Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47417
Title: การควบคุมงบประมาณแผ่นดินโดยรัฐสภาในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีงบประมาณรายจ่าย
Other Titles: Parliamentary control over the government budget in Thailand : a case study of expenditure
Authors: วีระ ไทยวานิช
Advisors: นันทวัฒน์ บรมานันท์
สมคิด เลิศไพฑูรย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: งบประมาณ -- ไทย
รายจ่ายของรัฐ -- ไทย
การคลัง
รัฐสภา -- ไทย
Budget -- Thailand
Expenditures, Public -- Thailand
Finance, Public
Legislative bodies -- Thailand
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หลักการทั่วไปในทางการคลังในระบอบประชาธิปไตยมีว่า รัฐบาลจะเก็บเงินไม่ได้ และจะจ่ายเงินก็ไม่ได้ เว้นแต่โดยความยินยอมของรัฐสภา และรัฐสภาจะอนุมัติเงินจ่ายหรือตั้งเก็บภาษีได้ ก็แต่โดยคำแนะนำหรือข้อเสนอของรัฐบาล โดยความมุ่งหมายสำคัญของหลักการดังกล่าว เพื่อให้อำนาจการควบคุมในทางการคลังเป็นของรัฐสภา แม้ว่าการควบคุมในทางการคลังโดยรัฐสภาของประเทศต่างๆ จะเป็นไปตามหลักการเดียวกันที่ว่าการจ่ายเงินและการเก็บเงินจะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของรัฐสภาเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติ วิธีการควบคุมในทางการคลังก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ รัฐสภาจะเลือกวิธีการที่ประกันได้ว่า การใช้จ่ายเงินของรัฐจะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐสภา และการใช้จ่ายนั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาระบบการควบคุมงบประมาณแผ่นดินโดยรัฐสภาในประเทศไทย พบข้อเท็จจริงว่าระบบดังกล่าวยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่สามารถให้หลักประกันกับการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินได้เช่นเดียวกับการควบคุมในทางการคลังโดยรัฐสภาของต่างประเทศเนื่องมาจากสาเหตุ 2 ประการ 1. การขาดผู้ช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา รวมถึงการขาดแคลนข้อมูลข่าวสารที่มีความสำคัญ 2. ระบบการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณยังไม่มีความเข้มแข็งในการทำหน้าที่ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ควรมีการปรับปรุงบทบาทของรัฐสภาในการควบคุมงบประมาณแผ่นดินให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาองค์กรที่จะทำหน้าที่แทนรัฐสภาในการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ และการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารภายในรัฐสภาเอง
Other Abstract: The general principles of finance in Democratic regime : the government cannot raise and spent money without the consent of Parliament ; and Parliament cannot vote the money for expenditure or impose a tax, only on the recommendation of the government. Although Parliamentary control over finance is, Parliamentary approval is required for all expenditure and taxation, one which is widely held, method of financial control vary from country to country. Parliament have chosen very different methods of asserting their control over the finance to ensure that all public money is spent as Parliament intended and public money have been used for public purpose In Thailand, the budgetary control rests exclusively with Parliament but cannot work efficiency; 1) the lack of professional assistants and information , 2) the weakness of control system. This study proposes the government to improve role and system of parliamentary control and develop system of information in parliament.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47417
ISBN: 9746344013
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wera_th_front.pdf830.55 kBAdobe PDFView/Open
Wera_th_ch1.pdf647.09 kBAdobe PDFView/Open
Wera_th_ch2.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Wera_th_ch3.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Wera_th_ch4.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Wera_th_ch5.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Wera_th_ch6.pdf674.68 kBAdobe PDFView/Open
Wera_th_back.pdf800.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.