Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47975
Title: บทบาททางการเมืองของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและสยามรัฐในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519 และ 17-20 พฤษภาคม 2535
Other Titles: The political role of Thai-Rat and Siam-Rat daily newspapers in October 14, 1973 October 6, 1976 and May 17-20, 1992 incedents
Authors: สำรวย ธรรมโม
Advisors: พีระ จิรโสภณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: หนังสือพิมพ์กับการเมือง
หนังสือพิมพ์ -- ไทย
หนังสือพิมพ์กับการเมือง
สยามรัฐ
ไทยรัฐ
การวิเคราะห์เนื้อหา
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2519
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2516
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2535
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อวิเคราะห์ถึงบทบาททางการเมืองของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและสยามรัฐที่แสดงออกผ่านเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 6 ตุลาคม 2519 และ 17-20 พฤษภาคม 2535 ทั้งในด้านการเสนอข่าวสาร การแสดงความคิดเห็นและการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยศึกษาจากข่าวหน้า 1 บทบรรณาธิการ และคอลัมน์ทางการเมือง ผลการวิจัยพบว่าในด้านการเสนอข่าวสาร สยามรัฐและไทยรัฐมีบทบาทสำคัญในการเสนอข่าวสารเกี่ยวกับวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น โดยทั้งสองฉบับได้ให้น้ำหนักและความสำคัญการเสนอข่าวที่เกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองทั้งสามครั้งในสัดส่วนที่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้เกิดวิกฤตการณ์ที่มีการนำมาพาดหัวข่าวใหญ่อย่างต่อเนื่อง และมีการรายงานข่าวที่มีความโน้มเอียงไปทางกระแสการเรียกร้องของประชาชนมากกว่าที่จะโน้มเอียงไปทางรัฐบาล อย่างไรก็ตามในช่วงเริ่มต้นของการก่อกระแส หนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับจะมีความระมัดระวังในการเสนอข่าวที่กระทบกระทั่งรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ นอกจากนี้ในวันที่เกิดวิกฤตการณ์พร้อมกับมีความรุนแรงเกิดขึ้นโดยที่ไม่กาจคาดเดาได้ว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายออกมาในรูปแบบใด ไม่ปรากฏการเสนอข่าวที่ให้ภาพลบกับรัฐบาลอยู่เลยในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับ ในด้านบทบาทการแสดงความคิดเห็นพบว่าทั้งสยามรัฐและไทยรัฐได้แสดงความคิดเห็นโดยรวมสอดรับกับกระแสการเรียกร้องของประชาชน โดยในวิกฤตการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ได้แสดงความเห็นด้วยกับการเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาและประชาชน วิกฤติการณ์ทางการเมือง 6 ตุลาคม 2519 ได้คัดค้านการเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร และวิกฤตการณ์ทางการเมือง 17-20 พฤษภาคม 2535 ได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ในด้านบทบาทการผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง กล่าวได้ว่าการเสนอข่าวและการแสดงความคิดเห็นของหนังสือพิมพ์ประกอบกับกระแสการเรียกร้องของประชาชนมีส่วนในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในนโยบายสำคัญทางการเมือง เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับพบว่าสยามรัฐในฐานะที่เป็นหนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพได้แสดงบทบาทเชิงการให้ข้อมูลข่าวสาร เชิงการแสดงความคิดเห็นและเชิงการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องและมีจุดยืนที่ชัดเจนมากกว่าไทยรัฐซึ่งมีลักษณะเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์
Other Abstract: The main objective of this thesis is to study the political role of Thai-Rat newspaper and Siam-Rat newspaper which demonstrated through their newspaper contents during the period of political crisis on 14 October 1973, 6 October 1976 and 17-20 May 1992. Their role in providing news, criticizing on the incidents and mobilizing certain changes were analyzed from newspaper front pages, editorials and political columns. As the research result of news providing role, both newspapers took major role in giving political crisis information. Their news reporting in the three political crisis put more emphasis on the people than the government side. However, at the beginning of the situation, both newspapers more carefully reported news which might affect to the government, especially Thai-Rat newspaper. Furthermore, on the day of vital occurrence might occur, which none could predict the result, both newspapers avoided to provide any negative news concerning the government or the authority. On criticism role, both of newspapers supported the current public opinion. They agreed with students and people claim for the new constitution during the crisis of 14 October 1973. These newspapers opposed, in the political crisis on 6 October 1976, to the coming back of Field Marshal Thanom Kittikhachon. And in the political crisis of 17-20 May 1992, they expressed a strong objection to the prime minister who was not from election. On the role of mobilization, their active roles in news presentation and interpretation plus people demands made significant effect to government's policies such as the constitution amendment. By comparison of the two newspapers, Siam-Rat as quality newspaper showed role of providing news, opinion expression and change mobilization continuously and had more certain standing point than Thai-Rat which changed by the situation.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การหนังสือพิมพ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47975
ISBN: 9746343947
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Samrouy_th_front.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Samrouy_th_ch1.pdf689.43 kBAdobe PDFView/Open
Samrouy_th_ch2.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Samrouy_th_ch3.pdf465.11 kBAdobe PDFView/Open
Samrouy_th_ch4.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open
Samrouy_th_ch5.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open
Samrouy_th_ch6.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open
Samrouy_th_ch7.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Samrouy_th_back.pdf374.67 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.