Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50421
Title: ปัญหาผลทางกฎหมายของนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่ผู้ใช้อำนาจปกครองกระทำไปโดยฝ่าฝืนมาตรา 1574 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Other Titles: Problems concerning legal effect of juristic acts with regard to the property of the minor which a person exercising parental power enters into in violation of section 1574 of the Civil and Commercial Code
Authors: ลัษมณ วิริยะงามวงศ์
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sanunkorn.S@Chula.ac.th,ajarnkorn@gmail.com
Subjects: นิติกรรม
ทรัพย์สินส่วนบุคคล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- นิติกรรม
Juristic acts
Personal property
Civil and commercial law
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทบัญญัติมาตรา 1574 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้มีการกำหนดประเภทของนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลอยู่สิบสามอนุมาตรา แต่มิได้กำหนดผลทางกฎหมายในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมไปโดยฝ่าฝืนไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ส่งผลให้ศาลฎีกาวินิจฉัยผลทางกฎหมายของนิติกรรมและประเด็นแวดล้อมที่เกี่ยวข้องแบ่งออกเป็นหลายแนวทางเรื่อยมา โดยไม่มีแนวทางใดที่สามารถยึดถือเป็นบรรทัดฐานได้ อันก่อให้เกิดความไม่แน่นอนและอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจมีผลทำให้ไม่สามารถคุ้มครองผู้เยาว์ตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ในการนี้ผู้ศึกษาได้รวบรวมแนวความเห็นของนักกฎหมายไทยและคำพิพากษาศาลฎีกา และวิเคราะห์เปรียบเทียบบทบัญญัติมาตรา 1574 ของประเทศไทย กับบทบัญญัติแห่งกฎหมายในลักษณะเดียวกันของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส และประเทศสาธารณรัฐอิตาลีในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ผลทางกฎหมายของนิติกรรม การขอเพิกถอนนิติกรรมต่อศาล การบอกล้างนิติกรรม การให้อนุญาตในภายหลังการทำนิติกรรม การให้สัตยาบันแก่นิติกรรม การคืนทรัพย์ และค่าเสียหายและบทลงโทษ ผลการศึกษาพบว่า บทบัญญัติมาตรา 1574 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สมควรได้รับการปรับแก้โดยกำหนดผลทางกฎหมายของนิติกรรมเป็นไม่มีผลผูกพัน ซึ่งสอดคล้องกับแนววินิจฉัยของศาลฎีกาส่วนใหญ่และความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาร่างมาตรา 1574 อีกทั้งเพิ่มเติมบทบัญญัติให้ครอบคลุมประเด็นการให้อนุญาตในภายหลังการทำนิติกรรม การให้สัตยาบันแก่นิติกรรม การคืนทรัพย์ และค่าเสียหายและบทลงโทษ โดยแยกบัญญัติบางประเด็นในหมวด 5 ว่าด้วยความไม่มีผลผูกพัน ซึ่งผู้ศึกษาเสนอแนะให้เพิ่มเติมขึ้นภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป ลักษณะ 4 นิติกรรม
Other Abstract: The section 1574 of the Civil and Commercial Code provides thirteen types of juristic acts with regard to the property of the minor which a person exercising parental power needs an authorization by the court in order to enter into such acts in the name of minor. However, the provision does not specific a legal effect of the act entered into without authorization, causing different ruling of court decisions regarding legal effect of the acts and relating issues without making persuasive precedent, which reflects uncertainty, injustice between related parties, and especially inability to protect the minor’s interests as intended by the law. Regarding this concern, the study gathers opinion amongst the scholars and the Supreme Court’s judgment, and performs comparative analysis focusing on similar legal provision of the Federal Republic of Germany, the French Republic and the Italian Republic in several issues: legal effect of the juristic acts, annulment of the acts by the court, avoidance of the acts, confirmation of the acts, ratification of the acts, return of the properties, and compensation. Hence, the study suggests an amendment to the section 1574 of the Civil and Commercial Code should be undertake to contain “ineffective to the minor” as a legal effect of the juristic acts entered into without authorization, including supplement the provisions regarding confirmation of the acts, ratification of the acts, return of the properties, and compensation under a new Title 5 “Ineffectiveness” in the Civil and Commercial Code Book 1 “General Principles”, Title 4 “Juristic Acts”.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50421
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.665
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.665
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686014034.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.