concluded that Play Quotient score affected on the development of football skills in 12-year-old male students and could be used as a consideration in selecting the 12-year-old players to develop further advanced skills.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46534
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578424239.pdf9.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.