Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50412
Title: | มาตรการทางกฎหมายในการลงโทษผู้เดินทางท่องเที่ยวเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก |
Other Titles: | LEGAL MEASURES RESPONSE TO OFFENDERS OF CHILD SEX TOURISM |
Authors: | กษมา ประเสริฐสังข์ |
Advisors: | ปารีณา ศรีวนิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pareena.S@Chula.ac.th,pareena.lawchula@gmail.com |
Subjects: | เซ็กซ์ทัวร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย การทารุณทางเพศต่อเด็ก -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย Sex tourism -- Law and legislation -- Thailand Child sexual abuse -- Law and legislation -- Thailand Tourism -- Law and legislation -- Thailand |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาและลักษณะของการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก วิเคราะห์ข้อจำกัดของกฎหมายไทยในการลงโทษผู้กระทำความผิด และศึกษากฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาเปรียบเทียบและเป็นแนวทางในการกำหนดความรับผิดของผู้กระทำความผิดในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก จากการศึกษา พบว่ากฎหมายไทยในปัจจุบันมีข้อจำกัดในการลงโทษบุคคลที่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อมีกิจกรรมทางเพศกับเด็ก การลงโทษบุคคลที่ได้จัดการเดินทางหรือมีส่วนสนับสนุนในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก และการลงโทษผู้กระทำความผิดทางเพศนอกราชอาณาจักรในกรณีที่ผู้กระทำความผิดหรือผู้เสียหายเป็นคนไทยยังไม่ครอบคลุมถึงการกระทำชำเราเด็กและการกระทำอนาจารเด็ก ทำให้เกิดช่องว่างในการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศอังกฤษ ได้มีการกำหนดความรับผิดในการกระทำดังกล่าว พร้อมทั้งนำมาตรการอื่นๆ มาบังคับใช้ในการป้องกันและปราบปรามการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก ด้วยเหตุนี้ จึงมีข้อเสนอแนะว่าประเทศไทยควรมีการกำหนดความรับผิดของบุคคลที่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำชำเราหรือกระทำอื่นใดเพื่อสนองความใคร่ต่อเด็ก กำหนดความรับผิดของผู้จัดการเดินทางที่ได้โฆษณา จัดการ ชักนำ ให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้อื่นในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก และกำหนดเพิ่มฐานความผิดในการกระทำความผิดทางเพศต่อเด็กนอกราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8 (3) ให้ครอบคลุมถึงการกระทำชำเราและการกระทำอนาจารเด็ก พร้อมทั้งเสนอให้มีการนำมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับเด็กมาปรับใช้ เพื่อยับยั้งป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดทางเพศและการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก |
Other Abstract: | The aims of this thesis are to: study the problems and nature of child sex tourism. Also, to analyze the limitations on punishment of Thai laws, and study the relevance of foreign laws to compare and find the suitable criminal liabilities of offenders. From this study, Thai laws have the flaws on sex tourists who travel into the Kingdom with intent to engage sexual activities with children. The limitations of sanctions on sex tour operators who contribute or arrange child sex tourism are one of the important problems. Moreover, offenders of sexual abuse among children outside the Kingdom do not be punished as sexual intercourse or indecent assault against children. These problems lead to the lack of enforcement to deal with child sex tourism in Thailand. However, the United States, Australia and the United Kingdom have imposed criminal liabilities on such actions. They also have adopted other measures to prevent child sex tourism. In this regard, it is necessary to criminalize the person who travels into the Kingdom for the purpose of engaging in sexual intercourse with or any other sexual gratification against the children. Furthermore, it is important to criminalize the criminal liabilities of the person who advertises, arranges, induces and facilitates child sex tourism; besides, it is significant to extend extraterritorial jurisdiction under section 8 (3) of the Penal Code to cover the offenses of sexual intercourse and indecent assault on children as well as adapt measures to prevent child sexual abuse and child sexual exploitation from child sex tourism. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50412 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.647 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.647 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5685953034.pdf | 5.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.