Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48600
Title: ต้นทุนและรายได้จากการผลิตน้ำมันถั่วลิสง
Other Titles: Cost and revenue of ground nut oil production
Authors: สุวรรณา จันทร์กิติสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: น้ำมันถั่วลิสง
ต้นทุน
อุตสาหกรรมน้ำมันพืช -- ต้นทุน
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงต้นทุนและรายได้จากการใช้ถั่วลิสงเป็นวัตถุดิบในการสกัดน้ำมันของอุตสาหกรรมน้ำมันพืช ทั้งนี้เนื่องจากถั่วลิสงเป็นเมล็ดพืชน้ำมันที่มีปริมาณน้ำมันสูงถึง 45% ของน้ำหนักเมล็ดถั่ว ซึ่งนับว่ามากกว่าเมล็ดพืชน้ำมันอื่นๆ หลายชนิด และถั่วลิสงเป็นพืชที่ปลูกกันได้ดีแทบทุกภาคของประเทศไทย ในปัจจุบันปริมาณถั่วลิสงยังไม่เพียงพอกับความต้องการทั้งทางด้านการบริโภคโดยตรงและการใช้เป็นวัตถุดิบในการสกัดน้ำมัน จึงทำให้ถั่วลิสงมีราคาสูง ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันถั่วลิสงจึงซบเซากว่าที่ควร จากการใช้ข้อมูลการสำรวจในเดือนธันวาคม 2526 โรงงานที่มีการกระเทาะเปลือกถั่วลิสงเองถ้านำเมล็ดถั่วที่ได้จากการกระเทาะเปลือกจำหน่ายไปทันที จะได้รับอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนการผลิตโดยเฉลี่ย 11.36% แต่ถ้านำเมล็ดถั่วที่ได้ไปเป็นวัตถุดิบในการสกัดน้ำมันจะได้อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนการผลิตโดยเฉลี่ยลดลงเป็น 2.92% ยกเว้นโรงงานจะใช้เฉพาะเมล็ดถั่วขนาดเล็กและถั่วซีกซึ่งไม่เป็นที่นิยมบริโภคโดยตรงในการสกัดน้ำมันจะได้รับอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนการผลิตจากการผลิตน้ำมันถั่วลิสงโดยเฉลี่ยถึง 27.44% นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตน้ำมันถั่วลิสงของโรงงานต่างๆ ที่มีกรรมวิธีการผลิตต่างกัน พบว่ากระบวนการผลิตน้ำมันถั่วลิสงไม่ว่าจะใช้วิธีคั่วหรือนึ่งก็ตาม จะไม่มีผลทำให้ต้นทุนการผลิตแตกต่างกันเป็นสาระสำคัญ ปัจจัยสำคัญที่จะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตคือต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งมีสัดส่วนต้นทุนถึง 90-94% ของต้นทุนทั้งสิ้น ดังนั้นคุณภาพของวัตถุดิบและความเคลื่อนไหวของราคาวัตถุดิบจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอันจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต จากการศึกษาต้นทุนการผลิตน้ำมันถั่วลิสงในช่วง 2 ปีทีผ่านมาคือในปี 2525-2526 โดยใช้ข้อมูลราคาวัตถุดิบถัวเฉลี่ยแต่ละเดือนของภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทย เพื่อที่จะได้ทราบถึงแนวโน้มระยะยาวของต้นทุนการผลิตน้ำมันถั่วลิสงนั้น สรุปได้ว่าต้นทุนการผลิตน้ำมันถั่วลิสงของโรงงานที่ใช้ถั่วลิสงทั้งเปลือกเป็นวัตถุดิบอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 20.40 บาท ถึง 52.84 บาทและต้นทุนการผลิตเฉลี่ยตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาเท่ากับกิโลกรัมละ 30.32 บาท ราคาถั่วเปลือกแห้ง ณ จุดที่ต้นทุนการผลิตเท่ากับรายได้จากการผลิตจะเท่ากับกิโลกรัมละ 8.87 บาท หากราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้งสูงกว่านี้จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่ารายได้ ดังนั้นในช่วงที่ราคาถั่วลิสงมีราคาสูงโรงงานจึงควรใช้เมล็ดพืชน้ำมันที่มีราคาต่ำกว่ามาเป็นวัตถุดิบ แนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อการส่งเสริมการใช้ถั่วลิสงเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันที่สำคัญได้แก่ 1. ควรส่งเสริมการปลูกถั่วลิสงให้มากกว่าเดิม และควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ทางวิชาการให้มากขึ้นเพื่อจะได้เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ต้นทุนการปลูกถั่วลิสงของเกษตรกรเฉลี่ยต่อกิโลกรัมจะได้ลดลงและในด้านโรงงานราคาวัตถุดิบก็จะต่ำลงด้วย 2. สารพิษอะฟลาท้อกซินที่พบในน้ำมันถั่วลิสงเป็นปัญหาสำคัญด้านการจำหน่าย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเชื้อราชนิดที่ทำให้เกิดสารพิษนี้จะเกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาที่ผิดวิธีของเกษตรกร แต่เนื่องจากปริมาณถั่วลิสงในปัจจุบันยังไม่เพียงพอแก่ความต้องการโรงงานจึงไม่สามารถควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบที่จะซื้อได้ จึงเป็นสาเหตุให้ผลผลิตของโรงงานมีปัญหาเกี่ยวกับสารพิษอะฟลาท้อกซิน การแก้ปัญหานี้ทำได้โดยการชี้แจงให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของปัญหาและแนะนำให้เกษตรกรทำการตากถั่วให้แห้งก่อนทำการเก็บหรือจำหน่ายต่อไป ผู้วิจัยเชื่อว่าหากสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ทั้งเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสงและโรงงานผลิตน้ำมันถั่วลิสงจะต้องประสบผลสำเร็จทางด้านการผลิตและการจำหน่ายอย่างแน่นอน อันจะทำให้ปริมาณน้ำมันพืชเพื่อการบริโภคมีเพิ่มขึ้นมากกว่าในปัจจุบัน
