Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47653
Title: การศึกษาอนาคตภาพของมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยวิธีการสืบค้นเชิงธรรมชาติ
Other Titles: A study of the future of Ramkhamhaeng University by naturalistic inquiry
Authors: ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์
Advisors: พรชุลี อาชวอำรุง
พัฒน์ น้อยแสงศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pornchulee.A@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสืบค้นเชิงธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ไทย
มหาวิทยาลัยเปิด
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ถึงปัจจุบัน(พ.ศ. 2536-2537) และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 15-20 ปีข้างหน้าโดยวิธีการสืบค้นเชิงธรรมชาติโดยการสัมภาษณ์สอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์เอกสารและการสังเกตเพื่อสรุปเป็นข้อมูลเบื้องต้นและมีการประเมินผลสรุปโดยใช้รูปแบบดิง ผู้ทรงคุณวุฒิ การเสนอผลใช้แผนภาพต้นไม้ทางเลือกอนาคตของมหาวิทยาลัยรามคำแหงผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1. ลักษณะการจัดการศึกษาที่มีตั้งแต่เริ่มตั้งมหาวิทยาลัยและมีแนวโน้มจะคงอยู่ในอนาคตคือยังคงเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแบบตลาดวิชา มีสภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารสูงสุด การวางแผนเปลี่ยนไปตามอธิการบดี มีการเรียนการสอน 2 แบบคือ เรียนที่มหาวิทยาลัยและเรียนด้วยตนเอง มีโทรทัศน์วงจรปิดในห้องเรียนขนาดใหญ่ มีการบริการนักศึกษาด้านทะเบียน ห้องสมุด จำรา การแนะแนว ทุนการศึกษา การรักษาสุขภาพ การกีฬา และนันทนาการ 2. ลักษณะการจัดการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นคือได้งบประมาณแผ่นดินเพิ่ม มีการขึ้นค่าธรรมเนียมต่างๆ มีทุนพัฒนาบุคลากรและการวิจัยเพิ่มขึ้น บุคลากรมีความขัดแย้งและแบ่งพรรคแบ่งพวกมากขึ้น ปัญหาสมองไหลมากขึ้นหลักสูตรยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนง่ายขึ้นให้บริการแก่บุคคลภายนอกมากขึ้น 3. ลักษณะการจัดการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงลดลงคือ จำนวนนักศึกษาลูกจ้างงบรายได้ จำนวนครั้งในการสอบซ่อม 4. ลักษณะการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้นใหม่ในอดีตคือมีวิทยาเขตรามฯ 2 การเลือกตั้งผู้บริหารการเทียบโอนหน่วยกิจ การสอนทางโทรทัศน์ วิทยุ การสอบซ่อม การเปิดบัณฑิตศึกษา ในปัจจุบันคือ ซุ้มนักศึกษาถาวร อาคารสูงเกิน 10 ชั้น การอนุมัติหลักสูตรสิ้นสุดที่สภามหาวิทยาลัย การร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ศูนย์วัฒนธรรมระดับคณะและมหาวิทยาลัย ในอนาคตคือ ปรับระบบการบริหารมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่ส่วนราชการ ปรับโครงสร้างสภามหาวิทยาลัยเป็นไตรภาคี ปรับวิธีการสรรหาอธิการบดีที่ไม่ใช่เลือกตั้งจะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการสอนจะขยายสาขาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเน้นวิจัยพื้นฐานและจะจัดตั้งศูนย์การเรียนส่วนภูมิภาค 5. ลักษณะการจัดการศึกษาที่ถูกยุบไปในอดีตคือ การสรรหาอธิการบดีโดยการแต่งตั้ง การสอน การสอบที่ส่วนภูมิภาค งดการบรรยายสำหรับนักศึกษาปีที่ 1 และศูนย์ศึกษานานาชาติ สำหรับปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ การบริหารขาดความคล่องตัว นโยบายไม่ต่อเนื่องมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกขาดความคล่องตัวในการปรับหลักสูตร ขาดอุปกรณ์การสอนที่ทันสมัยขาดการประเมินหลักสูตร ระยะเวลาสอบยาวนานเกินไป อาจารย์ใช้เวลาสอนมากกว่าทำวิจัย ผลงานวิจัยมีน้อย การบริการวิชาการล่าช้า
Other Abstract: The purpose of this research is to investigate the past status of Ramkhamhaeng University from 1971 to the present (1993-1994) and to forecast the future trends in 15-20 years by naturalistic inquiry method. Data were collected within the framework of interviews, questionnaires, document analysis and observations. The previous conclusions were assessed by “Connoisseurship Model” and confirmed according to internal and external experts of Ramkhamhaeng University. The data were presented by tree of alternative futures. The following results of this study were obtained. 1. The consistent events from past to future are open admission characteristics; board of trustee is the highest ranking entity in the governance; planning was disrupted by terms of rectors; two types of learning styles are prevalent, i.e., in class and self directed; utilizing close circuit television in large classrooms; student services such as, admission, recreations are emphasized. 2. The increased events from past to future are budget increments and tuition fee raises; funds allotted for staff development and research; vested interest groups of conflicting powers; braindrain problem; flexible academic programs designed for labor market and social demands. 3. The decreased events are number of students registered; number of employees from non-government incomes and re-examination frequencies. 4. The added events in the past were one more campus – R.U. 2; transferred credits system; television and radio – broadcasting for education; re-examination; establishing graduate programs. The new events at present are permanent student resting areas; skyscrapers; new programs finalized at the level of university board of trustees; co-operation with government and private sectors; founding of cultural centers. The future events forecasted are becoming non-government; restructuring of board of trustees into trinity system; abolishing directed election of rectors; availability of more effective computer systems and high level technology and internets; expanding programs in science and technology; setting community learning center in local areas. 5. The events innovatively adopted and finally abandoned overtime were appointment of rectors; tutoring and examinations in upcountry centers; and self-directed without classroom instructions for freshman year; international study centers. Existing problems are decreased autonomy in administration and curriculum development; discontinuity of policy overtime; vested interest groups of conflicting powers; lack of curriculum follow-ups: length of examination sessions are too extensive; more staff time allotted to teaching rather than research.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47653
ISBN: 9746321889
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Laddawan_pe_front.pdf937.2 kBAdobe PDFView/Open
Laddawan_pe_ch1.pdf819.09 kBAdobe PDFView/Open
Laddawan_pe_ch2.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open
Laddawan_pe_ch3.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Laddawan_pe_ch4.pdf15.11 MBAdobe PDFView/Open
Laddawan_pe_ch5.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Laddawan_pe_back.pdf8.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.