Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47974
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ในประเทศไทย
Other Titles: An analytical study of nursing curriculum in Thailand
Authors: สุวรรณา กิตติเนาวรัตน์
Advisors: สงัด อุทรานันท์
ประนอม โอทกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แผนพัฒนาการสาธารณสุข
การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน -- ไทย
การพยาบาล -- ไทย -- หลักสูตร
หลักสูตร -- การวางแผน -- ไทย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ของสถาบันการศึกษาพยาบาลในประเทศไทย 2. เพื่อเปรียบเทียบหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ของสถาบันการศึกษาพยาบาล 3. เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ กับแผนพัฒนาการสาธารณสุขแห่งชาติฉบับที่ 6 วิธีดำเนินการวิจัย การวิเคราะห์หลักสูตรพยาบาลศาสตร์นี้ เป็นการวิจัยเอกสาร กลุ่มตัวอย่างประชากร คือ หลักสูตรของสถาบันการศึกษาพยาบาลต่อไปนี้ 1) สังกัดทบวงมหาวิยาลัยในส่วนกลาง ได้แก่ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และในส่วนภูมิภาค ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) สังกัดกระทรวงสาธารสุข ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลกรุงเทพ 3) สังกัดกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ โรงเรียนพยาบาลทหารอากาศ 4) สถาบันการศึกษาพยาบาลองค์กรการกุศล ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย 5) สถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ จำนวนทั้งสิ้น 6 หลักสูตร การวิเคราะห์เอกสารหลักสูตรจะทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ 4 ส่วน คือ จุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาสาระและประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอน และ การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย 2 ชุด ชุดที่ 1 แบบวิเคราะห์หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ มีลักษณะเป็นตารางเลือกตอบ ปลายเปิด โดยผู้วิจัยดำเนินการสร้างแบบวิเคราะห์ แล้วนำไปวิเคราะห์หลักสูตร จากนั้น นำผลการวิเคราะห์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสถาบันที่เป็นเจ้าของหลักสูตร ตรวจสอบความถูกต้อง ชุดที่ 2 แบบวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ กับแผนพัฒนาการสาธารณสุขแห่งชาติฉบับที่ 6 มีลักษณะเป็นตารางเลือกตอบ ปลายเปิด สร้างแบบวิเคราะห์โดยผู้วิจัย ยกร่าง "คำสำคัญ" จากแผน แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพยาบาลช่วยพิจารณาแก้ไข ปรับปรุง ให้ได้แบบวิเคราะห์ที่สมบูรณ์และถูกต้อง ผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร สถาบันการศึกษาพยาบาลในสังกัดต่างๆ ส่วนใหญ่มุ่งหวัง ให้บัณฑิตพยาบาลเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีความรับผิดชอบ เป็นพลเมืองดี และมีคุณธรรม จริยธรรม ส่วนจุดประสงค์ของหลักสูตรทุกสังกัด กำหนดพฤติกรรมการเรียนรู้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย รูปแบบการจัดเนื้อหาสาระและประสบการณ์ ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบหลักสูตรที่ยึดสาขาวิชาหรือเนื้อหาวิชาเป็นหลัก นอกจากสถาบันในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค คือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ใช้รูปแบบหลักสูตรยึดทักษะ กระบวนการด้วย และสถาบันในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข คือ วิทยาลัยพยาบาลกรุงเทพ ที่ใช้รูปแบบยึดกิจกรรมและปัญหาของสังคม และ ยึดทักษะ กระบวนการ ร่วมด้วย กิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนใหญ่เน้นการถ่ายทอดความรู้ของผู้สอน และเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติภายใต้การนิเทศของผู้สอน โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนหลายๆ วิธีผสมผสานกัน การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ลักษณะการประเมินผล ส่วนใหญ่ประเมินผลหลังเรียน โดยใช้ลักษณะการประเมินระหว่าง 2 ลักษณะ ใน 3 ลักษณะ ของการประเมินผล สำหรับเครื่องมือในการวัดผลส่วนใหญ่เป็นแบบทดสอบ และใช้เครื่องมือวัดเพียง 1 ชนิด สำหรับวิธีการประเมินส่วนใหญ่วัดอิงกลุ่ม แต่การใช้วิธีการประเมิน ส่วนใหญ่ใช้การวัดทั้งวัดอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์ สำหรับความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ กับแผนพัฒนาการสาธารณสุขแห่งชาติฉบับที่ 6 มีคำศัพท์ที่เป็นความคิดรวบยอดทางสาธารณสุขในหลักสูตรของสถาบันต่างๆ อยู่ระหว่างร้อยละ 28.47-53.57 ของคำศัพท์ที่เป็นความคิดรวบยอมทางสาธารณสุขในแผนพัฒนาการสาธารณสุขแห่งชาติฉบับที่ 6
Other Abstract: Purposes : 1. To study the nursing curriculum of nursing institutions in Thailand 2. To compare the nursing curriculum of those nursing institutions. 3. To analyze the congruency of Nursing Curriculum and the sixth National Public Health Development plan. Procedures : The nursing curriculum from six institutions were selected as the sample of the study. The Ramathibodi Nursing School of Mahidol University and the Faculty of Nursing of Khon Kaen University were the representatives of the institutions under the auspices of the Ministry of University Affairs; The Bangkok College of Nursing was the representative of the Ministry of Public Health ; The Air Force Nursing School was the representative of the Ministry of Interior and Ministry of Defence; The Thai Red Cross College of Nursing was the representative of the non-profit institution ; and the McCormic Faculty of Nursing of Payab University was the representative of private institutions. The scope of the analytical study concerned with the four components which were objectives, the organization of contents and experiences, the delivery of experiences, and the measurement and evaluation. Two types of the instrument were used. The first one was designed to validate the analytical results, and the second was designed to compare the congruency of the Nursing Curriculum and The Sixth National Public Health Development Plan. Findings : 1. The results of the analytical study could be summarized as follows .- (1) Most of the nursing curriculum had emphasized knowledge, responsibility, morality and ethics. Also, the objectives of all curriculum had covered the cognitive domain, affective domain and psychomotor domain. (2) The contents and experiences of nursing curriculum was organized emphasized on the content, except the Faculty of Nursing of Khon Kaen University was emphasized on processes skills, and The Bangkok College of Nursing was emphasized on social activities and processes skills. (3) The methods of teaching were emphasized on the knowledge or theoretical transmission as well as practice under teachers' supervision. In general teachers combines more than one instructional method for each section. 4) Mostly post-test was used for evaluating instructional outcomes. Teachers combined two out of three methods of evaluation namely pretest, formative and summative test. Paper – pencil test was popularly used as evaluation instrument. In most cases norm reference test was widely used, nevertheless both norm reference and criterion reference tests were also generally administered. 2. For the congruency of the Nursing Curriculum and the Sixth National Public Health Development Plan, it was found that about 28.57 to 53.57 percent of the key concepts stated in the Sixth National Public Health Development Plan occurred in the courses offered by the institutions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47974
ISBN: 9745676918
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwanna_ki_front.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_ki_ch1.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_ki_ch2.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_ki_ch3.pdf981.2 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_ki_ch4.pdf15.08 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_ki_ch5.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_ki_back.pdf12.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.