Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46595
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาติ ทวีพรปฐมกุลen_US
dc.contributor.authorกฤตกัญญา คชรินทร์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:41:05Z
dc.date.available2015-09-19T03:41:05Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46595
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับประชาชนภายในบริเวณสนามกีฬาระดับอำเภอ และความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการของประชาชนภายในบริเวณสนามกีฬาระดับอำเภอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการภายในสนามกีฬาระดับอำเภอ โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และนำไปทดสอบหาคุณภาพเครื่องมือ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.81 และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ 0.70 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ทำการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภายในสนามกีฬาระดับอำเภอ นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง เป็นรายภาค และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปผลการสัมภาษณ์ นำเสนอแยกเป็นรายภาค จากนั้นจัดประชุมกลุ่มย่อย เพื่อหาข้อสรุปแนวทางการจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับประชาชนภายในบริเวณสนามกีฬาระดับอำเภอ ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการจัดการกิจกรรมนันทนาการภายในสนามกีฬาระดับอำเภอใช้หลัก 5M’s ได้แก่ บุคลากร (Man) การเงินและงบประมาณ (Money) วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก (Material) บริหารการจัดการ (Management) และการดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ (Modification) และความต้องการประกอบกิจกรรมนันทนาการในสนามกีฬาระดับอำเภอสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย เกมกีฬา และกีฬาเพื่อการแข่งขัน และความต้องการเข้าร่วม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study both recreation activities management guidelines for the people in the district sport stadium and the people’s needs of recreational activities participation in the district sport stadium. Calculated by Taro Yamane method and accidental sampling, samples used in this research consisted of 400 people who participated in the district sport stadium. The data were collected by both the questionnaire with the content validity of 0.81 and alpha coefficient reliability of 0.70 and semi-structured interview form. People working at the district sport stadium were interviewed. The data collected from the questionnaires were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation and presented in tables by region. Data collected from the interview were analyzed, summarized, and also presented by region. Then, focus group was organized in order to finalize recreation activities management guidelines for the people in the district sport stadium It was found that: Recreation activities management guidelines for the people in the district sport stadium used the principle of 5M’s, namely Man, Money, Material, Management and Modification. The respondents’ top 3 highest needs in recreational activities were health development activities, physical activities, games and sport competitions, and they would like to participate in those activities 2-3 times per week.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1341-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนันทนาการ
dc.subjectกีฬา
dc.subjectการออกกำลังกาย
dc.subjectการจัดการ
dc.subjectความต้องการ (จิตวิทยา)
dc.subjectRecreation
dc.subjectSports
dc.subjectExercise
dc.subjectManagement
dc.subjectNeed (Psychology)
dc.titleแนวทางการจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับประชาชนภายในบริเวณสนามกีฬาระดับอำเภอen_US
dc.title.alternativeRECREATION ACTIVITIES MANAGEMENT GUIDELINES FOR THE PEOPLE IN THE DISTRICT SPORT STADIUMen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuchart.Ta@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1341-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678402539.pdf7.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.