Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46552
Title: การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนไทยกับครูในโรงเรียนชั้นนำระดับโลก
Other Titles: A COMPARISON OF PRACTICES OF TEACHERS IN THAI AND WORLD CLASS SCHOOLS
Authors: รัชนีวรรณ เทียนทอง
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: duangkamol.t@chula.ac.th
Subjects: ครู -- ไทย
การทำงาน
Teachers -- Thailand
Work
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนชั้นนำระดับโลก 2) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูไทยกับครูในโรงเรียนชั้นนำระดับโลก และ 3) เพื่อสรุปแนวทางในการปฏิบัติงานของครูไทยเทียบกับครูในโรงเรียนชั้นนำระดับโลก โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพขยายผลการวิจัยเชิงปริมาณ ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามจำนวน 1,026 ฉบับ จากตัวอย่างซึ่งเป็นครูในเขตกรุงเทพมหานครในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน 32 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของครู จำนวน 55 ข้อ เป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60–1.00 และมีค่าความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคอยู่ระหว่าง 0.704–0.914 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ความแปรปรวนสองทาง และสถิติการทดสอบที ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิโดยมีผลการวิจัยเชิงปริมาณประกอบ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญสุรปได้ดังนี้ 1. การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนชั้นนำระดับโลกมี 2 องค์ประกอบ คือ 1) การจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดการชั้นเรียน การวัดและประเมินผล การวิจัยในชั้นเรียน และการใช้สื่อ/นวัตกรรมและสารสนเทศ 2) การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ประกอบด้วย การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ผู้ปกครอง เพื่อนร่วมงาน และชุมชน ครูในโรงเรียนชั้นนำระดับโลกมีการปฏิบัติงานที่เหมือนกันด้านการจัดการเรียนการสอน คือ การพัฒนาทักษะและความสามารถของผู้เรียน อำนวยความสะดวกในกิจกรรมต่างๆ จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดขั้นสูงและความคิดสร้างสรรค์ ใช้รูปแบบการประเมินที่หลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน ครูมีทักษะในการวิจัย ด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น คือ ให้คำปรึกษา ดูแลเอาใจใส่ ดูแลความปลอดภัย และให้ความช่วยเหลือผู้เรียน และทำงานได้ดีร่วมกับเพื่อนร่วมงาน 2. ครูไทยมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก โดยองค์ประกอบด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมีค่าเฉลี่ยมากกว่าองค์ประกอบด้านการจัดการเรียนการสอน โดยครูในสังกัด กทม. มีค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติงานสูงกว่าในสังกัดอื่นๆ และครูระดับประถมศึกษามีค่าเฉลี่ยระดับปฏิบัติงานมากกว่าครูระดับมัธยมศึกษา 3. แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของครูไทยให้เหมือนครูชั้นนำระดับโลก ครูต้องรับรู้ความสามารถของตนเอง มีการพัฒนาตนเอง แสวงหาความรู้ พัฒนาทักษะและความชำนาญต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เช่น ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อมุ่งเน้นการสร้างทักษะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน มีการนิเทศติดตามการจัดการชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีการวัดและประเมินผลตามความสามารถและความแตกต่างของผู้เรียน ทำวิจัยในชั้นเรียนจากฐานข้อมูลจริงและเผยแพร่ผลงานการวิจัย ใช้สื่อที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เคารพความแตกต่างและอุทิศเวลาให้กับผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสะท้อนคิดทางวิชาการกับเพื่อนร่วมงาน และให้ความรู้กับชุมชน
Other Abstract: The objectives of this study were: 1) to analyze teachers’ practice in World Class schools; 2) to analyze and compare teachers’ practice in Thai and World Class schools; and 3) to suggest Thai teachers’ practice guidelines compared for Thai teachers in Thai and World Class schools. This study used the qualitative research results to back up the quantitative research results. The research procedures were split into two phases. 1) the quantitative research phase, 1,026 questionnaires were distributed to teachers from 32 schools in four different offices in Bangkok: Office of the Basic Education Commission (OBEC), Office of the Private Education Commission (OPEC), Office of the Higher Education Commission (OHEC), and Bangkok Metropolitan Administration (BMA). The research instrument was teachers’ practice questionnaire, 55 items, 5-point rating scale. The IOC index of the questionnaire ranged between 0.60-1.00 and the Cronbach's alpha ranged between 0.704 - 0.914. The data from the questionnaire were analyzed by using descriptive statistics, one-way ANOVA, and independent t-test. 2) the qualitative research phase, the interviews were conducted among the experts in the field. The data were analyzed by using content analysis. The results were presented as follows: 1. The teachers’ practices were divided into three aspects: 1) instruction, comprising of learning experience planning, classroom management, measurement and evaluation, classroom action research, and teaching materials usage; 2) self-development, including knowledge acquisition and competence development; and 3) social interaction, which was the interaction between learners, parents, colleagues and community. World Class schools’ teachers have performed the same task of teaching is to develop the skills and abilities of the students, facilitate activities , teaching that promotes higher-order thinking and creativity, use the assessment form and match the students.The teachers have the skills to research. The interaction with others is the attention to safety consulting ,assist learners and works well with colleagues. 2. Overall Thai teachers’ practices were at good level. Social interaction aspect had the highest average scores, followed by instruction aspect. Teachers under BMA had the highest average scores of teachers’ practices. Primary level teachers had higher average scores of teachers’ practices than secondary level teachers. 3. For teachers’ practice guidelines towards the same standard as teachers in World Class schools, Thai teachers must attain self-efficacy, self-development, knowledge acquirement, and have periodical skill improvement, for example, the 21st century characteristics emphasizing in students’ learning skills. There should be regular teaching supervisions, authentic assessments and evaluations, classroom action research based on authentic data as well as research publication. Teaching materials should be used in order to encourage students’ learning engagement. Teacher should respect students’ individual differences and devote their time to the students. Moreover, teachers should share knowledge among colleagues and educate people in the community.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46552
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1310
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1310
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583886227.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.