Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49094
Title: | การเมืองในการริเริ่มนโยบายประกันสังคมของไทย |
Other Titles: | Politics of initiation in Thai social insurance policy |
Authors: | สันโดษ เต็มแสวงเลิศ |
Advisors: | กนก วงษ์ตระหง่าน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ประกันสังคม -- ไทย นโยบายสาธารณะ ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2521-2529 |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประเทศไทยมีความหมายริเริ่มให้มีนโยบายประกันสังคมมานานกว่า 30 ปี คณะรัฐมนตรีเกือบทุกชุดเคยได้พิจารณานโยบายนี้มาแล้ว แต่ไม่ผ่านการอนุมัติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างคณะรัฐมนตรี องค์การราชการและกลุ่มผลประโยชน์ในการริเริ่มนโยบายประกันสังคมของไทย กำหนดขอบเขตระยะเวลาศึกษาในช่วงรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทม์และ รัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (พ.ศ. 2521 – 2529) สมมุมติฐานมีว่าคณะรัฐมนตรี องค์การราชการและกลุ่มผลประโยชน์ชี้ปัญหาไม่เหมือนกัน เป็นผลจากความแตกต่างด้านผลประโยชน์ ค่านิยม และ บรรทัดฐานในการชี้ปัญหา คณะรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจมากกว่ากลุ่มอื่นได้ใช้อำนาจตัดสินใจยับยั้งนโยบายประกันสังคม วิธีการศึกษาใช้การพรรณนาและวิเคราะห์จากข้อมูลซึ่งรวบรวมจากเอกสารชั้นต้นของทางราชการ เอกสารชั้นรอง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า คณะรัฐมนตรี องค์การราชการ กลุ่มผลประโยชน์ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างคนงาน ชี้ปัญหาที่นโยบายประกันสังคมมุ่งแก้ไขไม่เหมือนกัน เนื่องจากความแตกต่างทางด้านผลประโยชน์และค่านิยมที่แต่ละฝ่ายยึดถือ ส่งผลให้บรรทัดฐานในการชี้ปัญหาแตกต่างกันไปด้วยองค์การราชการที่เสนอให้มีนโยบายประกันสังคมและฝ่ายลูกจ้างคนงาน ชี้ให้เห็นถึงปัญหาการขาดหลักประกันในการดำรงชีวิตของลูกจ้างคนงาน ในขณะที่คณะรัฐมนตรีและฝ่ายนายจ้างไม่เห็นว่าลูกจ้างคนงานมีปัญหานี้หรือหากจะมีปัญหาก็มิใช่เรื่องรุนแรงเร่งด่วน คณะรัฐมนตรีเกรงว่าหากให้มีนโยบายประกันสังคม อาจต้องเผชิญกับปฏิกิริยาต่อต้านทั้งจากฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างคนงานบางส่วน ตลอดจนเป็นภาระผูกพันต่องบประมาณแผ่นดิน ทำให้งบประมาณที่จะใช้ในการจัดบริการที่จำเป็นเร่งด่วนด้านอื่นมีน้อยลง กระทบต่อภาพพจน์ชื่อเสียงและเสถียรภาพของคณะรัฐมนตรีได้ คณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจตามกฎหมายและทรัพยากรทางการบริหารที่มีอยู่ทั้งยังอาศัยสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ในการต่อสู้ทางนโยบาย ด้วยการตัดสินใจยับยั้งนโยบายประกันสังคมไว้ก่อน องค์การราชการไม่มีอิทธิพลเพียงพอที่จะโน้มน้าวคณะรัฐมนตรีให้เห็นปัญหาและเห็นชอบตามนโยบายที่เสนอ เพราะการเสนอนโยบายกระทำแบบงานราชการประจำปกติ ส่วนฝ่ายลูกจ้างคนงานซึ่งต้องการให้มีการประกันสังคมเรียกร้องต่อสู้อย่างเลื่อนลอย ขาดเอกภาพและไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี ผู้เขียนได้เสนอแนะให้องค์การราชการและฝ่ายลูกจ้างคนงานร่วมมือกันผลักดันการชี้ปัญหาและการเสนอนโยบายให้ชัดเจนมีความสอดคล้องกันและมีเงื่อนไขที่เป็นไปได้ โดยเฉพาะฝ่ายลูกจ้างคนงานจำเป็นต้องใช้วิธีการติดต่อสื่อสารกับผู้ตัดสินใจทางการเมือง องค์การของฝ่ายลูกจ้างคนงานด้วยกัน และสาธารณชนในการให้ข้อมูลและความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นการสร้างเงื่อนไขโน้มน้าวให้ผู้ตัดสินใจต้องยอมรับรู้ปัญหาของลูกจ้างคนงานและเห็นชอบต่อนโยบายประกันสังคม. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49094 |
ISBN: | 9745675687 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sandod_th_front.pdf | 14.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sandod_th_ch1.pdf | 5.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sandod_th_ch2.pdf | 11.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sandod_th_ch3.pdf | 5.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sandod_th_ch4.pdf | 8.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sandod_th_ch5.pdf | 5.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sandod_th_ch6.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sandod_th_back.pdf | 13.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.