Other Abstract: This thesis aims at the study of cost and revenue from using ground nut as raw material in the vegetable-oil-producing industry. The selection of ground nut is based on two reasons. First, ground nut has approximately 45% oil as compared to its weight. This percentage is higher than those of any other vegetable-oil seeds. Second, ground nut can be grown in almost every part of Thailand. Currently, the amount of ground nut is not large enough to meet both the demand for direct consumption and the demand for ground-nut-oil production. Thus, the ground-nut price is relatively high and in turn the ground-nut-oil-producting industry could not expand as expected. Using the information gathered in December, 1983, if the factories which have their own shelling process sell ground-nut seeds obtained from shelling immediately, they will receive a rate of return on cost on average of 11.36%. But if they use ground-nut seeds further in the oil-producing process, their rate of return on cost will decrease to 2.92% on average. However, the rate of return on cost for using small ground-nut seeds, which could not be used for direct comsumption, in the oil-producing process equals to 27.44% on average. The analysis of the cost of oil-producing processes in various factories also shows that different processes in oil producing--roasting or steaming--do not materially affect the cost. The important factor that affects the cost of the oil production is the cost of raw material which is approximately 90-94% of the total production cost. Thus, the quality of raw material and the change in raw material price will materially affect that such cost. Further study based on the average price in each month of shelling ground nut from all parts of Thailand during 1983-1984 is investigated in order to see the trend of the ground-nut oil-production cost. The results show that the cost of the oil production is between 20.40 bahts and 52.84 bahts per kilogram. And the average cost per kilogram during the past two years is 30.32 bahts. The dry shelling ground nut's price at the break-even point is 8.87 baht per kilogram. So, during high price. The factories should use other oil-vegetable seeds which have lower prices to be their raw material instead. The suggested ways to solve the problems in order to promote the ground-nut-oil production are as follows: 1. Sufficient knowledge has to be provided to farmers. This will increase the amount of ground-nut seed per rai and decrease the cost of plantation per kilogram, which will in turn decrease the price of the raw material used in the factories. 2. Alflatoxin found in ground-nut oil leads to selling problems. Fungi which is the cause of alflatoxin, can occur during harvest and storage times if farmers use inappropriated methods, Since the amount of ground-nut is not large enough to meet the factories' demands, the factories could not control the ground-nut quality while purchasing. And this causes the alflatoxin problem in oil produced, as well. The best method to solve this problem is to expalain to farmers about the importance of this problem and give them knowledge about the right process in harvest and storage. In addition, the farmers should dry ground-nut before keeping or selling. The author believes that if the above problems are solved, farmers and ground nut oil factories will be successful in both producing and distributing which in turn the quantity of vegetable oil used for consumption will increase more than before.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48600
ISBN: 9745638765
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suvanna_ch_front.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Suvanna_ch_ch1.pdf382.29 kBAdobe PDFView/Open
Suvanna_ch_ch2.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Suvanna_ch_ch3.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Suvanna_ch_ch4.pdf6.39 MBAdobe PDFView/Open
Suvanna_ch_ch5.pdf827.97 kBAdobe PDFView/Open
Suvanna_ch_back.pdf452.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.