Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4677
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลในอุตสาหกรรมแกะสลักหินจังหวัดชลบุรี
Other Titles: Prevalence and related factors of carpal tunnel syndrome (CTS) in sculpture industry of Chonburi province
Authors: สุพัฒน์ หลายวัฒนไพศาล
Advisors: วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Wiroj.J@Chula.ac.th
Pongsak.Y@Chula.ac.th
Subjects: โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
Carpal Tunnel Syndrome
CTS
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลในโรงงานอุตสาหกรรมแกะสลักหินของจังหวัดชลบุรี ประชากรตัวอย่างที่ทำการศึกษาจำนวน 200 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และตรวจร่างกายในระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม 2547 ได้รับแบบสอบถามตอบกลับคิดเป็น ร้อยละ 100 ผลการศึกษาพบว่า คนงานแกะสลักหินที่น่าจะเป็นโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลมีอัตราความชุกของโรคจำนวน ร้อยละ 13 ความชุกของโรคจำเพาะเพศพบว่า คนงานเพศชายมีอัตราความชุกของโรค ร้อยละ 7.8 และคนงานเพศหญิงมีอัตราความชุกของโรค ร้อยละ 25 กลุ่มงานทำครกและงานทำสากพบว่ามีอัตราความชุกของโรคสูงกว่ากลุ่มงานแกะสลักรูปปั้นหิน (อัตราความชุกของโรค = 16.8) ปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศหญิง [OR (95%Cl) = 32 (3.9 - 256.7)] ดัชนีมวลกาย [มากกว่าหรือเท่ากับ] 23 ก.ก/ม[superscript 2] [OR (95%Cl) = 3.3 (1.05 - 10.5)] ขณะที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ แรงบีบมือระดับต่ำ [OR (95%Cl) = 4.1 (1.2 - 14.7)] และทำงาน 7 วัน/สัปดาห์ [OR (95%Cl) = 3.2 (1.03-9.7)] ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ขนาดสัดส่วนข้อมือ การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มกาแฟ ความสั่นสะเทือน และความเครียดจากการทำงาน เนื่องจากการเกิดโรคกลุ่มอาการอุโมงค์คาร์ปัลมักเกิดจากหลายปัจจัยที่ส่งเสริมกัน ยังไม่พบว่าเกิดจากปัจจัยอันใดอันหนึ่งที่ชัดเจน ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังป้องกันทั้งปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานและไม่ใช่จากการทำงานไปพร้อมๆ กัน เพื่อป้องกันอุบัติการณ์การเกิดโรคต่อไป
Other Abstract: The purpose of this Cross-Sectional Descriptive study was to determine the prevalence and associated factors of carpal tunnel syndrome (CTS) among workers in sculpture industry Chonburi province. Study populations included 200 workers in sculpture industry. Data were collected by interview questionnaires and physical examination between October and December 2004. The coverage rate was 100 percent. The results showed that the overall prevalence rate of CTS was 13 percent, with the gender specification prevalence rate of 7.8 and 25.0 for male and female workers respectively. The prevalence of CTS among workers in mortar and pestle factory was higher than among those carving stone factory (prevalence rate = 16.8). Non work-related factors which were significantly associated with CTS were female [OR (95%Cl) = 32 (3.9 - 256.7)], Body mass index [is more than or equal to] 23 kg/m[superscript 2] [OR (95%Cl) = 3.3 (1.05 - 10.5)], while work-related factors which were significantly associated with CTS included Low grip strength [OR (95%Cl) = 4.1 (1.2 - 14.7)], work 7 day/week [OR (95%Cl) = 3.2 (1.03 - 9.7)]. Other factors such as wrist ratio, smoking, drinking, coffee, vibration tool, stress were not significantly associated with CTS. Because carpal tunnel syndrome have multi-factorial etiologies that may promote each other. An obvious factor can not be identified. So the occupational and non-occupational risk factors should be addressed at the same time in order to prevent incident carpal tunnel syndrome in the future
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4677
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1028
ISBN: 9745326097
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1028
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supatt.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.