Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48390
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตราบาป การเผชิญปัญหา และเจตคติในการแสวงหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาในพนักงาน
Other Titles: RELATIONSHIPS AMONG PERCEIVED STIGMA, COPING, AND PROFESSIONAL HELP SEEKING ATTITUDES OF EMPLOYEES
Authors: กันต์กนิษฐ์ ซอยสกุล
ขวัญฤทัย ช่างสลัก
ณัฐติกา จันทร์เทาว์
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: arunya.t@chula.ac.th
Subjects: การปรับตัว (จิตวิทยา)
นักจิตวิทยา
Adjustment (Psychology)
Psychologists
Issue Date: 2555
Publisher: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตราบาป การเผชิญปัญหา และเจตคติในการแสวงหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาในพนักงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตราบาป การเผชิญปัญหาทั้ง 3 รูปแบบ (แบบมุ่งจัดการกับปัญหา แบบแสวงหาความช่วยเหลือ และแบบหลีกเลี่ยงปัญหา) และเจตคติในการแสวงหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาในพนักงาน จำนวน 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ มาตรวัดการรับรู้ตราบาปของตนเอง, มาตรวัดการเผชิญปัญหา 3 แบบ (แบบมุ่งจัดการกับปัญหา แบบแสวงหาความช่วยเหลือ และแบบหลีกเลี่ยงปัญหา) และมาตรวัดเจตคติในการแสวงหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้ตราบาปของพนักงานมีสหสัมพันธ์ทางลบกับเจตคติในการแสวงหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา และการแสวงหาแหล่งสนับสนุน ไม่มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับเจตคติในการแสวงหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา 3. การเผชิญปัญหาแบบหลีกเลี่ยงปัญหาไม่มีสหสัมพันธ์ทางลบกับเจตคติในการแสวงหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา 4. การรับรู้ตราบาปและการเผชิญปัญหา ทั้ง 3 แบบสามารถร่วมกันทำนายเจตคติในการ แสวงหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาของพนักงานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยตัวแปรดังกล่าวทำนายความสุขได้ร้อยละ 30.2
Other Abstract: This study aimed to examine relationship among perceived stigma, coping, and professional help seeking attitudes of employees. Participants included 198 employees. The instruments were 1) Perceived Self - stigma Scale 2) Coping Scale and 3) Attitude Toward Help Seeking Scale. Data were analyzed by using pearson’s correlation and multiple regression Results showed that: 1. Perceived Self - stigma of employees was negatively relate to attitude toward help seeking (r = -.54, p < .001 ). 2. Problem – focused coping and seeking support was not positively relate to attitude toward help seeking 3. Avoidance coping was not negatively relate to attitude toward help seeking 4. Perceived Self - stigma and coping style including problem – focused coping, seeking support, and avoidance significantly predicted attitude toward help seeking in employees for 30.2 percent of the total variance of attitude toward
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2555
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2012
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48390
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kankanit_so.pdf583.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.