Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50161
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการบ่งชี้กาลในไวยากรณ์กับระบบปริชาน: การทดสอบสมมติฐานภาษาสัมพัทธ์ในภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน และภาษาไทย
Other Titles: THE RELATIONSHIP BETWEEN GRAMMATICAL TENSE MARKING AND THE COGNITIVE SYSTEM: A TEST OF THE LINGUISTIC RELATIVITY HYPOTHESIS IN ENGLISH, JAPANESE, CHINESE, AND THAI
Authors: ชุติชล เอมดิษฐ
Advisors: อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Amara.Pr@Chula.ac.th,amaraprasithrathsint@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับสมมติฐานภาษาสัมพัทธ์ ซึ่งมีใจความว่าผู้พูดภาษาที่มีระบบไวยากรณ์แตกต่างกันมีความคิดต่างกัน และในทางตรงข้ามผู้พูดภาษาที่มีระบบไวยากรณ์คล้ายคลึงกันมีโลกทัศน์คล้ายคลึงกัน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ต้องการทดสอบสมมติฐานนี้โดยทำการทดลองกับผู้พูดภาษาที่มีระบบไวยากรณ์ต่างกัน เช่น ลิงค์ พจน์ และลักษณนาม แต่ยังไม่พบงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบ่งชี้กาลในไวยากรณ์กับความคิดเกี่ยวกับเวลา ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของการบ่งชี้กาลในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน และภาษาไทย และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการบ่งชี้กาลในไวยากรณ์กับระบบปริชานของผู้พูดภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน และภาษาไทย ซึ่งตีความได้จากพฤติกรรมทางปริชานในด้านความตระหนักรู้และความจำในการทดลอง โดยมีสมมติฐานในงานวิจัยคือ ผู้พูดภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นซึ่งมีการบ่งชี้กาลในไวยากรณ์มีความตระหนักรู้เรื่องเวลาและสามารถจดจำเวลาได้ถูกต้องมากกว่าผู้พูดภาษาจีนและภาษาไทยซึ่งไม่มีการบ่งชี้กาลในไวยากรณ์ การทดลองเพื่อทดสอบความตระหนักรู้ คือ การทดสอบแบบบรรยายภาพ มีผู้ถูกทดลองทั้งหมด 109 คน ประกอบด้วยผู้พูดภาษาอังกฤษ 26 คน ญี่ปุ่น 30 คน จีน 22 คน และไทย 31 คน ผลการทดลองพบว่า ในการบรรยายภาพ ผู้พูดภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นมีความตระหนักรู้เรื่องเวลาเวลามากกว่าผู้พูดภาษาจีนและภาษาไทย ในการทดลองเพื่อทดสอบความจำซึ่งจำแนกออกเป็น 3 การทดลอง ได้แก่ การทดสอบการเลือกภาพ การทดสอบแบบปรนัย และการทดสอบแบบเติมคำตอบ การทดสอบการเลือกภาพนั้นผู้ถูกทดลองกลุ่มเดียวกับการบรรยายภาพ ส่วนการทดสอบแบบปรนัยและเติมคำตอบมีผู้ถูกทดลองทั้งหมด 112 คน ประกอบด้วยผู้พูดภาษาอังกฤษ 22 คน ญี่ปุ่น 32 คน จีน 20 คน และผู้ไทย 38 คน ในการทดสอบแบบเติมคำตอบ ผู้พูดภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นสามารถจดจำเวลาได้ถูกต้องมากกว่าผู้พูดภาษาไทย แต่ผู้พูดภาษาจีนจดจำเวลาได้ดีกว่าผู้พูดภาษาไทย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้พูดภาษาจีนเดาได้ว่าผู้วิจัยกำลังทดสอบเกี่ยวกับเวลา ส่วนการทดสอบแบบปรนัย ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผู้พูดภาษาทั้ง 4 ภาษาซึ่งอาจเป็นเพราะแบบทดสอบมีคำถามน้อยเกินไป จากผลการทดลองทั้งหมด สรุปได้ว่าการบ่งชี้กาลในไวยากรณ์ส่งผลให้ “เวลา” กลายเป็นลักษณะเด่นชัดในระบบปริชานของผู้พูดภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น ทำให้ผู้พูดภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นมีตระหนักรู้เรื่องเวลาและจดจำเวลามากกว่าผู้พูดภาษาจีนและภาษาไทย จึงสรุปได้ว่าผลงานวิจัยนี้สนับสนุนสมมติฐานภาษาสัมพัทธ์
Other Abstract: This study concerns The Linguistic Relativity Hypothesis which states that speakers of languages with different grammatical systems think differently and that speakers of languages with similar grammatical systems think similarly. A large number of studies have been done to test the Hypothesis by making experiments on speakers of different languages focusing on various grammatical categories, such as gender, number and noun classifiers. However, there has been no study dealing with the relationship between tense and thought about “time”. Thus, this study aims at analyzing differences in grammatical tense marking in English, Japanese, Chinese and Thai, and the relationship between grammatical tense marking and cognitive systems of English, Japanese, Chinese and Thai speakers. The relationship is inferred from their behavior concerning awareness and memory shown in the experiments. The hypothesis of this study is that speakers of English and Japanese, tense languages, are more awareness of and memorize time better than speakers of Chinese and Thai, tenseless languages. The experiment of awareness is a picture – describing task. There were 109 participants (26 English; 30 Japanese; 22 Chinese; 31 Thai). The results show that English and Japanese speakers are more awareness of time than Chinese and Thai speakers. In the experiment of memory, there were three tasks; namely, a picture – selecting task, a gap – filling task and a multiple – choice task. The picture – selecting task used the same participants as those in the picture – describing task. In the gap-filling task and the multiple-choice task, there were 112 participants (22 English, 32 Japanese, 20 Chinese and 38 Thai). The results show that English and Japanese speakers were better in memorizing time than Thai speakers, but that Chinese speakers were better than Thai speakers in memorizing time. This might be because Chinese speakers had the right guess that the test concerned time. For the multiple-choice task, there was no statistically significant difference among speakers of the four languages. This may be because the questions were too small in number. The results of the two experiments indicate that grammatical tense marking affects English and Japanese speakers’ cognition about time, making them become aware of and memorize time better than Chinese and Thai speakers. The results of this study, therefore, support the Linguistic Relativity Hypothesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50161
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5380503122.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.